อสย. 50/2567
หลักการเกี่ยวกับแนวทางการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐาน International Sustainability Standards Board (ISSB Roadmap)
หลักการแนวทางการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐาน ISSB
Consultation Form
1. บริษัทที่มีหน้าที่เปิดเผยตามกรอบรายงานที่สอดรับกับ ISSB Standards ตาม IFRS S1 และ S2 อย่างไรก็ดี การเปิดเผยข้อมูลอื่นๆ ที่แบบ 56-1 One Report กำหนดนอกเหนือจาก IFRS S1 และ S2 ยังคงเป็นไปตามแนวทางเดิม (รายละเอียดตามหลักการที่เสนอข้อ 5.1)
ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม
2. ระยะเวลาการเริ่มใช้บังคับให้เปิดเผยข้อมูลตาม ISSB Standards ด้วยวิธีการนำไปใช้เป็นลำดับสัดส่วน (phased-in approach) (รายละเอียดตามหลักการที่เสนอในข้อ 5.2)
ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม
3. แนวทางการกำหนดบริษัทที่เข้าข่ายมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลตาม ISSB Standards โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์พิจารณาดัชนีของ ตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) (รายละเอียดตามหลักการที่เสนอข้อ 5.3)
ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม
4. การให้ความเชื่อมั่นของข้อมูล (Limited Assurance) สำหรับ การเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (รายละเอียดตามหลักการ ที่เสนอในข้อ 5.4)
ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม
5. มาตรการผ่อนปรนช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน (transition reliefs) (รายละเอียดหลักการที่เสนอข้อ 5.5)
5.1 การเปรียบเทียบข้อมูล (Comparative Reporting) : ยกเว้น การเปรียบเทียบข้อมูลปีก่อนหน้า สำหรับกรณีการรายงานในปีแรกที่เริ่มปฏิบัติตาม ISSB Standards
ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม
5.2 การรายงานข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศเป็นลำดับแรก (Climate-first reporting): ในช่วงระยะผ่อนปรนของแต่ละกลุ่มบริษัท บริษัทมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลตาม ISSB Standards IFRS S1 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ด้านสภาพภูมิอากาศ และ IFRS S2 ทั้งฉบับ และเมื่อพ้นระยะเวลาผ่อนปรน 5 ปีแรกแล้ว บริษัทมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ครอบคลุมถึงการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนอื่น ๆ และเป็นไปตาม IFRS S1 และ S2 ทั้งสองฉบับ (รายละเอียดหลักการที่เสนอข้อ 5.5.2)
ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม
5.3 ระยะเวลาการรายงาน (Timing of Reporting): ในช่วงระยะผ่อนปรนของแต่ละกลุ่มบริษัท ให้บริษัทสามารถเปิดเผยรายงานข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนในช่วงเวลาที่ต่างกับการเปิดเผยรายงานทางการเงินของบริษัทได้ โดยเมื่อพ้นระยะเวลาผ่อนปรน 5 ปีแรกแล้ว ให้บริษัทรายงานข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน พร้อมกับการเปิดเผยรายงานทางการเงินของบริษัท โดยให้เป็นไปตามระยะเวลาการนำส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน แล้วแต่กรณี (รายละเอียดหลักการที่เสนอข้อ 5.5.3)
ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม
5.4 มาตรฐานการทําบัญชีก๊าซเรือนกระจก (GHG Protocol): ในช่วงระยะผ่อนปรนของแต่ละกลุ่มบริษัท ให้บริษัทสามารถคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้ตาม GHG protocol 2004 หรือตามมาตรฐานสากลหรือเทียบเท่า เช่น การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) ของ อบก. เป็นต้น โดยเมื่อพ้นระยะเวลาผ่อนปรน 5 ปีแรกแล้ว บริษัทจะต้องจัดทำข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นไปตาม GHG Protocol 2004 เท่านั้น (รายละเอียดหลักการที่เสนอข้อ 5.5.4)
ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม
5.5 การเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก scope 3: ในช่วงระยะ ผ่อนปรนของแต่ละกลุ่มบริษัท ให้บริษัทสามารถเปิดเผยข้อมูลการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกเฉพาะ scope 1 และ scope 2 ก่อนได้ โดยยกเว้นให้สำหรับการเปิดเผยข้อมูล scope 3 และเมื่อพ้นระยะเวลาผ่อนปรน 5 ปีแรกแล้ว บริษัทมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก scope 3 เพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมทุก scope ทั้งนี้ ให้บริษัทระบุชื่อผู้ทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรที่ขึ้นทะเบียนกับ อบก. หรือผู้ทวนสอบที่ ทวนสอบตามมาตรฐานสากลด้วย (รายละเอียดหลักการที่เสนอข้อ 5.5.5)
ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม
6. การจัดให้มี capacity building เช่น การจัดสัมมนา (seminar) หรือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ISSB Standards และเพื่อประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูล เป็นต้น
ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม
7. ประเด็นข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตอื่น ๆ (ถ้ามี)
1. นางสาวชวิกา โกมลมิศร์ โทรศัพท์ 0-2263-4639 / 2. นางสาวพรกมล อธิลาภ โทรศัพท์ 0-2263-6073 / 3. นางสาวปฐมรัตน์ ปุณยเจริญวัฒน์ โทรศัพท์ 0-2263-6548 / 4. นางสาวภานุมาศ หลักฐาน โทรศัพท์ 0-2263-6257 / 5. นางสาวมณีนุช เหรียญมณี โทรศัพท์ 0-2263-6252 / 6. นางสาวรังรอง วิจิตรไกรสร โทรศัพท์ 0-2263-6050 หรืออีเมล esg-sec@sec.or.th