Sign In
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ

​วัตถุประสงค์

เพื่อกำหนดมาตรการ แนวทาง ตลอดจนกลไกในการกำกับ ตรวจสอบ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ก.ล.ต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเสริมสร้างความโปร่งใส ตลอดจนเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน

 

มาตรการ 

1. การกลั่นกรอง ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจก่อนดำเนินการ

1.1 ผู้มีหน้าที่พิจารณา

เจ้าหน้าที่ต้องมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวและต้องไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา

1.2 การพิจารณา

ต้องมีรายละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษรระบุเหตุที่มา ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย และรายละเอียดสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ เสนอผู้บังคับบัญชาตามระดับชั้น

ในกรณีการพิจารณาในเรื่องสำคัญที่ซับซ้อน มีผลกระทบมาก อาจมีการตั้งคณะทำงานที่มาจากฝ่ายงานต่าง ๆ และจากบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้ความเห็นที่หลากหลายและเป็นกลาง ประกอบการใช้ดุลพินิจ

นอกจากนี้ ฝ่ายตรวจสอบภายใน และคณะกรรมการตรวจสอบจะทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของฝ่ายงานต่าง ๆ เป็นระยะด้วย เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตตามกลไกต่าง ๆ ที่วางไว้อย่างเพียงพอ

1.3  การให้สิทธิแก่ผู้ถูกพิจารณา 

ก่อนที่จะมีการออกคำสั่งใด ๆ ที่จะกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชน จะต้องมีการแจ้งให้ผู้ที่ถูกกระทบสิทธิรับทราบ และให้โอกาสในการโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน โดยปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

1.4 การออกคำสั่ง

ต้องจัดทำเป็นหนังสือ / หนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยจัดให้มีเหตุผลประกอบ และจัดส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้รับคำสั่ง พร้อมระบุสิทธิในการอุธรณ์

ทั้งนี้  ก.ล.ต. จัดให้มีการแยกฝ่ายงานและเจ้าหน้าที่ผู้รวบรวมข้อเท็จจริงพยานหลักฐานและออกคำสั่งทางปกครอง ออกจากฝ่ายงานที่ทำหน้าที่ทบทวนการใช้ดุลพินิจในกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์อย่างชัดเจน

2. การพิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจ

การพิจารณาประเด็นโต้แย้ง หรือร้องเรียน แบ่งเป็นกรณี ดังนี้

2.1 รณีร้องเรียนโต้แย้งดุลพินิจของสำนักงาน (ไม่ว่าจะระบุตัวพนักงานหรือไม่ก็ตาม)  ให้ส่วนงาน ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการและ/หรือมีหนังสือตอบผู้ร้องโดยตรง  ทั้งนี้ หากผู้ร้องไม่เห็นด้วย เรื่องก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์

2.2 กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้อำนาจ/ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง (ไม่ว่าจะระบุตัวพนักงานหรือไม่ก็ตาม) ให้ฝ่ายกฎหมาย 3 เป็นผู้ดำเนินการสอบถาม/หาข้อเท็จจริงเบื้องต้น  (และ/หรือจะส่งให้ส่วนงานชี้แจงด้วยก็ได้) แล้วจึงสรุปผลการพิจารณาเสนอต่อสำนักงานเพื่อยุติเรื่อง หากเห็นว่าเรื่องร้องเรียนมีประเด็นที่ควรพิจารณาความผิดทางวินัย  ให้ฝ่ายกฎหมาย 3 ส่งเรื่องให้ฝ่าย HR ดำเนินการต่อ หรือจะขอตั้งเป็นคณะทำงานร่วมกับฝ่าย HR เพื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียนร่วมกันก็ได้  หรือหากเห็นว่าควรมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงการถูกร้องเรียน ก็ให้เสนอความเห็นต่อเลขาธิการพิจารณาได้

2.3 กรณีร้องเรียนทุจริต พฤติกรรมบุคคลที่ไม่เหมาะสม  โดยต้องระบุพฤติกรรมที่เป็นลักษณะของการกระทำความผิดวินัยที่ชัดเจน ซึ่งไม่ใช่ลักษณะตาม 2.1 หรือ 2.2 ให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เป็นผู้ดำเนินการจัดการข้อร้องเรียน (ตามมาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต)

รื่องเกี่ยวเนื่องกัน 

    • กรณีเรื่องร้องเรียนมีทั้งข้อ 2.1 และ 2.2  ให้ฝ่ายกฎหมาย 3 ดำเนินการ

    • กรณีเรื่องร้องเรียนมีข้อ 2.3 ด้วยในหนังสือฉบับเดียวกัน ให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นผู้ดำเนินการ โดยอาจขอให้ฝ่ายกฎหมาย 3 เป็นผู้ร่วมพิจารณาด้วยได้  


(คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่)



​SEC Help Center

โทรศัพท์ 1207