Sign In
ติดต่อ ก.ล.ต.

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​อนุญาโตตุลาการ


กระบวนการอนุญาโตตุลาการ คือ การระงับข้อพิพาทโดยไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน แต่คู่กรณีจะเป็นผู้เลือกผู้ตัดสิน (อนุญาโตตุลาการ) มาชี้ขาดข้อพิพาท และคู่กรณีตกลงที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น​

เนื่องจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ประกอบกับคู่กรณีสามารถเลือกบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาท ซึ่งส่งผลให้การระงับข้อพิพาทดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย  สำนักงาน ก.ล.ต. จึงจัดให้มีกระบวนการอนุญาโตตุลาการดังกล่าวเพื่อเป็นทางเลือกในการระงับข้อพิพาทระหว่าง ผู้ลงทุน กับ ผู้ประกอบธุรกิจ  โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้จัดโครงการมอบตราสัญลักษณ์ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่สมัครใจระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการกับผู้ลงทุน รายชื่อบริษัทที่เข้าร่วมโครงการมอบตราสัญลักษณ์อนุญาโตตุลาการ

ขั้นตอนการดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน ก.ล.ต.

(คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่พร้อมรายละเอียด)

arbitration_infoG.jpg

 

 

 (*ขั้นตอนบนเว็บไซต์จัดทำขึ้นเพื่อแสดงเนื้อหาโดยสรุป สามารถศึกษารายละเอียดได้จาก ประกาศว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน)

รายชื่ออนุญาโตตุลาการ

     ทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสำนักงาน

แบบฟอร์มที่ใช้ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ

 


แบบ
​ชื่อแบบ​​​
อญ. 1​แบบคำร้องเสนอข้อพิพาท
​อญ. 2หนังสือแต่งตั้งตัวแทนเพื่อดำเนินกระบวนการพิจารณา
​อญ. 3คำคัดค้านข้อพิพาท

​อญ. 4สัญญาประนีประนอมยอมความ
อญ. 5หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ
​อญ. 5-1หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ (3 คน)

​อญ. 6หนังสือคัดค้านการตั้งอนุญาโตตุลาการ
อญ. 7คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
 

 

ถาม – ตอบ

ใครเป็นคู่กรณีได้บ้าง?

​1. ผู้ถูกร้อง ผู้ประกอบธุรกิจ
          1.1 บริษัทหลักทรัพย์
          1.2 ตัวแทนจำหน่ายหุ้นในประเทศ
          1.3 ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
          1.4 ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
          1.5 ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

2. ผู้ร้อง ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกร้องข้อพิพาทที่จะเข้าสู่กระบวนการ ต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง?

​ข้อพิพาทเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

1. ผู้ร้องแต่ละรายเรียกค่าเสียหายไม่เกิน 5 ล้านบาท

​​2. ผู้ร้องมีหลักฐานเป็นหนังสือว่าผู้ถูกร้องตกลงเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ

3. ผู้ร้องได้ยื่นข้อร้องเรียนไปที่ผู้ถูกร้อง แล้วปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

​​​3.1 ผู้ถูกร้องไม่ติดต่อกลับภายใน  15  วัน

3.2 ผู้ถูกร้องไม่แก้ไขข้อร้องเรียนให้เสร็จภายใน 45 วัน

3.3 ผู้ร้องไม่พอใจการแก้ไข และได้สงวนสิทธิ์ที่จะนำข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ

4. เสนอข้อพิพาทภายใน 6 เดือนนับแต่เวลาในข้อ 3.1 หรือข้อ 3.2 หรือข้อ 3.3 ผ่านพ้นไป

5. ข้อพิพาทเกิดขึ้นไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันเกิดเหตุ


ข้อพิพาทเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

​- ผู้ร้องแต่ละรายเรียกค่าเสียหายไม่เกิน 5 ล้านบาท 


​ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเป็นเท่าไร?

1. ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ ร้อยละ 2 ของค่าเสียหายที่เรียกร้อง (แต่มีขั้นต่ำที่ 1 หมื่นบาท) (อนุญาโตตุลาการกำหนดผู้จ่าย)

2. ค่าตอบแทนอนุญาโตตุลาการ : 1 หมื่นบาท (คู่กรณีจ่ายคนละครึ่ง)

3. ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกิดขึ้น คู่กรณีจ่ายคนละครึ่ง (สำนักงานอาจรับภาระของผู้ร้องตามที่เห็นสมควร)


​ผลของคำชี้ขาดผูกพันคู่กรณีอย่างไร?

คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันคู่กรณีให้ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่ายที่แพ้ไม่ปฏิบัติตาม ฝ่ายที่ชนะสามารถร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้


นอกจากการระงับข้อพิพาทด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงานแล้ว ยังมีการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่นอีกไหม?


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกฎหมายองค์กรและคดีปกครอง

โทรศัพท์ 0-2263-6094