การพัฒนาบุคลากรของ ก.ล.ต. ได้มีการวางแผนโดยประเมินถึงเป้าหมายและทิศทางขององค์กร การยกระดับความสามารถของบุคลากรให้สามารถทำงานได้ตามความคาดหวังของตำแหน่งงาน และการเสริมสร้างองค์ความรู้สำคัญของการทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลที่ดีซึ่งเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้บริหารและพนักงานรุ่นพี่ ประกอบด้วย
1. หลักสูตรด้านการพัฒนาองค์ความรู้ และเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ได้แก่
: หลักสูตร Regulatory School Level 1 – Level 3 สำหรับพนักงานเข้าใหม่และพนักงานระดับต้น เพื่อให้องค์ความรู้หลักด้านการกำกับดูแลตลาดทุน
: หลักสูตร Finance for Non-Finance สำหรับนักกฎหมายเพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้ด้านการเงินและตลาดทุน
: โครงการพัฒนา "เลขานุการมืออาชีพ สำหรับพนักงานระดับช่วยบริหารเพื่อเตรียมเป็นเลขานุการ
: หลักสูตรสัมมนาองค์กรความร่วมมือในต่างประเทศ อาทิ ASIC Annual Forum 2018 หัวข้อ Maintaining Trust ณ ประเทศออสเตรเลีย, APEC Financial Regulators Training Initiative หัวข้อ Risk-based Supervision ณ ประเทศเวียดนาม, The 12th Regional Leadership Programme for Securities Regulators สิงคโปร์, APEC Financial Regulators Training Initiative หัวข้อ Enhancing Listing, Liquidity and Investor Participation in Emerging Market Stock Exchanges ณ ประเทศกัมพูชา, Temasek Foundation Connects FinTech Executive Programme ณ ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
2. หลักสูตรด้านภาวะผู้นำ และภาวะผู้นำและการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ได้แก่
: หลักสูตร Facilitative Leadership ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาผู้บริหารระดับกลาง ให้มองเห็นคุณค่าและศักยภาพในตนเองและผู้อื่น ทำหน้าที่เป็นผู้นำกระบวนการกลุ่ม การกระตุ้นและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้บุคคลรอบข้าง โดยกำหนดเป็นหลักสูตรภาคบังคับที่ผู้บริหารระดับกลางทุกคนได้เข้ารับการพัฒนา
: หลักสูตร Situational Leadership สำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อให้มีทักษะในการบริหารจัดการทีมงานในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีผู้บริหารระดับกลางเข้ารับการพัฒนาแล้ว 90%
: โครงการ Mentor with Leadership Tools & Leadership Development for Mentee /mentor สำหรับผู้บริหารระดับสูง และผู้อำนวยการ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการวางระบบการพัฒนาผู้บริหารแบบ mentor-mentee ที่ได้ผลทั้งด้านการพัฒนาภาวะผู้นำและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารด้วย โครงการนี้มีระยะเวลาประมาณ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2561 เริ่มด้วยการประเมินผู้อำนวยการทุกคนด้วยเครื่องมือ assessment center การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) และผู้อำนวยการทุกคนได้รับการพัฒนาตามแผนด้วยระบบ mentor-mentee
: หลักสูตรภาวะผู้นำและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจัดโดยสถาบันภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน โดยสำนักงานสนับสนุนให้พนักงานและผู้บริหารเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง เช่น วตท. ,ปรอ., วบส., TEP Cot, วพน., ปรม., (EDP) class 2018 – Building Regional Leaders, พัฒนานักบริหาร (EDP หรือ Ex- PSM), CMA - GMS Class of 2018, วพม., ผู้นำคลื่นลูกใหม่ (ก.พ.) เป็นต้น
3. หลักสูตรเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ในการทำงาน
: หลักสูตรการจัดทำ Infographic เพื่อให้พนักงานมีความรู้ในการผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารกับผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุน เป็นต้น เน้นกลุ่มพนักงานที่ทำหน้าที่สื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ก่อน และยังมีแผนที่จะขยายไปสู่พนักงานกลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากเป็นทักษะสำคัญของพนักงานทุกคนสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัล
: หลักสูตร Data Science Masterclass
: หลักสูตร New Technology Update
: โครงการฝึกอบรมและทดสอบระดับความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ Cyber Security Awareness
: โครงการการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้โดยใช้ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) เพื่อวางแพลตฟอร์มรองรับวิชาพื้นฐานใน Regulatory School
4. หลักสูตรด้านการพัฒนาตนเองภายในเพื่อเพิ่มความสุขในการทำงาน/ ส่งเสริมค่านิยมองค์กร value ได้แก่
: โครงการพัฒนาจิตใจเพื่อการทำงานอย่างมีความสุข Mindful Organization for Happiness of All
: หลักสูตร Neuro - Linguistic Program NLP เน้นกลุ่มผู้บริหารระดับสูง
: หลักสูตร SEC Culture workshop ได้กำหนดเป็นหลักสูตรภาคบังคับสำหรับพนักงานใหม่ทุกคน จัดขึ้นเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
: หลักสูตร Inner work for Healthy Relationship
นอกจากนี้ สำนักงานยังมีรูปแบบการพัฒนาอื่น ๆ ได้แก่
ทั้งนี้ ในปี 2561 สำนักงานใช้งบประมาณพัฒนาจำนวนรวมทั้งสิ้น 54.5 ล้านบาท และพนักงานทุกระดับตำแหน่งได้เข้าร่วมฝึกอบรม/สัมมนาเฉลี่ยประมาณ 14 วัน
ในการบริหารงานบุคคล สำนักงานได้วางแผนอัตรากำลังและการเตรียมอัตรากำลังทดแทน เพื่อรองรับตำแหน่งสำคัญ การสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาร่วมงาน การสร้างความก้าวหน้าในการทำงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ สรุปดังนี้
1. ด้านการวางแผนกำลังคน : สำนักงานได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาภายนอก ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อช่วยให้คำแนะนำในเรื่องการบริหารอัตรากำลัง รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวคิดการวางแผนกำลังคนที่เหมาะสมกับพันธกิจองค์กร และเพื่อให้การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ในระยะยาว
2. ด้านการเตรียมอัตรากำลังทดแทนเพื่อรองรับตำแหน่งสำคัญ : สำนักงานมีการเตรียมความพร้อมบุคลากรระดับบริหาร เพื่อการทดแทนผู้บริหารระดับสูง โดยมีการประเมินความพร้อมของระดับผู้อำนวยการ และมีแผนพัฒนารายบุคคลสำหรับทุกคน มีการพัฒนาผู้บริหารด้วยระบบ Mentor-Mentee ทำให้มีข้อมูลพร้อมในการวางแผนสำหรับทุกตำแหน่งสำคัญ รวมทั้งได้ประเมินและวางแผนเตรียมความพร้อมบุคลากรมาทดแทนในกรณีที่บุคลากรในระดับต่าง ๆ ครบเกษียณอายุ หรือจะพ้นจากงานไปในอนาคตด้วย
สำหรับการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาร่วมงานนั้น ในปี 2561 เป็นปีที่สำนักงานมีการขยายงาน เพื่อตอบโจทย์ตามแผนยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ และการตรวจสอบระบบสารสนเทศเพื่อรองรับนวัตกรรมในธุรกิจตลาดทุน จึงมีความต้องการรับบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว รวมถึงบุคลากรในด้านอื่น ๆ เข้ามาร่วมงาน สำนักงานได้ดำเนินการสรรหาในเชิงรุก ปรับวิธีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการเพิ่มรูปแบบและช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการและสนใจเข้าร่วมงานสามารถที่จะเข้าถึงและทำความเข้าใจงานและสภาพแวดล้อมการทำงานในสำนักงานได้ง่ายยิ่งขึ้น อาทิ การใช้คลิปวิดีโอเพื่อชักชวนเข้ามาร่วมงานโดยสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ค ไลน์ ลิงค์อิน เป็นต้น ทำให้อัตราความสำเร็จของการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าร่วมงานเพิ่มสูงขึ้น
3. การสร้างความก้าวหน้าในการทำงาน : สำนักงานให้ความสำคัญกับการสร้างเส้นทางก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงาน โดยสนับสนุนให้หัวหน้าสื่อสารกับสมาชิกในทีมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้ความคิดเห็นและข้อแนะนำในเชิงพัฒนา และเมื่อใดที่มีตำแหน่งงานว่าง จะมีการรับสมัครเพื่อให้โอกาสอย่างเปิดกว้างทั้งเพื่อให้บุคลากรได้แสดงความจำนงเข้ารับการคัดเลือกเพื่อการเลื่อนตำแหน่ง รวมถึงเปิดโอกาสให้โยกย้ายงานเพื่อให้ได้เรียนรู้งานด้านอื่นเพิ่มเติมและพัฒนาศักยภาพของตนได้ โดยผ่านกระบวนคัดเลือกตามที่สำนักงานกำหนด ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีพนักงานได้รับการพิจารณาให้เลื่อนตำแหน่งรวมถึงเลื่อนระดับทั้งสิ้น 97 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 และมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนงานทั้งสิ้น 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.7 ของพนักงานทั้งหมด
4. การประเมินผลการปฏิบัติงาน : สำนักงานได้นำระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน performance management system) มาใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยให้ความสำคัญในปัจจัยเรื่องคุณภาพงาน การพัฒนา และปรับปรุงประสิทธิภาพและกระบวนการทำงาน รวมถึงพฤติกรรมตามค่านิยมองค์กร
5. ค่าตอบแทน สวัสดิการ และความปลอดภัย : สำนักงานได้มีการปรับเพิ่มเงินสมทบของฝ่ายนายจ้างในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากสำนักงานให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพ ความปลอดภัย โดยมีการจัดตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนประจำปี การจัดกิจกรรมและแข่งกีฬาเพื่อสุขภาพ การฝึกซ้อมรับมือเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ และสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมด้านสันทนาการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ ชมรมวาดภาพสีน้ำ ชมรมถ่ายภาพ ชมรมศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นต้น