Detail Content
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund)
ประเทศต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอีกเป็นจำนวนมาก กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund : IFF) สามารถช่วยในการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยเปิดโอกาสให้รัฐและเอกชนที่ทำธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน นำโครงการที่มีรายได้มาระดมทุนจากผู้ลงทุน และนำเงินที่ระดมได้ไปใช้ในการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ลดภาระด้านงบประมาณและการก่อหนี้สาธารณะและเพิ่มทางเลือกและโอกาสในการลงทุนในสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน โดยได้รับการสนับสนุนด้านภาษีจากภาครัฐ ดังนี้
ยกเว้นภาษีเงินปันผลให้แก่บุคคลธรรมดาเป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนกองทุน (ปัจจุบันเลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%)
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (value-added tax (VAT)) / ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax (SBT)) / อากรแสตมป์ (stamp duty) สำหรับธุรกรรมการโอนทรัพย์สินเข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ลดหย่อนค่าธรรมเนียมกรมที่ดิน
สรุปหลักเกณฑ์
ประเภททรัพย์สินที่ลงทุนได้
กิจการโครงสร้างพื้นฐาน 12 ประเภทที่ IFF ลงทุนได้ ระบบขนส่งทางราง หรือทางท่อ
ไฟฟ้า
ประปา
ถนน/ทางพิเศษ/ทางสัมปทาน
ท่าอากาศยาน/สนามบิน
ท่าเรือน้ำลึก
โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
พลังงานทางเลือก
ระบบบริหารจัดการน้ำ และระบบการชลประทาน
ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ
ระบบจัดการของเสีย
กิจการที่มีลักษณะเป็นกิจการโครงสร้างพื้นฐานตาม (1) ถึง (11) หลายกิจการ (multi-infrastructure) ประกอบกัน*
*(1) มีความเชื่อมโยง ส่งเสริม หรือก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกัน หรือต่อชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
(2) ก่อให้เกิดหรือจะก่อให้เกิดรายได้เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 80% ของรายได้รวมของกิจการทั้งหมดที่ประกอบกัน
นั้น
ลักษณะการลงทุน
IFF สามารถเลือกลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
ลงทุนโดยตรงในทรัพย์สิน ผ่านการถือครองกรรมสิทธิ์ : เหมาะสมกับทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถโอนความเป็นเจ้าของได้ เช่น ทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานของเอกชน
ลงทุนในสัญญาแบ่งรายได้หรือสิทธิการเช่า : เหมาะสมกับทรัพย์สินที่เป็นของรัฐและไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์/สัมปทานได
ลงทุนผ่านบริษัทลูกของ IFF*
* รวมถึงการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทย่อยได้ด้วย
- รูปแบบการลงทุนในสัญญาแบ่งรายได้
ลักษณะสำคัญ
1. IFF ต้องระดมทุนไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท
2. นำเงินไปลงทุนในทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐาน แต่ละโครงการ ≥ 1,000 ล้านบาท
ยกเว้น (1) กิจการไฟฟ้าไม่กำหนดมูลค่าโครงการขั้นต่ำ
(2) การลงทุนใน multi-infrastructure ต้องมีมูลค่าการลงทุนในแต่ละกิจการ
ที่ประกอบกันนั้น ≥ 500 ล้านบาท
3. ทรัพย์สินที่ลงทุนต้องเป็นกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือให้บริการแก่ประชาชนในวงกว้างของประเทศไทย
ในกรณีที่ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์/ใช้บริการไม่ใช่ภาครัฐ กิจการโครงสร้างพื้นฐานต้องจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการแก่
ลูกค้าแต่ละราย หรือแต่ละกลุ่มกิจการเดียวกันไม่เกิน 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตติดตั้งหรือกำลังการให้
บริการสูงสุด เว้นแต่ เป็นกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ที่ทำให้ประชาชนในวงกว้างได้รับประโยชน์ทางอ้อมในด้าน
สุขอนามัย ด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีและด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ชื่อกองทุนมีคำว่า “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน" นำหน้า และคำแสดงประเภทกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนลงทุน
5. เป็นกองทุนประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
6. ระบุกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนจะลงทุนไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนและหนังสือชี้ชวน
7. ลงทุนในทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐาน ≥ 75% ของมูลค่าทรัพย์สินรวมให้ได้ภายใน 6 เดือนนับแต่วันจดทะเบียนกองทุน
8. การลงทุนในโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ (greenfield project)
ลงทุนใน greenfield project ≤ 30% ของมูลค่าทรัพย์สินรวม ต้องเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไป500 ราย และต้องนำหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ลงทุนใน greenfield project > 30% ของมูลค่าทรัพย์สินรวม ต้องเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่≥ 35 ราย (ซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป) และห้ามนำหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จนกว่าทรัพย์สินเริ่มมีรายได้ (จากนั้นต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 ปีนับแต่เริ่มมีรายได้)
9. จัดหาประโยชน์โดยให้เช่าหรือให้สิทธิแก่บุคคลอื่น (IFF ไม่ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน)
10. IFF กู้ยืมเงินได้ ≤ 3 เท่าของส่วนทุน และต้องเป็นหนี้สินแบบไม่มีสิทธิไล่เบี้ย (non-recourse debt)
การถือหน่วยลงทุน
บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกัน ห้ามถือหน่วยลงทุนเกิน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด*
ออกหน่วยลงทุนหลายชนิดที่ให้ผลตอบแทนต่างกันได้ ทั้งนี้ หน่วยลงทุนทุกชนิดต้องมีมูลค่า
ที่ตราไว้ (par) เท่ากัน และห้ามจัดสรรให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใด > 50% ของจำนวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด
หน่วยลงทุนที่ถือเกินอัตราที่กำหนดจะไม่ได้รับเงินปันผลและไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ
มี foreign limit เช่นเดียวกับกฎหมายที่ใช้บังคับกับกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ที่ IFF ลงทุน
* ในกรณีที่กองทุนรวมมีผู้ขายทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐาน (sponsor) หลายราย หน่วยลงทุนที่ sponsor ทุกรายถือรวมกันต้องไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด
การประเมินค่าทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐาน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ผู้ประเมิน : นิติบุคคลที่มีประสบการณ์/ความเชี่ยวชาญ
2. ประเมินเต็มรูปแบบ และเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ
3. ประเมินก่อนซื้อหรือขาย ไม่เกิน 1 ปี
4. ทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐาน ≥ 50 ล้านบาท ต้องผ่านการประเมิน
5. ถ้าทำธุรกรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องมีผู้ประเมิน 2 ราย (รวมถึงกรณีซื้อทรัพย์สินจากผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว)
6. มีการประเมินใหม่อย่างน้อยทุก 3 ปีนับจากการประเมินครั้งล่าสุด
7. ห้ามผู้ประเมินรายเดียวกันประเมินค่าทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโครงการเดียวกัน ติดต่อกันเกิน 2ครั้ง
8. หาก บลจ. เห็นว่ามีเหตุการณ์ที่อาจกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญ หรือได้รับการร้องขอจากผู้ดูแลผลประโยชน์หรือผู้สอบบัญชีของ IFF บลจ. ต้องประเมินค่าทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานใหม่โดยไม่ชักช้า
การเปิดเผยข้อมูล IFF ต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญ ดังต่อไปนี้
มูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของ IFF – รายไตรมาส
งบการเงิน - รายไตรมาส และรายปี
รายงานประจำปี
รายงานความคืบหน้าของโครงการ กรณี IFF มีการลงทุนใน greenfield project - ทุก 6 เดือน
รายงานเมื่อมีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลกระทบต่อ IFF อย่างมีนัยสำคัญหรือตามที่ ก.ล.ต. กำหนด
ให้เปิดเผยรายงานการประเมิน/สอบทานมูลค่าทรัพย์สินภายใน 30 วัน ผ่านช่องทางที่เหมาะสม เช่น ประกาศทาง website
กรณีเปิดเผยประมาณการผลตอบแทน ต้องเปิดเผย IRR ควบคู่ด้วย
การเลิก IFF จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุน < 35 ราย
IFF มีการจำหน่ายทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐาน และบลจ. ได้ลดเงินทุนของ IFF เพื่อคืนเงินให้ผู้ถือหน่วยลงทุน
จนทำให้ IFF มีเงินทุนจดทะเบียน < 2,000 ล้านบาท (คำนวณตาม par)
IFF มีการจำหน่ายทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐาน และบลจ. ไม่สามารถดำเนินการให้กองทุนมีทรัพย์สินโครงสร้าง
พื้นฐาน ≥1,500 ล้านบาท และ ≥ 75% ของมูลค่าทรัพย์สินรวมได้ภายใน 1 ปี
ก.ล.ต. มีคำสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้ง IFF