Sign In
กฎเกณฑ์

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​ผู้้ประกอบธุรกิจตัวกลาง


​สรุปหลักเกณฑ์ 



ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลาง ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งให้บริการ อาทิ


​หลักทรัพย์        ​
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
1. นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์       ​
1. ตัวแทนซื้อขายสัญญาฯ
2. ค้าหลักทรัพย์          
2. ค้าสัญญาฯ
3. ที่ปรึกษาการลงทุน 
3. ที่ปรึกษาสัญญาฯ
4. จัดจำหน่ายหลักทรัพย์  
4. ผู้จัดการสัญญาฯ     
5. จัดการกองทุนรวม
6. จัดการกองทุนส่วนบุคคล
​​




หลักการในการกำกับดูแลPicture1.png

Picture2.png​​


มาตรฐานการประกอบธุรกิจ​

Picture3.1.png

​ทุนจดทะเบีย​นชำระแล้ว​

การกำหนดทุนจดทะเบียนชำระแล้ว มีเพื่อ

    • ​​​เอื้อต่อโมเดลธุรกิจ (business model) ที่แตกต่าง

    • ผู้ประกอบธุรกิจสามารถแข่งขันได้

    • สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ

    • ไม่สร้างภาระเกินความจำเป็นต่อภาคธุรกิจ


       หลักการกำหนดทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

การประกอบธุรกิจ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบ clearing & settlement 100 ลบ.*
มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า 25 ลบ.
ให้บริการ Mutual Fund (MF) Private Fund (PF) Derivative Fund Manager (DF) ต่อผู้ลงทุนทั่วไป 25 ลบ
ให้บริการ Mutual Fund (MF) Private Fund (PF) Derivative Fund Manager (DF) เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน + ไม่เก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า 10 ลบ.
อื่น ๆ 1 ลบ.


 

* ยกเว้นใบอนุญาตสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรกำหนดให้มี 50 ลบ. ตามเดิม​​


อนึ่ง นอกจาก​การมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าที่กำหนดแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องดำรงเงินกองทุนและสภาพคล่องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดด้วย



คณะก​รรมการ ก.ล.ต. ได้กำหนดหลักเกณฑ์เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (Net Capital - “NC”) โดยให้บริษัทหลักทรัพย์และตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดำรง NC ในรูปแบบของ (1) จำนวนเงินขั้นต่ำเท่ากับ 1, 15 หรือ 25 ล้านบาท แล้วแต่กรณี และ (2) อัตราส่วนเมื่อเทียบกับหนี้สินที่มีภาระต้องชำระ (Net Capital Ratio - “NCR”) เท่ากับ 7% โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้


​​​​​NC = (สินทรัพย์สภาพคล่อง - ค่าความเสี่ยง) - หนี้สินรวม​

           ​ ​​หนี้สินทั่วไป + ทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน


ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย และมีการเก็บรักษาทรัพย์สินดิจิทัลของลูกค้าจะต้องดำรงเงินกองทุนมากกว่า 1% ของ cold wallet และ 5% ของทรัพย์สินลูกค้าที่ถูกจัดเก็บในระบบอื่น 

ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย แต่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินดิจิทัลของลูกค้าจะต้องดำรงส่วนของผู้ถือหุ้นมากกว่า 0.5, 2.5 หรือ 5 ล้านบาท แล้วแต่กรณี 

หลักเกณฑ์ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์

ในกรณีที่พบว่า NC หรือ NCR ลดต่ำลง ให้บริษัทหลักทรัพย์และตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดำเนินการดังนี้ (ประกาศ สธ. 64/2563) 

1. เมื่อ NC หรือ NCR  1.เท่าของเกณฑ์ขั้นต่ำ ​​


(
early warning)

1.1 กรณีประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อ

ขายล่วงหน้าเพียงอย่างเดียว


NCR  10.5% หรือ NC  22.ล้านบาท



1.2 กรณีประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อ

ขายล่วงหน้าด้วย
 

NCR  10.5% หรือ NC  37.5 ล้านบาท



1.3 กรณีประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ/หรือสัญญาซื้อ

ขายล่วงหน้าที่มีความเสี่ยงต่ำ
 (ไม่เก็บทรัพย์สินลูกค้า/

ไม่มีการลงทุนเพื่อบริษัท/ไม่มีภาระความรับผิดชอบ

ต่อระบบชำระราคา)

NCR  10.5% หรือ NC  1.ล้านบาท​​


​​​​​จัดส่งรายงานต่อ ก.ล.ต. เป็นรายวันจนกว่าจะสามารถทำให้ NC และ NCR เพิ่มขึ้น > 1.5 เท่าของเกณฑ์ขั้นต่ำเป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย วันทำการ พร้อมทั้งชี้แจงสาเหตุและแนวทางการแก้ไข

​2. เมื่อ NC หรือ NCR < เกณฑ์ขั้นต่ำ

2.1 กรณีประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพียงอย่างเดียว
NCR  < 7% หรือ NC < 15 ล้านบาท

  
2.2 กรณีประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย
NCR < 7% หรือ NC < 25 ล้านบาท

 

2.กรณีประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ/หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความเสี่ยงต่ำที่มีความเสี่ยงต่ำ
(ไม่เก็บทรัพย์สินลูกค้า/ไม่มีการลงทุนเพื่อบริษัท/ไม่มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชำระราคา)

NCR  7% หรือ NC  1 ล้านบาท

ห้ามขยายการประกอบธุรกิจ และจะต้องจัดทำแผนแก้ไขเงินกองทุนให้กลับมาเป็นปกติภายใน 90 วันจัดส่งให้ ก.ล.ต. ภายใน 30 วัน โดยหาก  

(ก)  ไม่ได้จัดส่งแผนตามกำหนด  

(ข)  แก้ไขไม่ได้ตามแผน  

(ค)  NC ติดลบติดต่อกัน 5 วัน 

(ง)  มีการผิดนัดการชำระราคาหรือส่งมอบ

ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องหยุดประกอบธุรกิจทั้งหมด ดำเนินการลดความเสี่ยงเกี่ยวกับเงินลงทุนของบริษัท และโอนฐานะ
ของลูกค้าไปยังผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น




วิดีโอสอน NC ตามเกณฑ์ใหม่ 16 ม.ค. 61


คณะกรรมการตรวจสอบของบริ​ษัทหลักทรัพย์​

  • บริษัทหลักทรัพย์ที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า : ต้องจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 2 คน

  • บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า : อาจจัดให้มีกลไกหรือการดำเนินการอื่นใดเพื่อทดแทนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบก็ได้

คุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์

  • มิได้เป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อการบริหารงานประจำวัน

  • มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน​


แบบรายงาน

Picture4.png


 

​O​utsource

Picture6.png


หมายเหตุ    

*  งานทั่วไป อาทิ งานบริหารความเสี่ยง งานตรวจสอบและควบคุมภายใน งานกำกับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นต้น

** งาน central utility function ได้แก่ การให้บริการระบบสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยลงทุนและจัดการกองทุน (Fund Service Platform) ซึ่งให้บริการโดยบริษัท ดิจิทัล แอคเซส แพลตฟอร์ม และการให้บริการจัดการข้อมูลการชำระเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งให้บริการโดยบริษัท ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค จำกัด​​


การ outsource ต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลและไม่มีผลเสมือนเป็นการไม่ประกอบธุรกิจ (empty box) โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องกำกับดูแลผู้ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ (ยกเว้นงานกลุ่ม 2)

Picture7.png



 Picture8.png

​การแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการลงทุ​น (Investment Advisor: IA) ตามมาตรา 100 

 Picture9.png

 

 Picture10.png


*  ใช้กับที่ปรึกษาการลงทุน (IA) ที่เป็น specific advice โดยไม่ได้เป็นตัวแทนด้วย

** ทั้งนี้ ตัวแทนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกอบธุรกิจด้วย (ประกาศ ทธ. 35/2556) เช่น การป้องกันการนำข้อมูลคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไปใช้ประโยชน์โดยการซื้อขายหลักทรัพย์ตัดหน้าลูกค้า (front running) หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นซึ่งอาจอาศัยข้อมูลที่ได้มานั้นไปซื้อขายหลักทรัพย์ตัดหน้าลูกค้า

​​​​​

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายนโยบายธุรกิจหลักทรัพย์
โทรศัพท์ 1207 กด 7​​