Sign In
กฎเกณฑ์

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​การควบรวมกิจการ


ข้อกำหนดในการทำคำเสนอซื้อ​

 

1) ข้อมูลในคำเสนอซื้อ

เนื่องจากข้อมูลในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ค่อนข้างมาก การเปิดเผยข้อมูลในคำเสนอซื้อจึงต้องกระทำโดยทันที โดยการยื่นต่อ ก.ล.ต.  กิจการ ผู้ถือหุ้น และตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น ก.ล.ต. จึงไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในคำเสนอซื้อก่อน แต่ได้กำหนดให้การทำคำเสนอซื้อจะต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดเตรียมคำเสนอซื้อ เพื่อช่วยในการสอบทานความถูกต้อง และความเพียงพอของข้อมูล

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ก.ล.ต. พบว่าในบางกรณีหลังจากยื่นคำเสนอซื้อต่อ ก.ล.ต. แล้วผู้ทำคำเสนอซื้อได้มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้ถือหุ้นบางกลุ่ม หรือข้อมูลบางส่วนในคำเสนอซื้ออาจจะไม่ครบถ้วน ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเท่าเทียมกัน จึงกำหนดให้ ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งการให้ผู้ทำคำเสนอซื้อแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในคำเสนอซื้อ  สั่งให้เผยแพร่ข้อมูลที่แก้ไขแล้ว หรือสั่งให้ขยายระยะเวลารับซื้อ หรือขยายระยะเวลายกเลิกเจตนาขาย (withdraw)

 

2) หลักทรัพย์ที่ต้องเสนอซื้อ

แม้ว่าโดยหลักการที่ต้องการให้ fair exit ก็ตาม แต่ในบางกรณีหลักทรัพย์บางประเภทที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น หลักทรัพย์แปลงสภาพที่ระยะเวลาใช้สิทธิครั้งสุดท้ายสิ้นสุดก่อนระยะเวลาในคำเสนอซื้อ หรือหลักทรัพย์แปลงสภาพที่กำหนดบุคคลเฉพาะที่สามารถใช้สิทธิได้ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดยกเว้นหลักทรัพย์ที่ผู้ทำคำเสนอซื้อไม่ต้องรับซื้อด้วยก็ได้  


หลักทรัพย์ที่ต้องเสนอซื้อ​หลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับซื้อ
หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ treasury stock

ใบสำคัญแสดงสิทธิทั้งหมดของกิจการ เช่น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (warrant)
และ หุ้นกู้แปลงสภาพ (convertible debenture : CD)

warrant หรือ CD ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้

  • ราคาใช้สิทธิ (exercise price) สูงกว่าหรือเท่ากับราคาเสนอซื้อหุ้น (out of money) และผู้ทำคำเสนอซื้อต้องไม่เคยซื้อ warrant / CD นั้น ในช่วงเวลา 90 วัน ก่อนยื่นคำเสนอซื้อต่อ ก.ล.ต.

  • warrant / CD ที่หากผู้เสนอซื้อต้องซื้อไป ก็ไม่สามารถใช้สิทธิได้ เพราะหมดอายุไปก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ หรือมีข้อจำกัดเรื่องผู้ใช้สิทธิ เช่น ผู้ใช้สิทธิต้องเป็นกรรมการหรือพนักงานของกิจการเท่านั้น เป็นต้น

  • CD ที่เป็นกำหนดสกุลเงินตราต่างประเทศ (ECD)

ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ที่โอนสิทธิได้ (Transferable Subscription Rights : TSR)

หุ้นที่จะได้มาจากการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ที่อาจแปลงสิทธิเป็นหุ้นได้ เช่น ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (derivative warrant : DW) ที่ส่งมอบเป็นหุ้น 

 

3) ราคาเสนอซื้อ

 การกำหนดราคาเสนอซื้อจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้

  • รูปแบบราคาเสนอซื้อต้องเหมือนกันสำหรับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน

  • รูปแบบเสนอซื้อมีมากกว่า 1 ทางเลือกได้ แต่ต้องมีทางเลือกหนึ่งเป็นเงินสดเสมอ

  • ถ้าราคาเสนอซื้อเป็นสิ่งตอบแทนอื่นที่มิใช่ตัวเงิน ต้องประเมินมูลค่าโดยที่ปรึกษาทางการเงิน

  • ราคาเสนอซื้อต้องไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่ผู้ทำคำเสนอซื้อ และบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทำคำเสนอซื้อได้มาในช่วง 90 วัน (“ราคาสูงสุดที่ได้มาใน 90 วัน")

  • ผู้ทำคำเสนอซื้ออาจปรับราคาหุ้นที่ได้มาเนื่องจากเหตุการณ์ต่อไปนี้ (1) การจ่ายเงินปันผล (2) การปรับราคามูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (ราคาพาร์)  (3) การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering: RO) หรือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (TSR)

สำหรับรายละเอียดของราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

     (1) ราคาเสนอซื้อหุ้น

    • กรณีทั่วไป
      • ถ้าผู้ทำคำเสนอซื้อและบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่มีการได้มาในช่วง 90 วัน สามารถกำหนดราคาเสนอซื้อเท่าใดก็ได้ เช่น ผู้ลงทุนจะทำคำเสนอซื้อแบบสมัครใจ โดยที่ยังไม่มีการถือหุ้นของกิจการ

      • ถ้าผู้ทำคำเสนอซื้อและบุคคลที่เกี่ยวข้องถ้ามีการได้มาใน 90 วัน ราคาเสนอซื้อต้องไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่ได้มาใน 90 วัน

      • กรณีได้หุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิมาประเภทเดียวในช่วง 90 วัน เช่น ได้มาแต่หุ้นสามัญ แต่ไม่ได้หุ้นบุริมสิทธิ ราคาเสนอซื้อหุ้นบุริมสิทธิ ต้องเป็นราคาสูงสุดระหว่าง
        (ก) ราคาตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 วันทำการล่าสุดก่อนวันที่ได้หุ้นอีกประเภทนั้นมาในราคาสูงสุดในช่วง 90 วัน        
        (ข) มูลค่ายุติธรรมที่ประเมินโดย FA

ในกรณีที่หุ้นบุริมสิทธิข้างต้นไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ก็ให้ใช้มูลค่ายุติธรรมที่ประเมินโดย FA

 pic16.png

    • กรณีได้หุ้นมาจากการแปลงสภาพ
      • ​ได้หลักทรัพย์แปลงสภาพมาใน 90 วัน ราคาเสนอซื้อหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า

                           ​​(ก)  ราคาที่ได้หุ้นมา โดย

               แปลง warrant เป็นหุ้น :

               ราคาที่ได้หุ้นมา = ราคาซื้อ warrant + ราคาใช้สิทธิ

               แปลง CD เป็นหุ้น : 

               ราคาที่ได้หุ้นมา = ราคาซื้อ CD / อัตราแปลงสภาพ

        (ข)  ราคาหุ้นในตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 วันทำการก่อนวันที่มีการใช้สิทธิ หรือ fair value ประเมินโดย

               FA (กรณีไม่มีราคาตลาด)

      • กรณีไม่มีการได้หลักทรัพย์แปลงสภาพใน 90 วัน ใช้ราคาราคาหุ้นในตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 วันทำการก่อนวันที่มีการใช้สิทธิ หรือ fair value ประเมินโดย FA (กรณีไม่มีราคาตลาด)

    • กรณีได้หุ้นมาจากการแลกกับสิ่งตอบแทนอื่น
      • หุ้นแลกหุ้น (share swap) : คำนวณราคาหุ้นของกิจการที่ได้มาในช่วง 90 วัน จากมูลค่าหุ้นบริษัทอื่นที่แลก โดยแบ่งเป็น 2 กรณี​

                 (ก)  หุ้นของบริษัทอื่นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

              ราคาหุ้นสูงสุดของกิจการที่ได้มา = ราคาตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นบริษัทอื่น 5 วันทำการ 
              * อัตราการแลกหุ้น

        (ข) หุ้นของบริษัทอื่นไม่ได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

              ราคาหุ้นสูงสุดของกิจการที่ได้มา = มูลค่ายุติธรรมของหุ้นบริษัทอื่นที่ประเมินโดย FA * อัตราการ
              แลกหุ้น

              หมายเหตุ: อัตราการแลกหุ้น = จำนวนหุ้นของบริษัทอื่น /จำนวนหุ้นของกิจการที่ใช้ในการแลก

                               เปลี่ยน

      • สิ่งตอบแทนอื่นแลกหุ้น :  ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินประเมินมูลค่าสิ่งตอบแทนอื่น

 

    • กรณี  acting in concert : ราคาเสนอซื้อหุ้น แบ่งเป็น 2 กรณี
      • กรณีมีการได้มาหุ้นของกิจการในช่วง 90 วัน
        ราคาเสนอซื้อต้องไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่บุคคลที่ acting in concert กับผู้ทำคำเสนอซื้อ หรือ บุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทำคำเสนอซื้อ / บุคคลที่ acting in concert กับผู้ทำคำเสนอซื้อได้มาในช่วง 90 วัน

      • ​​​​กรณีไม่มีกา​รได้มาซึ่งหุ้นของกิจการในช่วง 90 วัน
        ราคาเสนอซื้อหุ้น ต้อง​​ไม่ต่ำกว่าราคาตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นนั้นในระหว่าง 5 วันทำการก่อนวัน 
        เริ่มต้น acting in concert

 

​     (2) ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์แปลงสภาพ

    • ราคาเสนอซื้อ warrant ใช้ราคาสูงสุดระหว่าง
      • ราคาสูงสุดที่ได้ warrant ใน 90 วัน

      • ราคาตามทฤษฎี  (see through price)

          (ราคาเสนอซื้อ​หุ้น - ราคาใช้สิทธิ) * จำนวนหุ้นที่สามารถใช้สิทธิซื้อได้ต่อ warrant 1 หน่วย

    • ราคาเสนอซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพ ใช้ราคาสูงสุดระหว่าง
      • ราคาสูงสุดที่ได้หุ้นกู้แปลงสภาพใน 90 วัน

      • ราคา see through price

        ​​ราคาเสนอซื้อหุ้น * อัตราแปลงสภาพ

 

     (3) กรณีทำคำเสนอซื้อล่าช้า
           
การยื่นคำเสนอซื้อหลังพ้นระยะเวลาที่กำหนด / ที่ ก.ล.ต.ผ่อนผัน ราคาเสนอซื้อหุ้นต้องไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุด   

            ระหว่าง

    • ราคาเสนอซื้อหุ้นปกติ (หากต้องทำตามเกณฑ์ ณ วันนั้น) + เงินเพิ่มเนื่องจากทำคำเสนอซื้อล่าช้า (carrying cost*)

    • ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 วันทำการก่อนวันที่ยื่นคำเสนอซื้อ

                  *carrying cost = ราคาเสนอซื้อหุ้นตามปกติ x อัตราดอกเบี้ย MLR* x วันล่าช้า
                                                                                 365 วัน

               หมายเหตุ :  *อัตราดอกเบี้ย MLR หมายถึง อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบมีระยะเวลา
                                   ที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 อันดับแรกเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี

 

     (4) ราคาเสนอซื้อ กรณี chain principle

    • กรณีไม่มีการได้หุ้นของกิจการ
      ราคาเสนอซื้อ  > ต้นทุนการได้มาซึ่งอำนาจครอบงำกิจการ

    • กรณีที่มีการได้หุ้นกิจการมาใน 90 วัน : ราคาที่สูงกว่าระหว่าง
      (ก) ราคาสูงสุดที่ได้มาใน 90 วัน และ
      (ข) ต้นทุนการได้มาซึ่งอำนาจครอบงำกิจการ
       

     (5) กรณีทำคำเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ (delist)

          ราคาเสนอซื้อ : เพิ่มเกณฑ์ให้เป็นธรรมแก่ผู้ถือหลักทรัพย์เพื่อชดเชยเนื่องจากหุ้นจะขาดสภาพคล่อง

      • ต้องเสนอทางเลือกหนึ่งเป็นเงินสดเสมอ

      • ราคาเสนอซื้อต้องเป็นราคาสูงสุดระหว่าง

        • ราคาสูงสุดที่ได้มาใน 90 วัน

        • ราคาตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในช่วง 5 วันทำการก่อน board มีมติ delist

        • NAV

        • มูลค่ายุติธรรมที่ประเมินโดย IFA 

 

4) ระยะเวลาและข้อเสนอในคำเสนอซื้อ

ในกรณีทั่วไป ระยะเวลารับซื้อจะต้องไม่น้อยกว่า 25 วันทำการ และไม่เกิน 45 วันทำการ แต่จะได้รับยกเว้นให้ขยายระยะเวลารับซื้อได้ในกรณีเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่อกิจการและผู้ทำคำเสนอซื้อเลือกที่จะปรับลดราคาเสนอซื้อ หรือกรณีที่มีผู้ทำคำเสนอซื้อแข่ง

ในกรณีที่ผู้ทำคำเสนอซื้อซื้อยังไม่ได้ประกาศข้อเสนอสุดท้าย (final offer) และระยะวลารับซื้อสุดท้าย (final offer)  ผู้ทำคำเสนอซื้อสามารถแก้ไขข้อเสนอซื้อได้ แต่ต้องเป็นการแก้ไขข้อเสนอที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น การเพิ่มราคาเสนอซื้อ การลดหรือยกเลิกเงื่อนไขในการเสนอซื้อ การขยายระยะเวลารับซื้อ การเพิ่มระยะเวลาให้ผู้ถือหลักทรัพย์สามารถยกเลิกการแสดงเจตนาขายได้ ทั้งนี้ ผู้ทำคำเสนอซื้อจะต้องประกาศข้อเสนอเสนอสุดท้าย โดยต้องมีระยะเวลารับซื้อคงเหลือหลักจากประกาศ final day/final offer อย่างน้อย 15 วันทำการ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ถือหลักทรัพย์ ได้มีเวลาเพียงพอในการวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจ

   

5) การให้สิทธิยกเลิกการแสดงเจตนาขาย (withdraw)

ผู้ถือหลักทรัพย์ที่ได้แสดงเจตนาขายหลักทรัพย์ของตนไปโดยยังไม่ได้รับชำระค่าขายหลักทรัพย์ หรือสละสิทธิยกเลิกการแสดงเจตนาขาย สามาถ withdraw ได้ตามระยะเวลาที่ผู้ทำคำเสนอซื้อกำหนด โดยระยะเวลาที่ผู้ทำคำเสนอซื้อยินยอมให้ withdraw จะกำหนดระยะเวลาเท่าใดก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 20 วันทำการ และเมื่อมีผู้ถือหลักทรัพย์มาใช้สิทธิ withdraw ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องส่งมอบหลักทรัพย์คืนภายในวันทำการถัดจากวันที่แจ้ง withdraw

อย่างไรก็ดี หากผู้ทำคำเสนอซื้อมีการขยายระยะเวลารับซื้อหรือแก้ข้อเสนอในคำเสนอซื้อ ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องขยายระยะเวลา withdraw ที่กำหนดไว้เดิมออกไปอีกไม่น้อยกว่า 10 วันทำการนับต่อจากวันสุดท้ายที่ให้ withdraw หรือวันที่ประกาศขยายเวลา หรือแก้ไขข้อเสนอ แล้วแต่วันใดจะถึงหลัง แต่ต้องไม่เกินระยะเวลารับซื้อ

 

6) ​การปรับเงื่อนไขและระยะเวลารับซื้อกรณีมีผู้ทำคำเสนอซื้อแข่ง

ระหว่างการทำคำเสนอซื้อ หากมีบุคคลอื่นทำคำเสนอซื้อแข่ง ผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการอาจได้รับประโยชน์จากการมีทางเลือกที่ดีขึ้น แต่จะต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ทำคำเสนอซื้อคนแรกด้วย จึงรองรับให้สิทธิผู้ทำคำเสนอซื้อคนแรกสามารถ

  • ขยายเวลารับซื้อได้ จนถึงวันสิ้นระยะเวลารับซื้อของคู่แข่ง

  • ประกาศ final day / final offer ได้ภายในวันเดียวกับคู่แข่ง

อย่างไรก็ดี ผู้ทำคำเสนอซื้อคนแรกจะดำเนินการข้างต้นได้ จะต้องระบุไว้ในคำเสนอซื้อตั้งแต่แรกว่าหากมีผู้ทำคำเสนอซื้อแข่ง จะดำเนินการเช่นนั้น และจะต้องประกาศขยายเวลา/แก้ไขข้อเสนอซื้อภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่มีการยื่นคำเสนอซื้อของคู่แข่ง หรือภายในระยะเวลารับซื้อสุดท้ายของผู้ทำคำเสนอซื้อคนแรก แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน รวมทั้งผู้ทำคำเสนอซื้อแข่งต้องมิใช่บุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ที่ยื่นคำเสนอซื้อ

 

7) การรายงานผลการรับซื้อ

การรายงานผลการรับซื้อเบื้องต้น : ผู้ทำคำเสนอซื้อจะต้องรายงานผลการรับซื้อเบื้องต้น ดังนี้

  1. กรณีที่ยินยอมให้ withdraw ได้ภายในวันที่กำหนด ให้รายงานผลการรับซื้อเบื้องต้น ในวันทำการถัดจากวันสุดท้ายที่ให้ withdraw เช่น ผู้ทำคำเสนอซื้อกำหนดระยะเวลารับซื้อ 25 วันทำการ และกำหนดระยะเวลาให้ withdraw 20 วันทำการแรกของระยะเวลารับซื้อ ดังนั้นผู้ทำคำเสนอซื้อมีหน้าที่ยื่นรายงานผลการรับซื้อเบื้องต้น ในวันทำการที่ 21 ของระยะเวลารับซื้อ

  2. กรณีที่ยอมให้ withdraw ได้ตลอดระยะเวลารับซื้อ ให้รายงานผลการรับซื้อเบื้องต้นก่อนสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ 3 วันทำการ เช่น ผู้ทำคำเสนอซื้อกำหนดระยะเวลารับซื้อ 30 วันทำการ และยอมให้ withdraw ได้ตลอดระยะเวลารับซื้อ ดังนั้นผู้ทำคำเสนอซื้อมีหน้าที่ยื่นรายงานผลการรับซื้อเบื้องต้น ในวันทำการที่ 27 ของระยะเวลารับซื้อ

ในกรณีที่มีการขยายระยะเวลารับซื้อ ผู้ทำคำเสนอซื้อจะต้องขยายระยะเวลา withdraw ด้วย ซึ่งในทางปฏิบัติผู้ทำคำเสนอซื้ออาจจะรายงานผลการรับซื้อเบื้องต้นไปแล้ว ในกรณีนี้ก็ต้องรายงานผลการรับซื้อเบื้องต้นอีกครั้งตามระยะเวลารับซื้อที่แก้ไขใหม่ตามเกณฑ์ข้างต้นด้วย

การรายงานผลการรับซื้อ :  ผู้ทำคำเสนอซื้อมีหน้าที่ยื่นรายงานผลการรับซื้อหลักทรัพย์ ตามแบบ 256-2 ต่อ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ ภายใน 5 วันทำการนับแต่สิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ และให้ถือว่าการยื่นแบบ 256-2 เป็นการรายงานการได้มาตามมาตรา 246 ด้วยแล้ว

pic17.png
 

8) การยกเลิกคำเสนอซื้อ

แม้ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์จะเกิดจากหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด (mandatory tender offer) หรือเกิดโดยความสมัครใจของผู้ทำคำเสนอซื้อเอง (voluntary tender offer) โดยทั่วไปผู้ทำคำเสนอซื้อจะกำหนดราคาเสนอซื้อโดยคำนึงถึงมูลค่ากิจการ ณ เวลานั้น หรืออาจกำหนดจำนวนขั้นต่ำที่ต้องการเพื่อให้มั่นใจว่ามีอำนาจในการควบคุมกิจการ ดังนั้น หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้มูลค่ากิจการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ หรือมีผู้มาเสนอขายจำนวนต่ำกว่าที่ต้องการ ผู้ทำคำเสนอซื้อสามารถยกเลิกคำเสนอซื้อหรือปรับลดราคาให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมจึงมีข้อกำหนดให้สิทธิผู้ทำคำเสนอซื้อที่ได้ระบุสิทธิดังกล่าวไว้ในคำเสนอซื้อ โดยสามารถเลือกดำเนินการได้ต่อไปนี้ก็ได้

  • สิทธิในการยกเลิกคำเสนอซื้อกรณีทั่วไป : ผู้ทำคำเสนอซื้อไม่ว่าจะเป็น mandatory tender offer หรือ voluntary tender offer ก็ตาม สามารถยกเลิกคำเสนอซื้อได้กรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้ 

    1. เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังยื่นคำเสนอซื้อและยังไม่พ้นระยะเวลารับซื้อ อันเป็นเหตุหรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อฐานะหรือทรัพย์สินของกิจการ โดยเหตุการณ์หรือการกระทำดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทำของผู้ทำคำเสนอซื้อหรือการกระทำที่ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องรับผิดชอบ

    2. กิจการกระทำการใด ๆ ภายหลังยื่นคำเสนอซื้อและยังไม่พ้นระยะเวลารับซื้อ อันเป็นผลให้มูลค่าหุ้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

    3. กิจการกระทำหรืองดเว้นการกระทำที่จะเข้าข่ายมีผลกระทบต่อการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ (Anti-Takeover)

  • สิทธิในการยกเลิกคำเสนอซื้อกรณีมีผู้มาเสนอขายน้อยกว่าจำนวนที่ระบุไว้ : เฉพาะผู้ทำคำเสนอซื้อแบบ voluntary tender offer  อาจจะกำหนดเงื่อนไขในการยกเลิกการทำคำเสนอซื้อได้ในกรณีที่ระบุจำนวนขั้นต่ำไว้ และมีผู้มาเสนอขายน้อยจำนวนที่ระบุไว้

  • สิทธิในการลดราคา : ในกรณีที่เกิดเหตุกาณ์ร้ายแรงต่อกิจการตาม ข้อ 1 แล้ว ผู้ทำคำเสนอซื้ออาจจะเลือกที่จะปรับลดราคาเสนอซื้อลงโดยไม่ยกเลิกคำเสนอซื้อก็ได้ เนื่องจากเห็นว่า ความเสียหายนันอาจเพียงทำให้มูลค่ากิจการลดลง แต่กิจการยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ ผู้ที่ได้แสดงเจตนาขายไปแล้วโดยไม่สามารถยกเลิกเจตนาขายได้จะต้องได้รับชำระราคาเดิมก่อนปรับลดราคาด้วย 

ในการใช้สิทธิในการยกเลิกคำเสนอซื้อกรณีทั่วไปและใช้สิทธิลดราคา ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องแจ้งข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่มาแห่งสิทธิดังกล่าวให้ ก.ล.ต. ทราบ และหาก  ก.ล.ต. ไม่ทักท้วงภายใน 3 วันทำการ จึงจะยกเลิกหรือลดราคาได้   

      

9) ข้อบังคับ  ก่อน ระหว่าง และ หลังการทำคำเสนอซื้อ


pic18.png
 

 pic19.png


 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายจดทะเบียนตราสารทุน 1 – 2

โดยแบ่งตามหมวดธุรกิจของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ดังนี้

ท่องเที่ยวและสันทนาการ-วัสดุก่อสร้าง
โทรศัพท์ 0-2033-9619 / 0-2263-6124 / 0-2033-9590​ / 0-2263-6065

การแพทย์ – บรรจุภัณฑ์ - บริหารเฉพาะกิจ
โทรศัพท์ 0-2263-6110 / 0-2263-6234 / 0-2263-6248 / 0-2263-6535

ยานยนต์– แฟชั่น - พาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2263-6112 / 0-2263-6303 /0-2263-6334 / 0-2263-6204

ธนาคาร - ธุรกิจการเงิน – ประกันภัยและประกันชีวิต
โทรศัพท์ 0-2263-6556 / 0-2263-6085 / 0-2033-9621

สื่อและสิ่งพิมพ์ – ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ – สินค้าอุปโภคบริโภค
โทรศัพท์ 0-2263-6093 / 0-2033-9949 / 0-2033-4671 / 0-2263-6277

ทรัพยากร – ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ – บริการเฉพาะกิจ
โทรศัพท์ 0-2033-9610 / 0-2033-9606 / 0-2033-9656 / 0-2263-6550

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
โทรศัพท์ 0-2033-9640 / 0-2033-9528 / 0-2263-6208  / 0-2263-6196

ไฟฟ้า - เหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ
โทรศัพท์ 0-2033-9976 / 0-2033-9923 / 0-2263-6102 / 0-2033-4636

อาหารและเครื่องดื่ม – ธุรกิจการเกษตร
โทรศัพท์ 0-2033-9628 / 0-2263-6066 /0-2033-4657 / 0-2033-9604

ขนส่งและโลจิสติกส์ – วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร  
โทรศัพท์ 0-2033-9605 /0-2033-4622 / 0-2033-9821 / 0-2263-6367 / 0-2033-9568

ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน – บริการรับเหมาก่อสร้าง
โทรศัพท์ 0-2263-6111 / 0-2263-6512  / 0-2263-6214  / 0-2033-9947

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2263- 6514 / 0-2263-6232 / 0-2033-9520 / 0-2033-4610

กรณีสอบถามเกี่ยวกับระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2263-6113

กรณีสอบถามเกี่ยวกับแบบ 56-1 One Report
โทรศัพท์  0-2263-6098 หรือ 0-2033-9618

สอบถามการส่ง online รายงานแบบ 59 และแบบ 246-2

โทร. 1207 ต่อ 3 ต่อ 1 หรือ email helpdesk@sec.or.th

การเสนอขายหุ้นของวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE)

โทรศัพท์ 0-2263 6254

กรณีไม่ระบุชื่อบริษัท

โทรศัพท์ 0-2263-6120 / 0-2033-9908 / 0-2033-4644 / 0-2263-6120

อีเมล corporat@sec.or.th 

 ​