Detail Content
ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor : FA) มีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกและกลั่นกรองคุณภาพของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดูแลให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้อง และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน และให้ความเห็นต่อผู้ถือหุ้นเมื่อบริษัทจดทะเบียนมีการทำรายการสำคัญที่อาจกระทบต่อสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เช่น รายการเกี่ยวกับการเข้าครอบงำกิจการ รายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์สำคัญ ซึ่งผลงานของ FA มีความสำคัญอย่างมากกับผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง
สรุปหลักเกณฑ์
หน้าที่
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และระมัดระวัง ในการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
รักษาจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
จัดทำกระดาษทำการ (working paper) เพื่อเป็นหลักฐานการทำงาน โดยต้องเก็บไว้อย่างน้อย 3 ปี
หาก FA ไม่ได้รับความร่วมมือจากลูกค้า ให้แจ้งต่อ ก.ล.ต. หากไม่แจ้งจะถือว่า FA ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน
FA อาจใช้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญได้ โดยต้องตรวจสอบจนเชื่อได้ว่าผู้เชี่ยวชาญรายนั้นมีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี
FA ต้องให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ร่วมลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผยในแบบคำขอ/ filing รายงานและเอกสารต่าง ๆ ที่ยื่นต่อ ก.ล.ต.
ขอบเขตงาน
1. กรณีออกและเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนทั่วไป
ร่วมกับผู้ออกหลักทรัพย์ (issuer) จัดเตรียมและยื่นแบบคำขออนุญาต / แบบ filing / หนังสือชี้ชวน และเอกสารต่าง ๆ ต่อ ก.ล.ต. พร้อมทั้งรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ
ให้ความเห็นต่อ ก.ล.ต. ว่า issuer มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะได้รับอนุญาต
ให้ความรู้ คำแนะนำ แก่ issuer เกี่ยวกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กรณีมีการทำประมาณการ FA ต้องให้ความเห็นเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้ของสมมติฐาน
ดำเนินการไม่ให้ผู้บริหารของ issuer/FA เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ได้ปรากฏในแบบ filing
ร่วมกับ issuer ในการชี้แจงต่อ ก.ล.ต. กรณีเกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้ในช่วง 1 ปี นับจาก filing มีผลใช้บังคับ (ก) issuer เปลี่ยนแปลงการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ (ข) issuer ใช้เงินไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ไม่ปฏิบัติตาม ม. 81 (การรายงานผลการขายหลักทรัพย์) หรือ (ค) issuer ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาตหรือข้อผูกพันที่เปิดเผยใน filing
ร่วมกับ issuer ในการชี้แจงต่อ ก.ล.ต. กรณีผลการดำเนินงานจริงต่างจากประมาณการอย่างมีนัยสำคัญ
2. กรณีการครอบงำกิจการ
- กรณีทำคำเสนอซื้อ
จัดทำความเห็นเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์และเอกสารอื่นตามที่กำหนด
วิเคราะห์และประเมินฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการ เพื่อให้ความเห็นต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการว่าสมควรตอบรับหรือปฏิเสธคำเสนอซื้อ
ประโยชน์/ผลกระทบหากผู้ถือหุ้นปฏิเสธคำเสนอซื้อ (กรณีขอเพิกถอนหลักทรัพย์ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (delist))
- กรณีการขอผ่อนแบบ whitewash
ให้ความเห็นต่อผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับการขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อ
ทำความเข้าใจสมมติฐาน นโยบายแบะแผนงานของผู้ขอผ่อนผัน เพื่อให้ความเห็นต่อผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้
วิเคราะห์และประเมินผลกระทบของการขอผ่อนผันต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และดูความครบถ้วนของข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น
ความเหมาะสมของราคาหลักทรัพย์ออกใหม่ที่บริษัทจดทะเบียนจะเสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน
การสอบทานข้อมูล (due diligence) เกี่ยวกับรายชื่อ จำนวนหุ้นและจำนวนสิทธิออกเสียงของบุคคลเหล่านั้นของบุคคลที่มีหน้าที่นับรวมการถือครองหลักทรัพย์กับผู้ขอผ่อนผันในการพิจารณาหน้าที่ตามมาตรา 246 และมาตรา 247
จำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดผู้ขอผ่อนผันจะมีภายหลังการได้มาซึ่งหลักทรัพย์และที่จะสามารถได้มาเพิ่มเติมในอนาคตโดยไม่เกิดหน้าที่ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน
3. กรณีอื่น
-
กรณีการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน
กำหนดให้ต้องมีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) ในเรื่อง
ความสมเหตุสมผลและประโยชน์ของรายการต่อบริษัท
ความเป็นธรรมของราคาและเงื่อนไขของรายการ
ให้ความเห็นว่าผู้ถือหุ้นควรลงมติเห็นชอบรายการหรือไม่ พร้อมเหตุผลประกอบ
ความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทจดทะเบียน กรณีบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยทำการจดทะเบียนทางอ้อม (backdoor listing)
การเปิดเผยความสมเหตุสมผลของรายการ อย่างน้อยควรพิจารณาในเรื่องดังนี้
-
เงื่อนไขของรายการ
-
การทำให้เกิดความขัดแย้งของผลประโยชน์ (conflict of interest)
-
ผลกระทบทางการเงิน
-
การทำธุรกิจในอนาคต
|
การให้ความเห็นชอบ
นิติบุคคล
เป็นสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงิน ที่ปรึกษาทางด้านการบัญชี หรือที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย
มีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็น FA ที่ชัดเจน
มีหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานเป็น FA ที่ชัดเจน รัดกุมและเพียงพอตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น เคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานเป็น FA เป็นต้น
กรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานวาณิชธนกิจ ต้องมีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ FA มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความตั้งใจที่จะดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น
มีผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. อย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งปฏิบัติงานเต็มเวลา
เป็นสมาชิกชมรมวาณิชธนกิจ
|
ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน
1. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทำนองเดียวกับผู้บริหารสายงานวาณิชธนกิจ
2. ผ่านการสอบ/อบรมตามหลักสูตรของชมรมวาณิชธนกิจ
|
ความเป็นอิสระของที่ปรึกษาทางการเงิน
FA จะทำหน้าที่ได้ ต้องมีความเป็นอิสระ โดยเกณฑ์พิจารณาเกี่ยวกับความเป็นอิสระมีดังนี้
FA เป็นผู้ถือหุ้นในผู้ issuer ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
FA มี issuer เป็นผู้ถือหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
FA มีกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน หรือพนักงาน ซึ่งรับผิดชอบ ดูแล หรือปฏิบัติงานในสายงาน FA เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการของ issuer
FA มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับ issuer ที่ทำให้ขาดความเป็นอิสระ
ตามรายละเอียดในภาคผนวกท้ายประกาศที่ สช. 59/2562
คู่มือ/ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ชมรมวาณิชธนกิจ
กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
หนังสือรับรองประวัติกรรมการหรือบุคลากรของที่ปรึกษาทางการเงิน MS Word | PDF
หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน MS Word | PDF
แบบ FA-1 คำขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน MS Word | PDF
แบบ FA-2 คำขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน MS Word | PDF
แบบ FA-3 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมกรรมการ / ผู้จัดการ / ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน / ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน MS Word | PDF
แนวทางการยื่นแบบและหนังสือตามประกาศ
สช. 60/2564