กฎกระทรวง
ฉบับที่ 16 (พ.ศ.
2544)
ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา
90 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์แลตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.
2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังออกกฎกระทรวง
ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 2
(พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 1 สถาบันการเงินที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตาม
กฎกระทรวงนี้ได้ต้องเป็นสถาบันการเงินดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการ
ประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ หรือ
(4) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ยกเว้นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
การจัดการกองทุนรวม"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 และข้อ 4แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.
2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.
2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 3 ให้สถาบันการเงินตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตามข้อ2 ยื่นขอรับใบอนุญาตต่อคณะกรรมการก.ล.ต. โดยผ่านสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่คณะกรรมการ
ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
ข้อ 4 สถาบันการเงินที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) สามารถดำรงเงินกองทุนและกันเงินสำรองได้ตามกฎหมายที่จัดตั้ง
สถาบันการเงินนั้นหรือกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่ขอรับใบอนุญาตนั้น
แล้วแต่กรณี
(2) มีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพโดยมีการจัดการที่รอบคอบและเชื่อถือได้
มีระบบบัญชีตามมาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและมีระบบ
การควบคุมภายในที่ดี
(3) มีผู้บริหารที่มีความสามารถและมีความซื่อสัตย์โดยพิจารณาจากประวัติการทำงาน"
ให้ไว้ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.
2544
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2536)
ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. 2535 ได้กำหนดคุณสมบัติของสถาบันการเงินที่จะได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ต้องมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า
5 ปี
แต่เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจจึงส่งผลทำให้
สถาบันการเงินส่วนหนึ่งขาดคุณสมบัติในการยื่นคำขอรับใบอนุญาต
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวประกอบกับสถาบันการเงินที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้มีแต่เฉพาะธนาคารพาณิชย์
บริษัทเงินทุนบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะเท่านั้นไม่รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
จึงทำให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์เฉพาะตราสารแห่งหนี้แต่ยังไม่มีใบอนุญาตต้องขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจำหน่าหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จำกัดประเภทหลักทรัพย์ซึ่งมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในอัตราที่สูงกว่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้เป็นอย่างมากเป็นเหตุให้บริษัท
หลักทรัพย์มีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกันสูงกว่าสถาบันการเงินดังกล่าวข้างต้น
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและมีความเป็นธรรมในการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นสมควรปรับปรุงคุณสมบัติและ
เพิ่มประเภทของสถาบันการเงินที่จะได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
การค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้และปรับปรุง
หลักเกณฑ์ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงจำเป็นต้อง ออกกฎกระทรวงนี้