การจัดการกองทุนรวม
การจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการ (ม.125) ดังนี้
จัดการให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวม (ม. 129)
จัดให้มีการฝากทรัพย์สินของกองทุนรวมไว้กับผู้ดูแลผลประโยชน์
จัดทำบัญชีแสดงการลงทุนของกองทุนรวม
จัดทำรายงานการลงทุนให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทราบ
จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
จัดให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการนำทรัพย์สินของกองทุนรวมไปลงทุน และนำผลประโยชน์ดังกล่าวฝากไว้กับผู้ดูแลผลประโยชน์
ทั้งนี้ ในการจัดการกองทุนรวม ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทำการ (ม.126) เช่น การกระทำใดที่มีลักษณะอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนด หรือการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการนั้นเอง เป็นต้น อย่างไรก็ดี บริษัทหลักทรัพย์อาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์เดียวกันได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนด และเปิดเผยไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน (ม.126/1)
หน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ (ม.127 และ ม.128)
ดูแลให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตาม ม.125
รับฝากทรัพย์สินของกองทุนรวมโดยแยกไว้ต่างหากจากทรัพย์สินอื่น
จัดทำบัญชีแสดงการรับจ่ายทรัพย์สินของกองทุนรวม
จัดทำรายงานเสนอต่อสำนักงาน ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนรวม หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม ม.125
ดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน หรือฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากบริษัทหลักทรัพย์
สรุปหลักเกณฑ์
1.
อำนาจสั่งการของ ก.ล.ต.
2.
ผู้จัดการกองทุน
3.
การวัดผลการดำเนินงาน
4.
การจัดทำงบการเงินของกองทุนรวม
5.
การกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม
6.
การคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สิน (NAV)
7.
การดำเนินการกรณีมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง (Incorrect Pricing)
8.
การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
9. เครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
10.
การจัดทำรายงานของกองทุนรวม
11.
การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ
12.
การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการ
13.
การแบ่งชนิดหน่วยลงทุน
14.
การเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากปิดเป็นเปิด
15.
การควบ/รวม กองทุนรวม
16.
การดำเนินการกรณีผู้ออกตราสารผิดนัดชำระหนี้
17.
การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
18.
การจ่ายเงินปันผล
19.
ค่าธรรมเนียม
20.
การเลิกกองทุนรวม
21.
การผ่อนผัน
22.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมมีประกัน
23.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
(FIF)
24.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(Country Fund)
25.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
(LTF)
26.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมอีทีเอฟ
(ETF)
27.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund)
28. กองทุนรวมตลาดเงินที่กำหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่ (MMF constant NAV)
29. การลงทุนในกองทุนรวมภายใต้ บลจ. เดียวกัน
กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
คู่มือ/แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบายนี้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเข้าใจสาระสำคัญของกฎหมายเท่านั้น ส่วนการจะปฏิบัติตามกฎหมายให้เป็นไปอย่างถูกต้องนั้น ประชาชนจะต้องศึกษา ทำความเข้าใจ ตรวจสอบ และยึดถือตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ