Sign In
​​​​​​กระบวน​ก​ารออกกฎเกณฑ์​

​วัตถุประสงค์​

พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ให้อำนาจ ก.ล.ต.  คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และสำนักงาน ออกประกาศ กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติของบริษัท และธุรกิจในตลาดทุนได้ เพื่อให้สามารถกำหนดการปฏิบัติ และปรับเปลี่ยนได้เหมาะกับสภาพการณ์

การมีการกำกับดูแลตลาดทุนที่ดี จำเป็นต่อการรักษาความเป็นธรรม ความโปร่งใส ในการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนสามารถลงทุน ระดมทุน ประกอบธุรกิจ ทำธุรกรรมในตลาดทุนได้ด้วยความมั่นใจ  ซึ่งการมีกฎเกณฑ์ที่ดีเป็นต้นทางที่จำเป็น่อการนำไป ติดตาม กำกับดูแล บังคับใช้กฎหมายต่อไปได้ 

อย่างไรก็ดี การมีกฎเกณฑ์ การกำกับดูแลต่างๆ เป็นต้นทุน ทั้งต่อผู้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล และผู้กำกับดูแล  ดังนั้น ก.ล.ต. จึงจะออกกฎเกณฑ์ เฉพาะเมื่อมีความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาหรือความเสี่ยงในตลาดทุน และไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า​


 

การประเมินความจำเป็นและผลกระทบในการออกกฎเกณฑ์ ​

Picture1.png
 


 

กระบวนการออกกฎเกณฑ์

เมื่อพิจารณาเห็นถึงความจำเป็นในการออกกฎเกณฑ์แล้ว ก.ล.ต. มีกระบวนการในการดำเนินการ ดังนี้

1. ศึกษามาตรฐานจากหน่วยงานกำกับดูแลต่างประเทศและมาตรฐานสากลเพื่อกำหนดหลักการ

2. เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการ (public hearings / focus group)

3. นำหลักการเสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. / ก.ต.ท. (กรณี ประกาศสำนักงาน จะไม่มีขั้นตอนนี้)

4. จัดทำร่างประกาศ

5. เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศ (public hearings / focus group)

7. เปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ ก.ล.ต. 

6. เสนอประธานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ลงนาม (กรณี ประกาศสำนักงาน จะเป็นเลขาธิการลงนาม)

7. ประกาศลงราชกิจจาฯ

Picture2.png
 




 


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

​ฝ่ายกฎหมายองค์กรและคดีปกครอง​
โทรศัพท์ 0-2033-9525​