ตามที่ ก.ล.ต. มีแนวทางในการส่งเสริมผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล
(Digital
Asset Custodial Wallet Provider : DA Custodian) ให้มีจำนวนมากขึ้น โดยสนับสนุนผู้ให้บริการดังกล่าวให้มีต้นทุนที่เหมาะสม
ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องการฝากทรัพย์สินลูกค้ากับ
DA Custodian ในประเทศ รวมถึงมีแนวทางในการส่งเสริมและยกระดับระบบนิเวศของโทเคนดิจิทัล
ทั้งการออกเสนอขายในตลาดแรกและการซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรอง โดยลดภาระของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการดำรงเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า
(custody risk) กรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน
(investment token) และโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody
risk
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 มีนาคม
2568 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุน
หรือ
“หลักเกณฑ์ NC” ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีสาระสำคัญดังนี้
(1)
การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ NC ของ DA
Custodian โดยปรับลดอัตรา NC cold
wallet สำหรับให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (DA
Custodian) ให้อยู่ที่ 1% (ลดลงจาก 2%) เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการภายในประเทศมากขึ้นและลดภาระต้นทุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ
ปรับเพิ่มสัดส่วนการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าใน cold wallet ให้ไม่น้อยกว่า 95% (จากเดิม
90%) และกำหนดห้ามผู้ประกอบธุรกิจประเภท
DA Custodian มอบหมายระบบงานในการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้าต่อไปยังผู้ให้บริการรายอื่น
(ห้าม sub-custody) รวมทั้งปรับปรุงข้อกำหนดอื่น
ๆ ของหลักเกณฑ์ ให้สอดคล้องกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นที่เก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า*
(2)
การปรับปรุงหลักเกณฑ์อัตราค่าความเสี่ยงสำหรับโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody
risk โดยกำหนดยกเว้นอัตรา
NC custody risk สำหรับโทเคนดิจิทัล**
ที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรักษาไว้ใน hot และ cold
wallet หากเหรียญดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด*** รวมถึงไม่ต้องนำไปฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจประเภท DA Custodian
ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะดำเนินการยกร่างประกาศ เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
และออกประกาศบังคับใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป
หมายเหตุ
:
*
ได้แก่ การใช้ same coin ในการดำรงเงินกองทุน
การปรับปรุงนิยามของกรมธรรม์ และการดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้
**
โทเคนดิจิทัล
ให้หมายความตามนิยาม "โทเคนดิจิทัล" ใน พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ https://www.sec.or.th/TH/Documents/ActandRoyalEnactment/RoyalEnactment/enactment-digitalasset2561.pdf
***
เช่น
ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องจะต้องมีบริการที่สามารถติดต่อประสานงานได้ในประเทศไทย
หรือระบุเงื่อนไขการออกเหรียญใหม่ (re-issue) อย่างชัดเจนในแบบ
filing เป็นต้น