Sign In
ข่าว ก.ล.ต.

ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ DR ในตลาดทุนไทย ช่วยเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุน



วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 | ฉบับที่ 120 / 2564


ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ Depository Receipt (DR) เพิ่มความยืดหยุ่นให้ภาคเอกชนในการออกและเสนอขายได้หลากหลายยิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ DR ในตลาดทุนไทย มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2564

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ตามที่ ก.ล.ต. มีแนวคิดจะปรับปรุงหลักเกณฑ์การออกและเสนอขาย Depository Receipt (DR) เพื่อลดอุปสรรคและเพิ่มความยืดหยุ่นให้ภาคเอกชน รวมทั้งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุน โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเมื่อปลายปี 2563 ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการที่เสนอ ก.ล.ต. จึงออกประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์ DR โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2564 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

(1) เพิ่มรูปแบบการเสนอขาย ให้สามารถเสนอขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (direct listing) เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ออก DR จากเดิมที่มีเฉพาะการเสนอขายโดยให้ผู้ลงทุนจองซื้อตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่กำหนด (IPO) เท่านั้น

(2) เพิ่มประเภทของหลักทรัพย์อ้างอิง (underlying) ให้ครอบคลุมหลักทรัพย์หลากหลายประเภทมากขึ้น เช่น กองทุนรวมต่างประเทศ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 

(3) ปรับปรุงอัตราส่วนของ DR ต่อหลักทรัพย์อ้างอิง ไม่จำเป็นต้องเท่ากับ 1:1 สำหรับ DR ประเภทใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ลงทุนในการเข้าถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีราคาสูง

“การปรับปรุงหลักเกณฑ์ DR เป็นหนึ่งในโครงการ Regulatory Guillotine* ซึ่งมุ่งเน้นการลดอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับภาคเอกชน รวมถึงทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนที่มากขึ้น โดยสามารถเลือกใช้ DR เป็นเครื่องมือในการจัดสรรเงินลงทุนแบบ asset allocation ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ DR ในตลาดทุนไทย โดยที่ผู้ลงทุนยังได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างเหมาะสม” เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าว

_______________________________

หมายเหตุ: 

* Regulatory Guillotine คือ การทบทวนกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน โดยใช้วิธีที่รวดเร็ว โปร่งใส ใช้ต้นทุนต่ำ และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง






ข่าวในหมวดเดียวกัน

ก.ล.ต. ยกระดับ “ESG Product Platform” เพิ่มข้อมูลสำคัญ SRI Fund หนุนการลงทุนอย่างยั่งยืน
ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การออกเสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ กรณีที่มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการต่อการปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ออกและเสนอขาย Net Capital Bond และปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องการแก้ไขวัตถุประสงค์การใช้เงิน
ก.ล.ต. รับ “รางวัลรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐระดับกรม” เป็นปีที่ 4