อฝค. 32/2563
การจัดให้มีมาตรการคุ้มครองพยานในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
สำนักงาน ก.ล.ต. อยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการจัดให้มีมาตรการคุ้มครองพยานในกฎหมายที่อยู่ในกำกับดูแลรวม 4 ฉบับ
แบบสำรวจความคิดเห็น
1.1 หลักการจัดให้มีมาตรการคุ้มครองพยานในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมใน ตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชกำหหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
1.2 นิยามของคำว่า “พยาน” (บุคคลที่ชี้เบาะแส บุคคลซึ่งจะมาให้หรือได้ให้ข้อเท็จจริง ถ้อยคำ หรือเอกสารหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว)
1.3 ลักษณะความผิดที่ให้มีการคุ้มครองพยาน (ความผิดที่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้และความผิดที่สามารถนำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้ บังคับ)
1.4 เหตุสมควรให้มีการคุ้มครองพยาน (เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าพยานอาจไม่ได้รับความปลอดภัย หรือทรัพย์สินอาจได้รับความเสียหายหรือ ถูกทำลาย)
1.5 ผู้ได้รับการคุ้มครอง (พยาน รวมถึงสามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับพยาน ซึ่งอาจไม่ได้รับความปลอดภัยจากการที่พยานมาชี้เบาะแส หรือให้ข้อเท็จจริง ถ้อยคำ หรือเอกสารหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ )
1.6 การให้ความคุ้มครองพยาน (เมื่อสำนักงาน ก.ล.ต. เห็นควรให้ความคุ้มครองพยาน โดยได้รับความยินยอมจากพยานหรือบุคคล ที่ใกล้ชิดกับพยาน หรือเมื่อพยานร้องขอความคุ้มครองพยาน)
1.7 วิธีการให้ความคุ้มครองพยาน ((1) ให้พยานหรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับพยานอยู่ในความคุ้มครองตามควร (2) จัดให้พยาน หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับพยานอยู่ในสถานที่ปลอดภัย (3) จ่ายค่าเลี้ยงชีพที่สมควรให้แก่พยาน หรือบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของพยาน (4) จ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่พยาน หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับพยาน หรือ (5) มาตรการอื่นตามความจำเป็น)
1.8 การมีผลของการให้ความคุ้มครอง (มีผลตั้งแต่วันที่สำนักงาน ก.ล.ต. อนุมัติ)
1.9 การสิ้นสุดความคุ้มครอง ((1) พยานขอยุติการคุ้มครอง หรือพยานไม่ให้ความยินยอมหลังจากได้รับความคุ้มครองแล้ว (2) พยานถึงแก่ความตาย (3) พยานไม่ให้ความร่วมมือในการคุ้มครอง (4) พฤติการณ์เกี่ยวกับ ความปลอดภัยของพยานเปลี่ยนแปลงไป (5) พยานไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ไปให้การต่อพนักงานสอบสวนโดยไม่มีเหตุอันควร (6) พยานได้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวน (7) พยานไม่ปฏิบัติตามประกาศหรือระเบียบสำนักงาน ก.ล.ต. ว่าด้วยการคุ้มครองพยาน หรือ (8) เมื่อสำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าความจำเป็นของสำนักงาน ก.ล.ต. ในการคุ้มครองพยานหมดไป
1.10 ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่าย ((1) ค่าตอบแทนแก่พยานในการมาให้ถ้อยคำ ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือเอกสารหลักฐาน (2) ค่าตอบแทนความเสียหายกรณีเกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน (3) ค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่อยู่ ค่าอาหาร ค่าเดินทางในการมาให้ถ้อยคำ ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (4) ค่าใช้จ่ายแก่เจ้าหน้าที่ที่คุ้มครอง ความปลอดภัย)
1.11 ความรับผิดทางแพ่งและทางอาญา (บุคคลที่ชี้เบาะแส บุคคลซึ่งได้ให้ข้อเท็จจริง ถ้อยคำ หรือเอกสารหลักฐานต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้ทราบการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ พระราชบัญญัติสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า พระราชบัญญัติทรัสต์ และพระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล ถ้าได้กระทํา โดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิด ทั้งทางแพ่งและทางอาญา)
1.12 การกันบุคคลไว้เป็นพยาน (บุคคลใดซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทําความผิด หากได้ให้ถ้อยคํา หรือแจ้งเบาะแส หรือข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญในการที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาความผิดของผู้ถูกกล่าวหา หากสำนักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควรจะกันบุคคลนั้นไว้เป็นพยานก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด และเมื่อกันไว้เป็นพยานแล้ว ห้ามดำเนินคดีอาญา มาตรการลงโทษทางแพ่ง การลงโทษทางปกครอง หรือการดำเนินการทางบริหารกับบุคคลซึ่งถูกกันไว้เป็นพยานนั้น)
1.13 บทกำหนดโทษ (กำหนดโทษแก่ผู้เปิดเผยข้อมูลที่สามารถระบุตัวพยาน ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีการดำเนินการให้เกิดความปลอดภัยแก่พยานดังกล่าว)
1.14 งบประมาณที่ใช้เพื่อการคุ้มครองพยาน (ใช้เงินจากงบประมาณของสำนักงาน ก.ล.ต.)
2. ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติม
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
นายสุเมธ วิเชียรชัย โทรศัพท์ 0-2033-9653 / นางสาวพิชญา อิทธิยาภรณ์ โทรศัพท์ 0-2263-6553 หรือ อีเมล pitchayai@sec.or.th