Sign In
การประเมิน
​​​​​​​​​​​​​​ ระดับบริษัทจดทะเบียน​

 



โครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report for Thai Listed Companies : CGR) ดำเนินการโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors : IOD)  มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวัดผลการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการกำหนดนโยบายและมาตรการในการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งบริษัทจดทะเบียนสามารถนำผลการสำรวจไปพัฒนาการกำกับดูแลกิจการของตนเองได้

เกณฑ์การประเมิน แบ่งออกเป็น 4 หมวด ดังนี้

1. สิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

2. การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียและการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

3. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

4. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

ในส่วนของข้อมูลที่ใช้ในการสำรวจนั้น IOD จะใช้ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยต่อสาธารณะ เช่น แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) ข้อมูลในเว็บไซต์ของบริษัท ข้อมูลในเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. และข้อมูลที่บริษัทเผยแพร่ผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ​


  

โครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทจดทะเบียน (AGM Checklist) ดำเนินการโดย สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (Thai Investors Association: TIA) มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทจดทะเบียนให้ได้มาตรฐาน และเป็นส่วนหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งมีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้ลงทุนรายบุคคล สนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นตระหนักถึงการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ก.ล.ต. จึงได้สนับสนุน TIA ในการดำเนินโครงการดังกล่าว

เกณฑ์การประเมิน  แบ่งออกเป็น 3 หมวด ดังนี้

1. ก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น

2. วันประชุมผู้ถือหุ้น

3. หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมผู้ถือหุ้น

ในการทำการประเมินนั้น TIA จะใช้ข้อมูลที่บริษัทนำส่งต่อผู้ถือหุ้นหรือเปิดเผยต่อสาธารณะ เช่น หนังสือเชิญประชุมและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) ข้อมูลในเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. และข้อมูลที่บริษัทเผยแพร่ผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  รวมทั้งจัดให้มีอาสาพิทักษ์สิทธิผู้ถือหุ้นทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินภาคสนามในวันประชุมผู้ถือหุ้น

  1. ผลการประเมิน  
  2. แบบ AGM Checklist  



 
ก.ล.ต. ได้ดำเนินมาตรการอย่างต่อเนื่องในการสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียน และผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นตัวกลางในการให้บริการในตลาดทุน (ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า) มีนโยบายและให้ความสำคัญกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชันอย่างจริงจัง โดยส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนและผู้ประกอบธุรกิจเข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Thailands Private Sector Collective Action Coalition Against CorruptionCAC”) ซึ่งดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors)  
 

​การแสดงข้อมูลการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชัน

​​

แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Thailand's Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: CAC

 
โครงการที่ได้รับการสนับสนุนการจัดทำโดยรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยโครงการนี้เริ่มดำเนินการโดยความร่วมมือของ 8 องค์กรชั้นนำ อันได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หอการค้าไทย หอการค้านานาชาติ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการต่อต้านการทุจริตในวงกว้าง นอกจากนี้ คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติฯ ยังได้แต่งตั้งให้สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ทำหน้าที่เป็นเลขานุการและองค์กรสนับสนุนดำเนินโครงการ
 
กระบวนการเข้าร่วมโครงการ

SET ESG Ratings

SET ESG Ratings เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินบริษัทจดทะเบียนที่สมัครใจเข้าร่วมตอบแบบประเมินความยั่งยืนที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเริ่มใช้ประเมินเป็นครั้งแรกในปี 2566 ครอบคลุมคำถามในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) โดยแบบสอบถามประกอบด้วยตัวชี้วัด (indicators) ทั่วไปสำหรับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม และตัวชี้วัดเฉพาะอุตสาหกรรมซึ่งสะท้อนถึงบริบทและประเด็นสำคัญของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม (8 กลุ่มอุตสาหกรรมจำแนกตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด)

บริษัทจดทะเบียนที่มีผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ต้องมีผลคะแนนจากการตอบแบบประเมินความยั่งยืนอย่างน้อย 50% ในแต่ละมิติ และต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มีผลการประเมิน CGR 3 ดาวขึ้นไป และการเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C เป็นต้น

การประกาศผลแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ AAA, AA, A และ BBB ตามลำดับ (จากคะแนนสูงไปต่ำ) ซึ่งสามารถติดตามการประกาศผลได้ที่เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนดำเนินการยกระดับการประเมินความยั่งยืน SET ESG Ratings สู่มาตรฐานสากล โดยร่วมกับ FTSE Russell ในการประเมินข้อมูล ESG ของบริษัทจดทะเบียน โดยจะเริ่มประเมินและประกาศผลประเมิน FTSE Russell ESG Scores สู่สาธารณะตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป และจะยกเลิกการประเมิน SET ESG Ratings ในปีเดียวกัน

ผลประเมิน


FTSE Russell ESG Rating คือ การประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) โดย FTSE Russell ซึ่งเป็นผู้ประเมินชั้นนำระดับโลกและเป็นบริษัทใน London Stock Exchange Group โดยการประเมินพิจารณาจากข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยสู่สาธารณะ ซึ่ง FTSE ใช้ Methodology เดียวกันนี้ในการประเมินบริษัทจดทะเบียนกว่า 8,000 แห่งใน 47 ประเทศทั่วโลก

โครงสร้างของการประเมินโดย FTSE Russell ประกอบไปด้วย 3 ระดับ ดังนี้

  • ​3 มิติ (Pillars): มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาล (ESG)
  • 14 ธีม (Themes): เช่น Climate change, Labor standards, Anti-corruption เป็นต้น
  • 300+ ตัวชี้วั (Indicators): ตัวชี้วัดการประเมินของทั้ง 14 ธีม ครอบคลุมทั้งนโยบาย กลยุทธ์ กระบวนการ การตั้งเป้าหมาย และการติดตามผลการดำเนินงาน

อย่างไรก็ดี โดยเฉลี่ยแล้ว บริษัทจดทะเบียนแต่ละ​บริษัทจะได้รับการประเมินอยู่ที่ประมาณ 125 ตัวชี้วัด ขึ้นอยู่กับประเด็นที่มีนัยสำคัญของแต่ละหมวดธุรกิจย่อยและประเทศที่ตั้งของบริษัท

FTSE Russell ESG Scores คือ ผลคะแนนจากการประเมิน ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของคะแนน (ตัวเลข) ตั้งแต่ 0.0-5.0 โดยคะแนน 0.0 หมายถึงไม่มีข้อมูลให้ประเมิน และคะแนน 5.0 หมายถึงเป็น Best practices

การคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนเข้าร่วมใน FTSE Russell’s ESG Ratings มีเกณฑ์ดังต่อไปนี้:

  • ​บริษัทที่อยู่ในหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ในปีที่ผ่านมา: สำหรับในปี 2567 การประเมินโดย FTSE Russell จะครอบคลุมบริษัทใน SET ESG Ratings ในปีที่ผ่านมา ส่วนปีถัด ๆ ไป จะประเมินบริษัทที่เคยอยู่ในหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings มาก่อน (ปีใดปีหนึ่ง)
  • บริษัทที่อยู่ใน SET100 Index: ทุกบริษัทที่อยู่ใน SET100 Index ไม่ว่าจะอยู่ในหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings หรือไม่ จะได้รับการประเมินด้วย (พิจารณาจากการคำนวณดัชนี 3 รอบล่าสุด)
  • การเข้าร่วมประเมินแบบสมัครใจ: บริษัทที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์การคัดเลือกข้างต้น แต่สนใจจะเข้าร่วมการประเมินโดย FTSE Russell สามารถสมัครเข้าร่วมการประเมินได้ โดยจะเริ่มให้สมัครสำหรับการประเมินตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป

FTSE Russell ใช้ข้อมูลที่บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยสู่สาธารณะ เช่น รายงานประจำปี รายงานความยั่งยืน และข้อมูลบนเว็บไซต์ของบริษัท เป็นต้น การประเมินโดย FTSE Russell จะไม่มีการส่งแบบประเมินให้บริษัทตอบ ซึ่งการใช้ข้อมูลที่เปิดเผยสู่สาธารณะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือของการประเมิน ESG

ทั้งนี้ ในปี 2567-2568 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะดำเนินโครงการประเมินนำร่องโดย FTSE Russell และจะยังมีการประเมิน SET ESG Ratings โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ทุกฝ่ายมีเวลาในการปรับตัวและเตรียมความพร้อม ในช่วงดำเนินโครงการนำร่อง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่ประกาศผลประเมิน FTSE Russell ESG Scores สู่สาธารณะ แต่บริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการประเมินจะได้รับทราบผลคะแนนผ่าน Online portal ของ FTSE Russell และตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเริ่มประกาศผลประเมิน FTSE Russell ESG Scores สู่สาธารณะ และจะยกเลิกการประเมิน SET ESG Ratings

ดูข้อมูลเพิ่มเติม


 
 

โครงการที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุน ดังนี้

1. รางวัล SET Awards กลุ่มรางวัล Business Excellence 

มอบให้แก่บริษัทจดทะเบียน ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ที่มีความยอดเยี่ยมและโดดเด่นในด้านต่าง ๆ  ประกอบด้วย 8 ประเภทรางวัล ได้แก่

  1. Best CEO Awards and Young Rising Star CEO Awards

  2. Best Company Performance Awards

  3. Best REIT Performance Awards

  4. Best Investor Relations Awards

  5. Best Innovation Company Awards

  6. Deal of the Year Awards

  7. Best Securities Company Awards

  8. Best Asset Management Company Awards

2. รางวัล SET Awards กลุ่มรางวัล Sustainability Excellence 

มอบให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดดเด่น โดยมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บริษัทจดทะเบียนและองค์กรอื่น ๆ  ประกอบด้วย 2 ประเภทรางวัล ได้แก่

  1. Sustainability Awards

  2. Supply Chain Management Awards

นอกจากนี้ ทั้งกลุ่มรางวัล Business Excellence และ Sustainability Excellence ยังมีรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ หรือ SET Awards of Honor สำหรับบริษัทหรือบุคคลที่สามารถรักษาความยอดเยี่ยมได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม: www.set.or.th/setawards


 
 
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ยกระดับรางวัลด้านคุณภาพของบริษัทจดทะเบียนให้สามารถสะท้อนการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยรวมรางวัลด้านการรายงานบรรษัทภิบาล (Top Corporate Governance Report Awards) และรางวัลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Best Corporate Social Responsibility Awards) เข้าด้วยกันเป็นรางวัลด้านความยั่งยืนประเภทใหม่คือ "รางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านความยั่งยืนยอดเยี่ยม" (Sustainability Awards) เพื่อประกาศเกียรติคุณบริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่น และเป็นกำลังใจให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของบริษัทจดทะเบียนที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน  นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดให้มีรางวัลด้านความยั่งยืนอีกหนึ่งประเภทคือ รางวัลการลงทุนในกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise Investment Awards) โดยมอบรางวัลให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่ให้การสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมอย่างโดดเด่นด้วย
 
ขั้นตอนการพิจารณา
 
ขั้นตอนการพิจารณา
 

 

 
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ได้เริ่มโครงการประกาศเกียรติคุณคณะกรรมการแห่งปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องและส่งเสริมคณะกรรมการบริษัทที่มีคุณภาพและประสิทธิผล จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทที่ IOD จะพิจารณาประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ (mai)
 
หลักเกณฑ์การคัดเลือก
             1. คณะอนุกรรมการคัดเลือก (Selection sub-committee) ดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการบริษัทที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น โดยพิจารณาจากรายชื่อบริษัทที่อยู่ในกลุ่มบริษัทที่ได้รับตราสัญลักษณ์คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติตั้งแต่ 4 สัญลักษณ์ขึ้นไป ตามรายงาน CGR 2014 โดยพิจารณาจากผลการประเมินภาพรวมประกอบกับได้รับผลการประเมินในหัวข้อ board responsibilities ตั้งแต่ 70% ขึ้นไป
            2. IOD ติดต่อเพื่อทำการสัมภาษณ์คณะกรรมการของบริษัทที่ผ่านเกณฑ์ตามข้อ 1 เพื่อประเมินผลภาคปฏิบัติของคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย 5 หัวข้อ คือ
                       2.1 นโยบายของคณะกรรมการ (board policy)
                       2.2 คุณสมบัติของกรรมการ (board members)
                       2.3 โครงสร้างของคณะกรรมการ (board structure)
                       2.4 การประชุมคณะกรรมการและการสื่อสาร (board process)
                       2.5 การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ (board performance)
            3. นำเสนอผลการคัดเลือกให้คณะกรรมการโครงการพิจารณาตัดสิน