Detail Content
กลุ่มที่ 1 การเปิดเผยข้อมูลที่อาจทำให้ผู้ลงทุนและตลาดทุนเสียหาย
1.1 การบอกกล่าว เผยแพร่ หรือให้คำรับรองข้อความเท็จหรือที่ทำให้สำคัญผิด (มาตรา 240)
1.2 การวิเคราะห์/คาดการณ์ที่ใช้ข้อมูลเท็จหรือบิดเบือนข้อมูล (มาตรา 241)
กลุ่มที่ 2 การเอาเปรียบผู้ลงทุนโดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ล่วงรู้มา
2.1 การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน (มาตรา 242)
ผู้กระทำความผิด | บุคคลซึ่งรู้หรือครอบครองข้อมูลภายใน |
ลักษณะการกระทำ | ซื้อขาย/เปิดเผย รวมถึงกรณีผู้รับข้อมูล (tippee) ซื้อขาย/เปิดเผย |
ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่ยังมิได้มีการเปิดเผยต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหรือมูลค่าของหลักทรัพย์
บทสันนิษฐานบุคคลซึ่ง “รู้หรือครอบครองข้อมูลภายใน" | การกระทำ |
Insider (มาตรา 243) กรรมการ ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจควบคุมกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ พนักงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่รับผิดชอบ/สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในได้ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายใน เช่น ที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมายและผู้สอบบัญชี รวมทั้งผู้ร่วมงานที่มีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ กรรมการ อนุกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ที่ปรึกษา ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานรัฐ ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ในตำแหน่ง ฐานะ ที่สามารถรู้ข้อมูลภายในจากการปฏิบัติหน้าที่ นิติบุคคล ซึ่งบุคคลตาม (1)-(4) มีอำนาจควบคุมกิจการ
| ซื้อขาย/เปิดเผยในช่วงที่มีข้อมูลภายใน |
ผู้ใกล้ชิดที่มีพฤติกรรมการซื้อขายที่ผิดปกติ (มาตรา 244) ผู้ถือหุ้นเกิน 5% โดยนับรวมของคู่สมรส/ผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา/บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ พนักงานหรือลูกจ้างของกิจการในกลุ่มบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งหรือสายงานที่รับผิดชอบข้อมูลภายใน หรือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในได้ (บ.ใหญ่ บ.ย่อย บ.ร่วม) บุพการี/ผู้สืบสันดาน/ผู้รับบุตรบุญธรรม/บุตรบุญธรรม/พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน/ร่วมบิดาหรือ ร่วมมารดาเดียวกันของ Insider คู่สมรส/ผู้ที่อยู่กินฉันสามีภริยาของ (3)
| ซื้อขายผิดปกติ/เปิดเผย ในช่วงที่มีข้อมูลภายใน
|
2.2 การซื้อขายหลักทรัพย์ตัดหน้าลูกค้าโดยใช้ข้อมูลคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า (มาตรา 244/1 และมาตรา 244/2)
กลุ่มที่ 3 การสร้างราคาหลักทรัพย์
3.1 การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อขาย (มาตรา 244/3(1))
3.2 การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทำให้ราคาหรือปริมาณการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาด (มาตรา 244/3(2))
ลักษณะการกระทำ ที่ถือเป็นการสร้างราคาหลักทรัพย์ (มาตรา 244/5) | ลักษณะการกระทำ ที่ไม่ถือเป็นการสร้างราคาหลักทรัพย์ (มาตรา 244/4) |
การซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งผู้รับประโยชน์เป็นบุคคลเดียวกัน การส่งคำสั่งซื้อหลักทรัพย์โดยรู้ว่าตน/ผู้ร่วมกระทำได้สั่งขายหลักทรัพย์เดียวกัน การส่งคำสั่งขายหลักทรัพย์โดยรู้ว่าตน/ผู้ร่วมกระทำได้สั่งซื้อหลักทรัพย์เดียวกัน การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อสร้างราคาเปิด/ราคาปิด การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อขัดขวางการซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่น
| การซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อรักษาระดับราคาตามข้อตกลงในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ตามประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน การซื้อหุ้นคืน/จำหน่ายหุ้นซื้อคืน ตามประกาศของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ การซื้อขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
|
ลักษณะการกระทำที่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างราคาหลักทรัพย์ (มาตรา 244/6) |
1. การเปิดบัญชีธนาคารร่วมกันเพื่อชำระเงินหรือรับชำระเงินที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์ 2. การยอมให้คนอื่นประโยชน์จากบัญชีธนาคารของตนเพื่อการชำระเงินหรือรับชำระเงินที่เกี่ยวกับ หรือเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์ 3. การยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตน 4. การชำระเงินหรือรับชำระเงินค่าซื้อขายหลักทรัพย์แทนกัน 5. การนำเงินหรือทรัพย์สินอื่นมาวางเป็นประกันในการซื้อขายหลักทรัพย์แทนกัน 6. การยอมให้บุคคลอื่นรับประโยชน์หรือรับผิดชอบในการชำระเงินที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขาย หลักทรัพย์ของตน หรือ 7. การโอนหรือรับโอนหลักทรัพย์ระหว่างกัน
|
กลุ่มที่ 4 กรณีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.1 การส่งคำสั่งซื้อขายเข้าไปในระบบซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ จนเป็นเหตุให้ระบบล่าช้า/หยุดชะงัก (มาตรา 244/7)
4.2 การใช้บัญชีหลักทรัพย์ของผู้อื่น/ยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีหลักทรัพย์ของตนเองในการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (มาตรา 297)