กฎกระทรวง
ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2538)
ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ.
2535
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา
90 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ.2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
1 เมื่อรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ประกาศกำหนดประเภทของนิติบุคคล ที่มีสิทธิยื่นขอรับความเห็นชอบ
ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประเภทการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 2และระยะเวลาที่ให้สิทธินิติบุคคลประเภทดังกล่าวยื่นคำขอแล้วให้นิติบุคคลประเภทดังกล่าวที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมดำเนินการตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไขและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
ข้อ
2 ประเภทของนิติบุคคลที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามข้อ 1 ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
หรือบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
(2) มีฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานดีตามสภาพและประเภทธุรกิจโดย
พิจารณาจาก
(ก)
ความเพียงพอของเงินทุนหรือขนาดของสินทรัพย์ตามจำนวนที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.
ประกาศกำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าจำนวน ดังนี้
1. ธนาคารพาณิชย์ต้องมีเงินกองทุนสุทธิไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันล้านบาทและสินทรัพย์รวมสุทธิ
ไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท
2. บริษัทเงินทุน
หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ต้องมีเงินกองทุนสุทธิไม่ต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาทและสินทรัพย์รวมสุทธิไม่ต่ำกว่าห้าพันล้านบาท
3. บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทและสินทรัพย์รวม
ไม่ต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาท
4. บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย
หรือบริษัทที่ประกอบทั้งธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันวินาศภัยต้องมีเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบล้านบาทหนึ่งร้อยล้านบาท
หรือสองร้อยห้าสิบล้านบาท ตามลำดับ
5. นิติบุคคลอื่นซึ่งรัฐมนตรีประกาศตามข้อ 1 นอกจาก 1.
ถึง 4. ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น
ไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
(ข)
มีกำไรสุทธิติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีย้อนหลังก่อนปีที่ยื่นคำขอความเห็นชอบในการ
จัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามข้อ 1
(3) มีสถานะ
ผู้ถือหุ้น และกรรมการ ดังนี้
(ก) นิติบุคคลตาม
(2)(ก) 1.ถึง 4. ต้องจัดตั้งและจดทะเบียนในประเทศไทย
และมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่ไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดและต้องมีกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
(ข) นิติบุคคลตาม (2)(ก)
5. ต้องจัดตั้งและจดทะเบียนในประเทศไทยและมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดและต้องมีกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
(4) มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีการจัดการที่รอบคอบและเชื่อถือได้มีระบบบัญชีตามมาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
และมีระบบการควบคุมภายในที่ดี
(5) มีผู้บริหารที่มีความสามารถและมีความซื่อสัตย์สุจริต
โดยพิจารณาจากประวัติการทำงาน
(6) ไม่เคยกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบในระยะเวลาสามปีย้อนหลังก่อนปีที่ยื่นคำขอ
ข้อ
3 บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประเภทการจัดการกองทุนรวมต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
(2) มีผู้ถือหุ้น
ดังนี้
(ก)
นิติบุคคลผู้ยื่นคำขอ
ซึ่งต้องถือหุ้นมีจำนวนเท่ากับร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่
(ข)
สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
หรือนิติบุคคลในต่างประเทศที่มีความชำนาญในธุรกิจการจัดการกองทุนรวม
หรือธุรกิจในทำนองเดียวกับธุรกิจการจัดการกองทุนรวมซึ่งต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับที่กำหนด
ตามข้อ 2(2) ถึง (6)และต้องถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีจำนวนไม่เกินกว่าอัตราที่
คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนดทั้งนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต.
จะกำหนดอัตราการถือหุ้นตามประเภทของกิจการหลักของนิติบุคคลผู้ถือหุ้นหรือกำหนดสำหรับนิติบุคคลผู้ถือหุ้นแต่ละรายก็ได้
ในกรณีนิติบุคคลในต่างประเทศที่มีความชำนาญในธุรกิจการจัดการกองทุนรวมหรือ
ธุรกิจในทำนองเดียวกับธุรกิจการจัดการกองทุนรวม
ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
โดยอาจพิจารณาความชำนาญในธุรกิจหรือส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทในเครือของนิติบุคคลในต่างประเทศ
ประกอบด้วยก็ได้ และในกรณีนี้บริษัทในเครือ
หมายความว่านิติบุคคลที่ถือหุ้นโดยตรงในนิติบุคคลใน
ต่างประเทศหรือนิติบุคคลที่นิติบุคคลในต่างประเทศถือหุ้นโดยตรง
เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้า
ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
หรือเพื่อประโยชน์ในการดำรงสถานะความเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
แล้วแต่กรณี
บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่อาจมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งถือหุ้นมีจำนวนเท่าที่จำเป็นตามที่
คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดเพื่อประโยชน์ดังกล่าวก็ได้
(3) มีวัตถุประสงค์จำกัดเฉพาะการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุน
รวมและกิจการอื่นที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
ก.ล.ต.
(4) ในกรณีมีผู้ถือหุ้นเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศที่มีความชำนาญในธุรกิจการจัดการกองทุนรวม
หรือ ธุรกิจในทำนองเดียวกับธุรกิจการจัดการกองทุนรวม
หากผู้ถือหุ้นดังกล่าวตกลงจะเป็น ผู้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ
หรือจะเป็นผู้ให้บริการหรือสนับสนุนในการประกอบธุรกิจให้แก่บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่
ห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นดังกล่าวเรียกเก็บค่าตอบแทนไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อมจากบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่
นอกเหนือจากที่กำหนดไว้โดยชัดแจ้งในสัญญา และค่าตอบแทน
ดังกล่าวต้องเหมาะสมกับบริการหรือประโยชน์ที่จะได้รับ
และมิใช่เป็นการเรียกเก็บจากกองทุนรวมหรือเป็นการเรียกเก็บโดยผันแปรตามมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือรายได้จากการประกอบธุรกิจ
ของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่และสัญญาหรือความตกลงดังกล่าวจะต้องแสดงขอบเขตความผูกพันที่ชัดเจน
ระหว่างคู่สัญญา อายุสัญญา ความตกลง
บริการหรือประโยชน์ที่จะได้รับตลอดจนเงื่อนไขใด ๆ (ถ้ามี)
ในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์
หรือการให้บริการหรือสนับสนุนในการประกอบธุรกิจด้วย
ข้อ
4 ในการขอรับความเห็นชอบเพื่อจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อ
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ให้นิติบุคคลตามข้อ 1 ยื่นคำขอตามแบบพร้อม
เอกสารหลักฐานในระยะเวลาที่คณะกรรมการก.ล.ต.
ประกาศกำหนดโดยยื่นผ่านสำนักงานคณะกรรมการ
กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คำขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง
อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) วัน เดือน
ปีที่ยื่นคำขอ
(2) ขื่อและคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ
(3) ชื่อและคุณสมบัติของบุคคลที่จะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
(4) โครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
(5) โครงการและแผน
งานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม การบริหารโครงการ
และการดำเนินงานของบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
(6) ชื่อ
ประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทำงานของผู้ที่จะเป็นกรรมการ
และผู้จัดการของบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
ข้อ
5 เมื่อคณะกรรมการ
ก.ล.ต. ได้รับคำขอรับความเห็นชอบพร้อมเอกสาร หลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามที่ประกาศกำหนดและพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอและนิติบุคคลที่จะเป็น
ผู้ร่วมถือหุ้นในบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด
ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.
เสนอแนะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับคำขอ
และเอกสารหลักฐานครบถ้วน
และให้รัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่า
คำขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้ง
บริษัทขึ้นใหม่ตามคำขอใดมีผู้ยื่นคำขอหรือผู้ที่จะเป็นผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์ในลักษณะเป็นกลุ่มเดียวกันกับ
ผู้ยื่นคำขอหรือผู้ที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ตามคำขออื่น
หรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะ
เป็นกลุ่มเดียวกันกับผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
หลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด (มหาชน)
หรือกับผู้ถือหุ้นรายหนึ่งรายใดของบริษัทหลักทรัพย์อื่นที่ได้รับ
ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมอยู่ก่อน แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้
ไม่ว่าการมีความสัมพันธ์ในลักษณะเป็นกลุ่มเดียวกันดังกล่าวจะมีอยู่ในวันที่ยื่นคำขอรับความเห็นชอบ
หรือ มีอยู่ในระยะเวลาใด ๆภายในหนึ่งปีก่อนวันที่ยื่นคำขอรับความเห็นชอบ
ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.
มีอำนาจไม่พิจารณาคำขอรับความเห็นชอบนั้นได้การมีความสัมพันธ์ในลักษณะเป็นกลุ่มเดียวกันตามวรรคสอง
ให้พิจารณาโดยคำนึงถึง เรื่องของการมีอิทธิพลต่อการดำเนินงาน
หรือการขาดความเป็นอิสระในการดำเนินงานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณกรรมการ
ก.ล.ต.ประกาศกำหนด
ข้อ
6 เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามข้อ 5 แล้ว
ให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการจัดตั้ง บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดขึ้นใหม่ โดยมีลักษณะตามที่ได้รับความเห็นชอบ
และให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประเภทการจัดการกองทุนรวมตามแบบ พร้อมเอกสารหลักฐานในระยะเวลาที่คณะกรรมการ
ก.ล.ต.ประกาศกำหนด โดยยื่นผ่านสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
คำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
อย่างน้อยต้องมีรายการเกี่ยวกับบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้
(1) วัน เดือน
ปีที่ยื่นคำขอ
(2) ชื่อบริษัท
(3) ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว
(4) วัตถุประสงค์
(5) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่
(6) รายชื่อผู้ถือหุ้น
(7) ชื่อ ลายมือชื่อ
ประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทำงานของผู้ที่เป็น กรรมการ
และผู้จัดการ
กรณีบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีผู้ถือหุ้นเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศที่ตกลงจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์หรือให้บริการหรือสนับสนุนในการประกอบธุรกิจให้แก่บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่
โดยมีการคิดค่าตอบแทน
ให้แสดงสัญญาหรือความตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นรายดังกล่าวกับบริษัทที่จัดตั้ง
ขึ้นใหม่ด้วย
ข้อ
7 เมื่อคณะกรรมการ
ก.ล.ต. ได้รับคำขอรับใบอนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐาน ถูกต้องครบถ้วนตามที่ประกาศกำหนด
และพิจารณาเห็นว่าบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามที่กำหนด
ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.เสนอแนะรัฐมนตรีเพื่อออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน
และให้รัฐมนตรีพิจารณาออกใบ
อนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ
ก.ล.ต.
ข้อ
8 ให้นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ดำรงโครงสร้างผู้ถือหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้นในนิติบุคคลดังกล่าวตามที่ได้รับความเห็นชอบ
จากรัฐมนตรี และมีผู้ถือหุ้นที่ดำรงคุณสมบัติเช่นเดียวกับที่กำหนดตามข้อ
2(3) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า
ห้าปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควร
รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
อาจพิจารณาผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติเป็นประการอื่นได้
ข้อ
9 ให้กำหนดค่าธรรมเนียมตามอัตรา ดังนี้
(1) การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
คำขอละ 10,000 บาท
(2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ปีละ1,000,000 บาท
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงนี้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งล่วงหน้าเป็นรายปีปฏิทินโดยชำระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้นเว้นแต่ในปีแรกให้ชำระค่าธรรมเนียมในวันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
โดยให้คิดค่าธรรมเนียมนับตั้งแต่วันที่ได้มีการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จนสิ้นปีปฏิทินที่ได้มีการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์นั้นในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงนี้ไม่ชำระค่าธรรมเนียมหรือชำระค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วน
ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.
2538
(นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เพื่อเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งบริษัทประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมได้เพิ่มขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับ
สภาพเศรษฐกิจและโดยที่มาตรา 90 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.
2535 กำหนดให้การขอรับใบอนุญาตการขอความเห็นชอบการออกใบอนุญาตและการให้ความเห็นชอบ
ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์