Sign In
กฎเกณฑ์

​​​กองทุน​ส่วนบุคคลหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


 

2. การจัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ห้ามบริษัทหลักทรัพย์ (1) ลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้มอบหมายนอกจากที่ตกลงกันไว้ในสัญญามอบหมาย (2) รับค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่นจากผู้มอบหมายนอกจากที่กำหนดไว้ในสัญญามอบหมาย (3) ซื้อหรือขายทรัพย์สินในนามของตนเองให้แก่ผู้มอบหมายโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า (4) ให้คำรับรองแก่ผู้มอบหมายว่าจะมีกำไรหรือผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอน (5) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สำนักงานประกาศกำหนด (ม.139)​


2.1 การเปิดเผยข้อมูล หลังลงนามในสัญญากองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ บลจ. เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้

 

(1) การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน

 

(2) ชื่อผู้รับฝากทรัพย์สิน


(3) การลงทุนและผลการดำเนินงานของกองทุน


(4) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนที่ได้เปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ


(5) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน และความขัดแย้งทางผลประโยชน์

 

(6) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนอื่นใด เพื่อคุ้มครองประโยชน์ลูกค้า

 

ทั้งนี้ ไม่ใช้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม


2.2 กรณีสัญญากองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสิ้นสุดลง

(1กรณีกองทุนส่วนบุคคล ให้ส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลให้ลูกค้าหรือคัสโตเดียน ภายในระยะเวลาที่บริษัทและลูกค้าตกลงกัน

(2กรณีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินโดยเร็วที่สุด


2.3 ค่าธรรมเนียมการจัดการ ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับกองทุนรวมทั่วไป

 

(1เป็นจำนวนคงที่ หรือร้อยละของ NAV หรือมูลค่าทรัพย์สินหรืออัตราคงที่ต่อหน่วย

(2อิงกับผลการดำเนินงาน (performance-based)

 

2.4 การมอบหมายให้ใช้สิทธิออกเสียง (proxy voting)

กองทุน

​การมอบหม​าย

 

มอบ

ไม่ได้มอบ

ส่วนบุคคล

บลจ. ใช้สิทธิออกเสียงให้ บลจ. ปฏิบัติดังนี้

1) ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุน

2) เปิดเผยแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงและการดำเนินการใช้สิทธิ และรายงานการใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบ

บลจ. ใช้สิทธิออกเสียง บลจ. จะเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบได้

สำรองเลี้ยงชีพ

บลจ. ใช้สิทธิออกเสียง ให้ บลจ. ปฏิบัติเหมือนกรณีกองทุนส่วนบุคคลและแจ้งลูกค้าในรายงานรายปี

บลจ. ใช้สิทธิออกเสียง บลจ. ต้องเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้คณะกรรมการกองทุนทราบ หรือ ขอรับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อใช้สิทธิออกเสียงแทน

 

2.5 การจัดทำและส่งรายงานต่อ ก.ล.ต.

การจัดทำและส่งรายงาน

กองทุนส่วนบุคคล

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สถานะและการลงทุนรายเดือน

ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป

ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป

รายละเอียดหลักทรัพย์และทรัพย์สินรายเดือน

-

ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป

รายได้ ค่าใช้จ่าย และการเปลี่ยนแปลงส่วนของสมาชิกและนายจ้างรายเดือน

-

ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป

รายละเอียดของแต่ละกองทุนรายไตรมาส

-

ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดจากเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส

งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี

-​

ภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีและแสดงไว้ที่ทำการของกองทุน

 


กรณีที่ปรากฎหลักฐานต่อสำนักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดมีฐานะหรือมีการดำเนินงานที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ให้สำนักงานมีอำนาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด (ม.142)

 

กรณีที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนเห็นว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดมีฐานะหรือมีการดำเนินงานที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์ของประชาชน ให้คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีอำนาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์แก้ไข หรือดำเนินการอื่นใดภายในเวลาที่กำหนด (ม.143)

 

กรณีที่ปรากฎหลักฐานต่อสำนักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดมีฐานะหรือมีการดำเนินงานที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของสำนักงานตาม ม.141 หรือ ม.142 ให้บริษัทหลักทรัพย์ถอดถอนบุคคลดังกล่าว (ม.144)

 

 

คำอธิบายนี้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเข้าใจสาระสำคัญของกฎหมายเท่านั้น ส่วนการจะปฏิบัติตามกฎหมายให้เป็นไปอย่างถูกต้องนั้น ประชาชนจะต้องศึกษา ทำความเข้าใจ ตรวจสอบ และยึดถือตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ​


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายนโยบายผู้ประกอบธุรกิจ​

- 0-22633-6574 (หลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคล)

- 0-2033-9572 (หลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)​