5 ขั้นมั่นใจลงทุน
ปัจจุบันไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังมีเงินไม่พอใช้ยามเกษียณ โดยกว่าครึ่งของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรับเงินออกตอนเกษียณน้อยกว่า 1 ล้านบาท สำหรับคนไทยส่วนหนึ่งที่ต้องการใช้บริการวางแผนทางการเงิน เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มีเงินเพียงพอตามเป้าหมายก็ไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ เนื่องจากปัจจุบันบริการดังกล่าวยังคงรองรับเฉพาะผู้ลงทุนที่มีฐานะการเงินสูง (High Net Worth) นอกจากนี้ ผู้ขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินส่วนหนึ่งยังคงเน้นการเสนอขายผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มยอดขายและได้รับส่วนแบ่งจากค่านายหน้า โดยยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการให้คำแนะนำและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมายการลงทุนระยะยาวของผู้ลงทุนมากนัก ส่งผลให้ผู้ลงทุนอาจมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินจำนวนมาก แต่มิได้ช่วยตอบโจทย์ความมั่งคงทางการเงินในระยะยาว
ก.ล.ต. จึงเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ผลักดันให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงินจนนำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริงและสนับสนุนผู้ให้บริการด้านวางแผนการเงินซึ่งประชาชนเข้าถึงได้ รวมถึงส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) เพื่อตอบโจทย์และเป็นเครื่องมือช่วยวางแผนทางการเงิน ภายใต้โครงการ “5 ขั้นมั่นใจลงทุน"
รายชื่อผู้ให้บริการออกแบบการลงทุน
สรุปหลักเกณฑ์
คุณสมบัติ
1. เป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
2. มีความพร้อมในการให้บริการ เช่น มีเงินทุนและบุคลากรที่สามารถรองรับการให้บริการได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย
3. มีกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าโดยครบถ้วน 5 ขั้นตอน ได้แก่
1) การสำรวจและทำความเข้าใจลูกค้า
2) การกำหนดโครงสร้างการลงทุน
3) การลงทุนตามแผนจัดสรรการลงทุน
4) การติดตามและปรับปรุงการลงทุน
5) การรายงานภาพรวมการลงทุนของลูกค้า
4. มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ (platform) เพื่อรองรับการให้บริการ โดยต้องจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อมีส่วนร่วมในการกำหนดกระบวนการและปัจจัยในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ของ platform ดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักวิชา และมีมาตรการจัดการความขัดแย้งผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
5. มีการแบ่งแยกหน่วยงานที่ให้บริการซื้อขาย กับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำหนดปัจจัยในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน
6. จัดให้มีโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากรที่ให้บริการออกแบบการลงทุนโดยต้องไม่ผูกกับยอดขายของผลิตภัณฑ์แต่เพียงอย่างเดียว
- ขั้นตอนการขอรับความเห็นชอบ
หมายเหตุ
1. ขอและยื่นแบบคำขอ pre approve ได้ที่ tanyanan@sec.or.th
หรือ pornpong@sec.or.th
2. ก.ล.ต. ทำการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อเข้าตรวจระบบงาน
3. ยื่นเอกสารตัวจริง
3.1 Download แบบคำขอรับความเห็นชอบให้บริการออกแบบการลงทุนจากเว็บไซต์ กรอกข้อมูลตามที่ สำนักงานแจ้งแก้ไขหลังการตรวจความพร้อมของระบบงาน และยื่นเอกสารตัวจริงของคำขอความเห็นชอบ + เอกสารแนบมายัง ก.ล.ต.
3.2 Download และดูตัวอย่างการกรอกแบบ EF-3 หนังสือแสดงความตกลงในการนำส่งข้อมูลและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการได้ที่ www.sec.or.th/ca และโทรสอบถามได้ที่ 0-2263-6253 ทั้งนี้ สามารถยื่นเอกสารตัวจริงของ EF3 มายัง ก.ล.ต. ก่อนการยื่นคำขอรับความเห็นชอบตัวจริงได้
4. ส่งข้อมูลการให้บริการออกแบบการลงทุน (เฉพาะข้อ 4.1) ให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ ก.ล.ต. ใช้ข้อมูลประชาสัมพันธ์บริการของท่านผ่านเว็บไซต์ ก.ล.ต. และผ่านสื่อต่าง ๆ (เข้าสู่ระบบตามวิธีที่ ก.ล.ต. แจ้งผ่าน email หลังจากยื่นผ่าน EF3 แล้ว) หลังจากนั้น ท่านจะต้องดำเนินการส่งแบบรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
4.1 รายงานข้อมูลการให้บริการออกแบบการลงทุน (รายปี)
- หลังจากรายงานครั้งแรกเมื่อยื่นขอความเห็นชอบให้บริการ ให้ update ข้อมูลต่อเนื่องทุกปี (ภายใน 30 วันนับแต่สิ้นปี)
4.2 รายงานการลงทุน (รายไตรมาส)
- รายงานครั้งแรกภายใน 30 วันนับแต่สิ้นไตรมาส 4/2561 และส่งต่อเนื่องทุกไตรมาส (ภายใน 30 วันนับแต่สิ้นไตรมาส)
กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง