Sign In
​​​​​​กระบวน​ก​ารออกกฎเกณฑ์​

​​วัตถุประสงค์​

พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ให้อำนาจ ก.ล.ต.  คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และสำนักงาน ออกประกาศ กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติของบริษัทและธุรกิจในตลาดทุนได้ เพื่อให้สามารถกำหนดการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนได้เหมาะกับสภาพการณ์

การมีการกำกับดูแลตลาดทุนที่ดี จำเป็นต่อการรักษาความเป็นธรรม ความโปร่งใส ในการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนสามารถลงทุน ระดมทุน ประกอบธุรกิจ ทำธุรกรรมในตลาดทุนได้ด้วยความมั่นใจ ซึ่งการมีกฎเกณฑ์ที่ดีเป็นต้นทางที่จำเป็นต่อการนำไป ติดตาม กำกับดูแล บังคับใช้กฎหมายต่อไปได้ 

อย่างไรก็ดี การมีกฎเกณฑ์การกำกับดูแลต่างๆ เป็นต้นทุน ทั้งต่อผู้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล และผู้กำกับดูแล ดังนั้น ก.ล.ต. จึงจะออกกฎเกณฑ์เฉพาะเมื่อมีความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาหรือความเสี่ยงในตลาดทุน และไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า​


 

การประเมินความจำเป็นและผลกระทบในการออกกฎเกณฑ์

Picture1.png
 


 

กระบวนการออกกฎเกณฑ์

เมื่อพิจารณาเห็นถึงความจำเป็นในการออกกฎเกณฑ์แล้ว ก.ล.ต. มีกระบวนการในการดำเนินการ ดังนี้

1. ศึกษามาตรฐานจากหน่วยงานกำกับดูแลต่างประเทศและมาตรฐานสากลเพื่อกำหนดหลักการ

2. เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการ (public hearings / focus group)

3. นำหลักการเสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. / ก.ต.ท. (กรณี ประกาศสำนักงาน จะไม่มีขั้นตอนนี้)

4. จัดทำร่างประกาศ

5. เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศ (public hearings / focus group)

6. เปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ ก.ล.ต. 

7. เสนอประธานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ลงนาม (กรณี ประกาศสำนักงาน จะเป็นเลขาธิการลงนาม)

8​. ประกาศลงราชกิจจาฯ

Picture2.png
 




 


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

​ฝ่ายกฎหมายองค์กรและคดีปกครอง​
โทรศัพท์ 0-2033-9525​