สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนา “การดำเนินคดีแบบ Class Action” เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม หรือ Class Action ให้แก่ผู้ที่สนใจและผู้ลงทุน และเพื่อสนับสนุนผู้ที่ได้รับความเสียหายในตลาดทุนจากการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ได้รับการคุ้มครองและมีช่องทางการเยียวยาความเสียหาย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 ณ หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ที่ผ่านมา ก.ล.ต.
ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้รู้แก่ผู้ลงทุนและผู้สนใจในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การดำเนินคดีแบบกลุ่มมีผลบังคับใช้
ในปี 2558 ผ่านช่องทางสื่อของสำนักงานและสื่อมวลชน ทั้งในรูปแบบของกราฟิก และบทความ
รวมทั้งการจัดสัมมนาโดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของการทำหน้าที่และบทบาทของ
ก.ล.ต. ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุน
นายธวัชชัย พิทยโสภณ รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า งานเสวนา “การดำเนินคดีแบบ Class Action จะช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ลงทุนและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับขั้นตอน
และกระบวนการในการดำเนินคดีแบบกลุ่มตั้งแต่เริ่มต้นจนจบคดี ซึ่งการดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะคุ้มครองผู้ลงทุนให้ได้รับการเยียวยาความเสียหายอย่างเป็นรูปธรรม”
นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการ สายงานกฎหมาย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “‘Class Action’ ถือเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้น ซึ่งได้รับความเสียหายจากการลงทุนในหลักทรัพย์
ดังนั้น งานเสวนา ‘การดำเนินคดีแบบ Class Action’ ในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสดีที่จะนำเรื่อง Class Action ขึ้นมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้และความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ Class Action ของทุกภาคส่วน”
ในงานเสวนครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการ
ด้านกฎหมายและทนายความซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการดำเนินคดีแบบกลุ่มเข้าร่วมเป็นวิทยากร
ประกอบด้วย นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดร.ภูมิศิริ
ดำรงวุฒิ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายจิณณะ แย้มอ่วม อนุกรรมการด้านการเงินการธนาคาร สภาองค์กรของผู้บริโภค
โดยผู้ร่วมเสวนาได้แบ่งปันประสบการณ์ มุมมอง
และความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติในการดำเนินการคดีแบบกลุ่ม เช่น กระบวนการ ขั้นตอน และระยะเวลา รวมทั้งประเภทความผิดที่สามารถฟ้องคดีแบบกลุ่มได้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี สัดส่วนการได้รับเงินคืนและค่าเยียวยาจากการเป็นผู้เสียหาย
เพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้เข้าร่วมเสวนาเข้าใจเรื่องการดำเนินแบบกลุ่มได้ชัดเจนมากขึ้น