Sign In
ข่าว ก.ล.ต.

ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการและอดีตกรรมการ {หนึ่ง} รวม 7 ราย กรณีปฏิบัติผิดหน้าที่ ทุจริต และแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ทำให้ {หนึ่ง} เสียหายหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์



วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564 | ฉบับที่ 228 / 2564


ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการและอดีตกรรมการและผู้บริหารของบริษัท {หนึ่ง} รวม 7 ราย ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กรณีปฏิบัติผิดหน้าที่ ทุจริต และแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ จากกรณีให้กู้ยืมเงินแก่บริษัท {สอง}เพื่อให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้ประโยชน์ จนเป็นเหตุทำให้ {หนึ่ง} เสียหาย

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษบุคคล 7 ราย ซึ่งในช่วงปี 2562 เป็นกรรมการและผู้บริหารของ {หนึ่ง} ได้แก่ (1) นางสาวณิชารดี สุขเจริญไกรศรี (ชื่อเดิม นางสาวสุกัญญา สุขเจริญไกรศรี) (2) นางสาวสุดาภรณ์ กลิ่นแก้ว (3) นางสาวสิริณี ฉิมบรรเทิง (4) นางสาวอุดมพร เอี่ยมจ้อย (5) {ก} (6) {ข} และ (7) {ค}

ในช่วงเดือนมีนาคม 2562 บุคคลทั้ง 7 รายข้างต้น โดยมีนางสาวณิชารดีเป็นประธานคณะกรรมการบริหารของ {หนึ่ง} ได้ร่วมกันตัดสินใจ อนุมัติ และหรือสั่งการให้ {หนึ่ง} ปล่อยเงินให้กู้ยืมแก่ ACAP (ซึ่งถือหุ้นใน {หนึ่ง} ร้อยละ 64 โดยมีนางสาวณิชารดีเป็นกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ {สอง}) รวม 7 รายการ มูลค่าสะสมรวมสูงสุดอยู่ที่ 180 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 73 ของสินทรัพย์รวมของ {หนึ่ง}) อัตราดอกเบี้ยของเงินให้กู้ยืมร้อยละ 2 ต่อปี อย่างไรก็ดี มีเงินให้กู้ยืมบางรายการที่ {หนึ่ง} ไม่ได้คิดดอกเบี้ย แต่ภายหลังที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ {หนึ่ง} ชี้แจงเรื่องเงินให้กู้ยืมดังกล่าว {หนึ่ง} จึงให้ {สอง} จ่ายดอกเบี้ยย้อนหลังร้อยละ 2 ต่อปี 

การให้กู้ยืมเงินของ {หนึ่ง} แก่ {สอง} ข้างต้นเข้าข่ายเป็นการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงที่มีขนาดรายการใหญ่ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนทำรายการ แต่จากการตรวจสอบพบว่า กรรมการและผู้บริหารของ {หนึ่ง} ข้างต้นไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เรื่องรายการที่เกี่ยวโยงกันแต่อย่างใด โดยได้มาจัดประชุมผู้ถือหุ้นในภายหลังจากการทำรายการไปแล้ว ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติไม่ให้สัตยาบันต่อการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันดังกล่าว นอกจากนี้ บุคคลดังกล่าวข้างต้นยังกระทำการเกินกรอบอำนาจหน้าที่และไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนของ {หนึ่ง} ที่กำหนดให้นำเงินไปลงทุนได้ในความเสี่ยงที่ระดับ 1* เท่านั้น แต่กลับนำไปลงทุนในตราสารหนี้ของ {สอง} (Non-investment grade) ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าระดับความเสี่ยงที่ลงทุนได้ 

การกระทำดังกล่าวทำให้ {หนึ่ง} มีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งกรรมการและผู้บริหารของ {หนึ่ง} เห็นชอบร่วมกันให้นำเงินทั้งหมดที่ {หนึ่ง} เพิ่งได้รับจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) ไปให้กู้ยืมเงินแก่ {สอง} โดยข้อเท็จจริงพบว่า {สอง} นำเงินไปไถ่ถอนหุ้นกู้และตั๋วเงินที่ครบกำหนดชำระของ {สอง} ที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.5 – 8.0 ต่อปี ทำให้ {หนึ่ง} เสียประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ควรได้รับ และ {สอง} ได้ประโยชน์จากส่วนต่างดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมที่ลดลง

การกระทำของบุคคลทั้ง 7 รายข้างต้น ในฐานะกรรมการและผู้บริหาร {หนึ่ง} ในช่วงเกิดเหตุ เข้าข่ายเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต ตามมาตรา 89/7 หรือกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายหรือทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ อันเป็นความผิดตามมาตรา 281/2 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 89/7 และมาตรา 89/12 หรือ มาตรา 281/2 วรรคสอง ประกอบมาตรา 89/7 และมาตรา 89/12 และมาตรา 307 มาตรา 311 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แล้วแต่กรณี  ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษบุคคลดังกล่าว ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป 

พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ยังได้แจ้งการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ข้างต้น ต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ทั้งนี้ การถูกกล่าวโทษข้างต้นมีผลให้ผู้ถูกกล่าวโทษในความผิดกรณีทุจริต เข้าข่ายมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจและไม่สามารถเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทนับตั้งแต่วันที่ถูกกล่าวโทษไปจนตลอดระยะเวลาที่ถูกกล่าวโทษดำเนินคดี**

อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นขั้นตอนในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตลอดจนดุลพินิจของศาลยุติธรรม ตามลำดับ

                                                                                         ________________________

หมายเหตุ : 

* ได้แก่ กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนเฉพาะในประเทศไทย โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก หรือตราสารหนี้ หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด กองทุนประเภทนี้จะลงทุนในตลาดเงิน โดยทั่วไปจะให้สถาบันต่าง ๆ กู้เงินระยะสั้นอายุจะไม่เกิน 1 ปี เช่น ธนาคาร รัฐบาล เป็นต้น

** ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 3/2560 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560