Sign In
แบบรับฟังความคิดเห็น  

อกส. 26/2563

หลักการในการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีในตลาดทุน

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการในการแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีในตลาดทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายและยกระดับการคุ้มครองผู้ลงทุน




แบบสำรวจความคิดเห็น


การให้ความเห็นชอบสำนักงานสอบบัญชีในตลาดทุน (“audit firm”) และผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (“auditor”)



1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับหลักการในการแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ โดยกำหนดให้ audit firm ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งจะช่วยให้สำนักงาน ก.ล.ต. สามารถกำกับดูแล audit firm ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และเป็นกลไกในการผลักดัน ให้ audit firm ให้ความสำคัญกับการควบคุมดูแลคุณภาพงานของผู้สอบบัญชีทุกรายในสังกัด ประกอบกับให้การส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สอบบัญชีในสังกัดจะสามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนี้ การแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในเรื่องดังกล่าว ยังช่วยให้ระบบการกำกับดูแล audit firm เป็นที่ยอมรับในสายตาของนานาชาติ และเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบรายงานทางการเงินของไทยมากยิ่งขึ้น

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับหลักการในการแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ โดยกำหนดให้สำนักงาน ก.ล.ต. สามารถออกประกาศกำหนดลักษณะ คุณสมบัติ รวมทั้งหน้าที่และวิธีปฏิบัติ (“conduct”) อื่น ๆ ของ audit firm และ auditor ในรายละเอียดต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่า audit firm และ auditor มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเพียงพอที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในตลาดทุน รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานด้วยความเป็นอิสระและปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพได้อย่างสม่ำเสมอ

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับลักษณะ คุณสมบัติ และ conduct สำหรับ audit firm และ auditor ในเรื่องดังต่อไปนี้ ที่จะกำหนดใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ



3.1 การกำหนดให้ audit firm มีระบบการควบคุมคุณภาพงานตามที่มาตรฐานวิชาชีพกำหนด

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




3.2 การกำหนดให้ audit firm มีผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




3.3 การมีข้อห้ามมิให้ audit firm ให้บริการอื่นที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และ ขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




3.4 การกำหนดให้ auditor ปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพและข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




3.5 ลักษณะ คุณสมบัติ และ conduct สำหรับ audit firm และ auditor ประเภทอื่น ๆ ที่ท่านเห็นควรระบุใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ




4. ข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นเพิ่มเติม




การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจาก audit firm และ auditor



1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับหลักการในการให้ความเห็นชอบ audit firm และ auditor แบบไม่จำกัดอายุการให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะช่วยลดภาระในการต่ออายุการให้ความเห็นชอบของ audit firm และ auditor อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวทางในการกำกับดูแล audit firm และ auditor ของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่จะมีการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของ auditor พร้อมกับการเข้าตรวจระบบการควบคุมคุณภาพงานของ audit firm อย่างสม่ำเสมอ

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับหลักการในการแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ โดยกำหนดให้สำนักงาน ก.ล.ต. สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปีจาก audit firm และ auditor ได้ เพื่อให้การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจาก audit firm และ auditor สอดคล้องกับระบบการให้ความเห็นชอบ แบบไม่จำกัดอายุการให้ความเห็นชอบ

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




3. ข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นเพิ่มเติม




การกำหนดบทลงโทษสำหรับ audit firm และ auditor



1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับหลักการในการแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ โดยกำหนดบทลงโทษ audit firm และ auditor ให้ชัดเจนและมีโทษที่หลากหลาย เพื่อที่สำนักงาน ก.ล.ต. จะสามารถเลือกใช้บทลงโทษที่มีความเหมาะสมกับความรุนแรงของความผิดมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ audit firm และ auditor สามารถปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ อันจะเป็นการช่วยยกระดับการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีของไทย และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อตลาดทุนไทย

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




2. นอกเหนือจากโทษพักและเพิกถอนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทลงโทษ audit firm และ auditor ให้มีความหลากหลาย ดังต่อไปนี้



2.1 โทษปรับ

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




2.2 การภาคทัณฑ์

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




2.3 การตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




2.4 การจำกัดการประกอบกิจการ (เช่น การจำกัดจำนวนลูกค้างานสอบบัญชี หรือการรับงาน ที่มีความยากและซับซ้อน)

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




2.5 บทลงโทษสำหรับ audit firm และ auditor ประเภทอื่น ๆ ที่ท่านเห็นควรระบุใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ




3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการระบุอัตราโทษปรับสูงสุดให้ชัดเจนใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ

   เห็นด้วย  

   ไม่เห็นด้วย  




โดยมีเหตุผลดังนี้




4. ข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นเพิ่มเติม






ข้อมูลทั่วไป

อาชีพ/สถานะ :

















ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

1. นางสาวกฤษณา กัมปนาทโกศล โทรศัพท์/โทรสาร 0-2263-6096 2. นางสาวจิราภา สงวนพงษ์ โทรศัพท์/โทรสาร 0-2263-6204 3. นางสาวนนทวรรณ สิทธิกรโสมนัส โทรศัพท์/โทรสาร 0-2263-6347 หรือ e-mail: krissana@sec.or.th และ jirapa@sec.or.th