อฝค. 13/2564
อำนาจสอบสวนความผิดที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็น เรื่อง อำนาจสอบสวนความผิดที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย
แบบสำรวจความคิดเห็น
1.1 หลักการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นพนักงานสอบสวน และมีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
1.2 อำนาจพนักงานสอบสวน (เฉพาะอำนาจสอบสวนในฐานความผิดที่กำหนด ซึ่งไม่รวมถึงอำนาจค้น จับกุม คุมขัง และปล่อยตัวชั่วคราว โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นรายกรณี)
1.3 การสรุปสำนวนและทำความเห็น (1.3.1) หากเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาแล้วมีความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้ส่งสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้พนักงานอัยการเพื่อใช้เป็นสำนวนในการดำเนินคดี โดยถือว่าสำนวนการสอบสวนของสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยจะส่งตัวผู้ต้องหาไปพร้อมกับสานวนการสอบสวนหรือไม่ก็ได้ และให้พนักงานอัยการพิจารณาสำนวนการสอบสวนดังกล่าวตามอำนาจหน้าที่และระเบียบของพนักงานอัยการต่อไป (1.3.2) ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีแต่ยังเรียกหรือจับตัวไม่ได้ ให้พนักงานอัยการแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีภูมิลำเนา เพื่อออกหมายจับและจับผู้ต้องหามายังพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีต่อไป (1.3.3) ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ให้เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจหน้าที่ในการแย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีที่เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. แย้งคำสั่งของพนักงานอัยการ ให้ส่งสานวนพร้อมความเห็นที่แย้งกันไปยังอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ คำสั่งของอัยการสูงสุดเป็นที่สุด
2. ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติม
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
1. สุเมธ วิเชียรชัย โทรศัพท์ 0-2033-9653 2. นางสาวกุลนันทน์ ค้าเจริญ โทรศัพท์ 0-2263-6037 3. นางสาวพิชญา อิทธิยาภรณ์ โทรศัพท์ 0-2263-6553 อีเมล kullanun@sec.or.th หรือ pitchayai@sec.or.th