Sign In
กฎเกณฑ์

​​​​​​​​​การควบรวมกิจการ


การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ / การยกเว้นหน้าที่ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นการทั่วไป​​​


การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์​


หน้าที่ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์

เพื่อให้การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นเครื่องมือที่สามารถคุ้มครองผู้ถือหลักทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อจะมี​ลักษณะสำคัญ ดังนี้

  1. ผู้ถือหลักทรัพย์ทุกรายต้องมีโอกาสขายหลักทรัพย์ของตนอย่างเท่าเทียมกันในราคาที่เป็นธรรม และได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกัน

  2. ผู้ถือหลักทรัพย์ทุกรายจะต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และมีเวลาเพียงพอในการตัดสินใจ

  3. ผู้ที่ประกาศเจตนาว่าจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์จะต้องสามารถดำเนินการตามที่ประกาศได้จริง

  4. กิจการต้องให้ความเห็นโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ


จุดที่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (trigger point)

การกำหนดจุดที่มีหน้าที่ต้องทำคำเสนอซื้อจะคำนึงถึงจุดที่ทำให้ผู้ที่เข้าถือหุ้นจนมีสิทธิออกเสียง (voting right) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของกิจการหรือยับยั้งการดำเนินงานของกิจการได้ ผู้ที่ถือหุ้นจนมีสิทธิออกเสียงถึงจุดดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีอำนาจในการควบคุมกิจการทางตรง เนื่องมาจากการมีเสียงข้างมาก (majority vote) หรือมีอำนาจในการควบคุมกิจการทางอ้อมโดยการสามารถคัดค้านมติสำคัญได้ (veto right) จึงกำหนดจุดที่มีหน้าที่ทำคำเสนอซื้อ คือ จุดที่มีสิทธิออกเสียงร้อยละ  25  ร้อยละ 50 หรือ ร้อยละ 75  และในกรณีที่กิจการมีการซื้อหุ้นคืน (treasury stock)  
การคำนวณร้อยละของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ เพื่อหา trigger point จะต้องหักสิทธิออกเสียงของหุ้นที่ซื้อคืน (treasury stock) ออกจากฐานในการคำนวณ ทั้งนี้ เพื่อให้สะท้อนสิทธิออกเสียงที่แท้จริง 


การกระทำที่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์

pic12.png 

 pic13.png


การประกาศต่อสาธารณชน

ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอำนาจควบคุมในกิจการถือเป็นข้อมูลที่สำคัญและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาซื้อขายหลักทรัพย์ของกิจการที่ปรากฏข่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดปล่อยข่าวแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จึงมีข้อกำหนดให้ผู้ประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ ไม่ว่าจะประกาศโดยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้ จะต้องทำคำเสนอซื้อตามระยะเวลา หรือเงื่อนไขที่กำหนด

  • แถลงหรือโฆษณาผ่านสื่อมวลชน หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโครงข่ายอื่นใด ในลักษณะที่เป็นการกระจายข้อมูลในวงกว้าง

  • แจ้งต่อกรรมการหรือผู้จัดการของกิจการนั้น

  • แจ้งต่อผู้ถือหุ้นรายหนึ่งหรือหลายราย ซึ่งมีสิทธิออกเสียงรวมกันตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

  • แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ

  • แจ้งต่อ ก.ล.ต.

ในกรณีที่ผู้ประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการดังกล่าวไปแล้ว แต่ไม่สามารถทำคำเสนอซื้อได้ตามที่ประกาศไว้จะต้องยื่นประกาศปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อต่อ ก.ล.ต. ภายในระยะเวลาที่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือในกรณีที่ผู้ประกาศต่อสาธารณะมีเงื่อนไขก่อนการทำคำเสนอซื้อโดยที่เงื่อนไขไม่สำเร็จหรือพ้นกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศ บุคคลดังกล่าวจะต้องยื่นประกาศปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่เงื่อนไขไม่สำเร็จหรือวันครบกำหนดแล้วแต่เวลาใดจะถึงก่อน  ทั้งนี้ ในกรณีที่เงื่อนไขก่อนการทำคำเสนอซื้อไม่อาจสำเร็จลงได้เนื่องจากเหตุปัจจัยที่อยู่นอกเหลือการควบคุมของผู้ประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการจะไม่ถูกห้ามทำคำเสนอซื้อ

ผู้ที่ยื่นประกาศปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อจะถูกห้ามทำคำเสนอซื้อเป็นระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ยื่นประกาศปฏิเสธดังกล่าว หากไม่ยื่นปฏิเสธตามระยะเวลาที่กำหนด จะถูกห้ามทำคำเสนอซื้อจะเพิ่มเป็น 2 ปี ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการสร้างข่าวเพื่อสร้างราคาและเป็นการก่อกวนกิจการ

​ 

การยกเว้นหน้าที่ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นการทั่วไป​


 pic14.png

 pic15.png





ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายจดทะเบียนตราสารทุน 1 – 2

โดยแบ่งตามหมวดธุรกิจของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ดังนี้

ท่องเที่ยวและสันทนาการ-วัสดุก่อสร้าง
โทรศัพท์ 0-2033-9619 / 0-2263-6124 / 0-2033-9590​ / 0-2263-6065

การแพทย์ – บรรจุภัณฑ์ - บริหารเฉพาะกิจ
โทรศัพท์ 0-2263-6110 / 0-2263-6234 / 0-2263-6248 / 0-2263-6535

ยานยนต์– แฟชั่น - พาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2263-6112 / 0-2263-6303 /0-2263-6334 / 0-2263-6204

ธนาคาร - ธุรกิจการเงิน – ประกันภัยและประกันชีวิต
โทรศัพท์ 0-2263-6556 / 0-2263-6085 / 0-2033-9621

สื่อและสิ่งพิมพ์ – ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ – สินค้าอุปโภคบริโภค
โทรศัพท์ 0-2263-6093 / 0-2033-9949 / 0-2033-4671 / 0-2263-6277

ทรัพยากร – ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ – บริการเฉพาะกิจ
โทรศัพท์ 0-2033-9610 / 0-2033-9606 / 0-2033-9656 / 0-2263-6550

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
โทรศัพท์ 0-2033-9640 / 0-2033-9528 / 0-2263-6208  / 0-2263-6196

ไฟฟ้า - เหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ
โทรศัพท์ 0-2033-9976 / 0-2033-9923 / 0-2263-6102 / 0-2033-4636

อาหารและเครื่องดื่ม – ธุรกิจการเกษตร
โทรศัพท์ 0-2033-9628 / 0-2263-6066 /0-2033-4657 / 0-2033-9604

ขนส่งและโลจิสติกส์ – วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร  
โทรศัพท์ 0-2033-9605 /0-2033-4622 / 0-2033-9821 / 0-2263-6367 / 0-2033-9568

ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน – บริการรับเหมาก่อสร้าง
โทรศัพท์ 0-2263-6111 / 0-2263-6512  / 0-2263-6214  / 0-2033-9947

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2263- 6514 / 0-2263-6232 / 0-2033-9520 / 0-2033-4610

กรณีสอบถามเกี่ยวกับระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2263-6113

กรณีสอบถามเกี่ยวกับแบบ 56-1 One Report
โทรศัพท์  0-2263-6098 หรือ 0-2033-9618

สอบถามการส่ง online รายงานแบบ 59 และแบบ 246-2

โทร. 1207 ต่อ 3 ต่อ 1 หรือ email helpdesk@sec.or.th

การเสนอขายหุ้นของวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE)

โทรศัพท์ 0-2263 6254

กรณีไม่ระบุชื่อบริษัท

โทรศัพท์ 0-2263-6120 / 0-2033-9908 / 0-2033-4644 / 0-2263-6120

อีเมล corporat@sec.or.th 

 ​