Sign In
พัฒนาการ

​​​​​​​​​​CSR​​


มาตรฐานเเละการดำเนินการเกี่ยวกับ ESG

​​หน่วยงาน​​​
​รายละเอียด











​​


​- เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ที่สหประชาตประกาศใช้กับการพัฒนาทุกประเทศทั่วโลกใน 15 ปีข้างหน้า (เดือนกันยายน 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2573)

- ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย ได้แก่ ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย ได้แก่ (1) ขจัดความยากจน (2) ขจัดความอดอยาก สร้างความมั่นคงทางอาหาร (3) ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน (4) ส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ (5) สร้างความเท่าเทียมทางเพศสตรีและเด็กหญิงทุกคน (6) จัดการน้ำอย่างยั่งยืนและพร้อมใช้สำหรับทุกคน (7) ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนได้ตามกำลังของตน (8) ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (9) ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและนวัตกรรม (10) ลดความเหลี่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ (11) สร้างเมืองและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย (12) สร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (13) ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน (14) อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน (15) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก (16) ส่งเสริมสันติภาพและการเข้าถึงระบบยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน (17) สร้างความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

- SDGs 17 เป้าหมาย แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) Peace : เป้าหมายที่ 16 (2) Planet : เป้าหมายที่ 6-7,12-15 (3) People : เป้าหมายที่ 1-5 (4) Prosperity : เป้าหมายที่ 8-11 (5) Partnership : เป้าหมายที่ 17​









- ประกอบด้วยหลักการ 10 ข้อ 4 หมวด ได้เเก่ (1) สิทธิมนุษยชน (2) แรงงาน (3) สิ่งแวดล้อม (4) การต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อให้ธุรกิจสมัครใจเข้าเป็น signatory


- signatory ต้องจัดทำรายงาน COP (Communicating On Progress) เพื่อแสดงว่า ได้นำหลักการไปปฏิบัติอย่างไร


- หากไม่ทำ จะถูก delisted 


- ผู้เข้าร่วมมากกว่า 12,000 แห่งจาก 170 ประเทศ เป็น “world’s largest voluntary corporate responsibility initiative”​


​​







แนวปฏิบัติในการรายงานความยั่งยืนที่ให้ข้อมูลกลยุทธ์การดำเนินงาน การกำกับดูแลแนวการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงานด้าน ESG ทั้งเชิงบวกและลบขององค์กรเพื่อมุ่งเป้าสู่ความยั่งยืน

- มีการพัฒนาตลอดเวลา โดย GRI Standards เป็นมาตรฐานล่าสุด

- องค์กรทั่วโลกมากกว่า 13,000  แห่ง จัดทำรายงานตามกรอบของ GRI โดยเฉพาะ
  บริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคต่างๆ





The OECD Guidelines for Multinational Enterprises

http://www.oecd.org/inves​tment/mne/1922428.pdf





- แนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจในรูปแบบสมัครใจ มิใช่ข้อบังคับหรือเครื่องมือกีดกันทางการค้า 


- ประกอบด้วยหลักการ 8 หมวด ได้เเก่ (1) Disclosure  (2)  การจ้างงาน  (3) สิ่งแวดล้อม (4) การต่อต้านคอร์รัปชัน (5) Consumer Interests (6) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (7) การแข่งขัน (8) Taxation


- รัฐบาลจากประเทศ OECD มากกว่า 34 ชาติ และประเทศที่มิใช่สมาชิกอีกไม่ต่ำกว่า 12 ชาติได้แนะนำให้ธุรกิจใช้แนวปฏิบัตินี้ ​









-  มาตรฐานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ CSR แก่องค์กรทุกประเภทนำ ไปปฏิบัติโดยสมัครใจ มิใช่ข้อกำหนดเพื่อการรับรอง เช่น มาตรฐาน ISO อื่น 

-  มี 7 หมวด ได้เเก่ (1) governance (2) สิทธิมนุษยชน (3) แรงงาน (4) สิ่งแวดล้อม (5) ประกอบธุรกิจเป็นธรรม (6) ผู้บริโภค (7) มีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน

-  สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) พยายามผลักดันให้ธุรกิจไทยนำ ISO 26000 ไปปฏิบัติ

-  มีแนวโน้มจะเป็นมาตรฐานที่มีการรับรอง 

​​




-  กรอบแนวทางในการจัดทำรายงานความยั่งยืน ที่สะท้อนจาก reporting process ผ่านการ integrated ระหว่าง SD กับกลยุทธ์องค์กร 

-  เน้นแสดงข้อมูล capital ด้านต่าง ๆ  6 กลุ่ม คือ (1) การเงิน (2) การผลิต (3) ภูมิปัญญา (4) คน (5) สังคม (6) ธรรมชาติ
ข้อแนะนำการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) ​

​- กลุ่มรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 20 แห่ง หรือ G 20 ได้ขอให้คณะกรรมการเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Board: FSB) ทบทวนว่าภาคการเงินจะมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้อย่างไรบ้าง

- FSB จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำข้อแนะนำการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) ขึ้น โดย TCFD ได้จัดทำข้อแนะนำดังกล่าวออกเผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2560 เพื่อหวังให้ธุรกิจทั่วโลกนำไปปฏิบัติโดยสมัครใจ 

- TCFD ประกอบด้วยคณะทำงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจาก 31 ประเทศ ทั้งจากสถาบันการเงิน การลงทุน บริษัทประกันภัย ธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้สอบบัญชี ธุรกิจให้คำปรึกษา และหน่วยงานจัดอันดับเครดิต โดยมี Michael Bloomberg เป็นประธานคณะทำงาน





แนวโน้มพัฒนาการด้าน ESG ในต่างประเทศ

ถาบันการเงิน

EPF I (The Equator Principles Financial Institutions)

- เริ่มปี 2003 เพื่อเป็น framework ในการปล่อยกู้โดยดูปัจจัย ESG ประกอบ

- มีประเทศที่เข้าร่วม 37 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารขนา ดใหญ่ โดยมูลค่าโครงการขั้นต่ำที่ต้อง comply เกณฑ์ EP คือ 10 ล้าน (USD)

UNEP FI (The United Nations Environment Programme Finance Initiative)

Programme Finance Initiative เริ่มปี 1992 เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ของกลุ่มธนาคาร ธุรกิจประกันชีวิต และบริษัทจัดการลงทุนในการสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม มีสมาชิกมากกว่า 200 แห่งทั่วโลก (ธุรกิจไทยที่เข้าร่วม คือ ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป​)

 

ผู้ลงทุน

PRI (Principles for Responsible Investment)

เริ่มปี 2006 สนับสนุนโดย UN เป็นการนำ ESG มาประกอบการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนสถาบัน ภายใต้หลักการ 6 ข้อ ปัจจุบันเป็น network ที่ได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลกในการเข้าร่วม โดยมี signatories ถึง 2,368 แห่ง ดูแลเม็ดเงินลงทุนรวมกัน 70 ล้านล้าน (USD) โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) Asset Owners 432 แห่ง (2) Investment Managers 1,658 แห่ง (3) Service Providers 278 แห่ง สำหรับประเทศไทย มี 2 หน่วยงานที่เข้าร่วม ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ประเภท Asset Owner) และสถาบันไทยพัฒน์ (ประเภท Service Provider) ​


ตลาดหลักทรัพย์
​​​


SSE Initiative (Sustainable Stock Exchanges Initiative)

ริ่มปี 2009 โดยเลขาฯ UN บันกีมุน ผลักดัน เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจเอกชนทั่วโลก ผ่านกลไกของตลาดหลักทรัพย์ โดยตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าร่วมจะ commit ว่าจะปรับปรุงการดำเนินงานของธุรกิจให้มุ่งสู่ความโปร่งใส คำนึงถึง ESG และส่งเสริมการลงทุนที่มีความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว ปัจจุบัน มีตลาดหลักทรัพย์ 85 แห่งทั่วโลกที่เข้าร่วม รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand) ​

 

​​