Sign In
แนวคิด
​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนากิจการเพื่อความยั่งยืน

 

 

 
การทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-corruption​)​




การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Development : SD)​

 

การพัฒนาอย่างยั่งยืน คืออะไร

 

ตลาดทุนมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยไม่เพียงเป็นแหล่งระดมทุนให้แก่ภาครัฐและเอกชน ช่วยเสริมสร้างความสมดุลให้แก่ระบบการเงิน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ และเป็นช่องทางการออมการลงทุนของประชาชนอีกด้วย และเมื่อกระแสโลกาภิวัตน์เข้ามามีอิทธิพล การปรับตัวและพัฒนาในทุกด้านของตลาดทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานสากลจึงมีความจำเป็น​

 

ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่า หากต้องการเติบโตและอยู่ได้อย่างยั่งยืน การดำเนินงานของตลาดทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องไม่ละเลยประโยชน์และผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ใช่เพื่อผลกำไรทางธุรกิจหรือประโยชน์เฉพาะแก่บุคคลบางกลุ่มอีกต่อไป ดังนั้น กลยุทธ์ในการดำเนินงานจึงต้องกว้างไกลออกไปรวมถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และโลกที่เราอยู่ด้วย นั่นคือเป้าหมายตลาดทุนที่ต้องมี 

 

การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (Sustainability Development: SD) ของตลาดทุน

​​​​​จาก corporate gornance สู่ CSR เพื่อความยั่งยืนของกิจการ

ความรับผิดชอบต่อ​​สังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibilities : CSR)​

วามรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ หรือ CSR หรือ ESG (Environment, Social, Governance) อาจเป็นคำใหม่ที่เพิ่งมีการใช้กันแพร่หลายในช่วงสิบกว่าปีหลังมานี้ แต่แท้จริงแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้รับการพูดถึงทั้งในระดับประเทศและในระดับสากลมาก่อนหน้าเป็นเวลานาน 
สำหรับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเวลาต่อมา โดยเป็นการดำเนินธุรกิจตามทางสายกลาง ภายใต้หลักความพอประมาณ ความระมัดระวัง มีเหตุผล และการบริหารความเสี่ยง พร้อมทั้งต้องมีความรู้และคุณธรรมในการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมาย คือ ความสมดุล มั่นคงและยั่งยืนของชีวิตและสังคม ดังนั้น การดำเนินธุรกิจตามปรัชญานี้ จึงอยู่บนพื้นฐานของการไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น หรือแสวงหาผลกำไรจนเกินควรจากการเบียดเบียนประโยชน์ของสังคม โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะก่อให้เกิดวิกฤตตามมา ตลอดจนให้คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรในธุรกิจอย่างประหยัดและมีคุณภาพ  
 
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
​​​
 
ขณะที่ในระดับสากล แนวคิด CSR ที่แพร่หลายก็มีหลักการสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเช่นกัน โดยมีจุดเริ่มต้นจากการประชุมสุดยอดระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อม (Earth Summit) เมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีการประกาศทิศทางใหม่ของการพัฒนา นั่นคือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development ต้องคำนึงถึงเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย นอกเหนือจากประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว  
 
ในปี พ.ศ. 2542 พัฒนาการในเรื่อง CSR ยิ่งชัดเจนมากขึ้น เมื่อนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติขณะนั้น ได้เรียกร้องให้ธุรกิจแสดงความเป็นพลเมืองที่ดีของโลก หรือ Good Global Citizenship รวมทั้งประกาศใช้ The UN Global Compact เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับองค์กรธุรกิจต่อไป 
​​ 
ในปีถัดมา OECD (องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) ได้ออก OECD Guidelines for Multinational Enterprises เพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติ โดยเสนอแนะให้บรรษัทข้ามชาติของประเทศสมาชิก OECD มี CSR และติดต่อค้าขายเฉพาะกับคู่ค้าที่มี CSR เท่านั้น หลังจากนั้น CSR ค่อย ๆ แพร่กระจายในวงกว้างจนเป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติในระดับสากล เช่นเดียวกับการดำเนินการผลักดัน CSR ในตลาดทุนไทย ล่าสุด ในปี 2561 OECD ได้ออกคู่มือ OECD Due Diligence Guidance for Responsible Business Conduct​  เพื่อให้ธุรกิจทั่วโลกนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติโดยสมัครใจ เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจที่จะส่งผลกระทบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในเรื่องสิทธิมนุษยชน  การคำนึงถึง supply chain  ผู้บริโภค  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแข่งขันที่เป็นธรรม การต่อต้านคอร์รัปชัน เป็นต้น

 
 

​​การดำเนินการผ​ลักดัน CSR ในตลาดทุนไทย
2549​ก.ล.ต. แต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน
2550​
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดตั้งสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute (CSRI) 
​2551
คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน ออก เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม
​2552
สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย จัดตั้ง ชมรม CSR Club   
​2555
CSRI จัดทำ แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการและแนวทางการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน





2556​
- ก.ล.ต. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล โดยให้บริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ขออนุญาตออกเสนอขายหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้าน CSR ในเอกสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ ได้แก่ รายงานประจำปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ในเว็บไซต์ของบริษัท และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ 69-1) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป
- ก.ล.ต. สนับสนุนสถาบันไทยพัฒน์ จัดทำดัชนีชี้วัดเพื่อประเมินระดับการพัฒนาด้าน CSR และ
การป้องกันการมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับคอร์รัปชั่นสำหรับบริษัทจดทะเบียนด้วยตัวชี้วัดตั้งแต่ระดับ 0 ถึงระดับ 5 เป็นครั้งแรกของไทย  บริษัทจดทะเบียนสามารถนำผลการประเมินไปพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น




​2558
- Thailand Sustainability Investment (THSI) หรือ หุ้นยั่งยืน เป็นรายชื่อของบริษัทจดทะเบียนที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG) ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนตามแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืนที่นำปัจจัยด้าน ESG มาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจลงทุนควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของบริษัท เพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่องในระยะยาว จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย



2561​
ดัชนีความยั่งยืน “SET THSI  Index" เป็นดัชนีความยั่งยืนครั้งแรกที่จัดทำในตลาดทุนไทย เผยแพร่อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 โดยหุ้นยั่งยืนที่อยู่ใน SET THSI  Index คำนวณมาจากหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล และเป็นหุ้นที่คัดเลือกจากหุ้นสามัญจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯที่อยู่ใน “รายชื่อหุ้นที่ยั่งยืน" หรือ Thailand Sustainability Investment (THSI List) ปีล่าสุด รวมถึงการใช้เกณฑ์การคัดกรอง เรื่องขนาดและสภาพคล่อง 

 

การทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-corruption​)​​

นิยาม “คอร์รัปชัน” (Corruption)
 
คอร์รัปชัน (Corruption) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Corruption เป็นคำที่รู้จักกันดีทั่วไปมานาน  แต่ความหมายของคำนี้มีหลากหลายต่างๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้ หลักการหรือมุมมองในทางศีลธรรม ทางการเมืองหรือทางเศรษฐศาสตร์ (Magavilla, 2012) ในมุมมองของพฤติกรรมหรือการกระทำนั้น คอร์รัปชัน อาจจัดเป็นอาชญากรรม (crime) ประเภทหนึ่ง ในบางกรณีคอร์รัปชันอาจจะถูกมองในความหมายที่แคบและต่างจากการโกง ยักยอก รีดไถ การขู่ โดยมองว่าคอร์รัปชันเป็นการกระทำของคนสองฝ่ายที่หาประโยชน์ร่วมกันจากฝ่ายที่สาม (Bowles, 1999) เช่น การติดสินบน​
 
องค์การสหประชาชาติให้ความหมายคอร์รัปชัน คือ ไม่ใช่แค่พฤติกรรม แต่เป็นปรากฏการณ์ (phenomenon) ในทางสังคม การเมืองและเศรษฐศาสตร์ ที่เป็นปัญหาสำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก (UNODC, 2009) และองค์กรระหว่างประเทศด้านความโปร่งใส Transpa​rency International (TI) ให้นิยามคำว่า คอร์รัปชัน คือ การใช้อำนาจที่ได้รับความไว้วางใจในทางที่ผิด (abuse of entrusted power) เพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลซึ่งใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน 
ภาคประชาคมยุโรปได้ให้คำจำกัดความคอร์รัปชัน หมายถึง การใช้อำนาจสาธารณะที่มิชอบเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หรือการให้สินบน และความประพฤติทั้งหลายของบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบในภาครัฐหรือเอกชนประพฤติที่ฝ่าฝืนหน้าที่ของตน โดยไม่สมควรกับตำแหน่งหน้าที่ของตนในฐานะเจ้าพนักงานแห่งรัฐ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเอกชน ตัวแทนหรือฐานะความสัมพันธ์อื่นๆ โดยมุ่งประสงค์ให้ได้รับประโยชน์ใดๆ โดยมิชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
โดยสรุป คอร์รัปชัน เป็นการกระทำที่มีการใช้อำนาจหรือ การให้สินบน ที่อาจจะผิดหรือไม่ผิดกฎหมายก็ได้ แต่มีเจตนาให้ได้รับประโยชน์อันไม่สมควรจะได้และคอร์รัปชันนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยการคอร์รัปชันในภาคเอกชนอาจหมายถึง การที่ผู้บริหารใช้อำนาจหรือตำแหน่งที่ได้มาจากผู้ถือหุ้น ในการดำเนินงานของบริษัทเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตน (ฐานันท์ วรรณโกวิทย์,2554)​

 

 

 

การขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน​

ปัญหาคอร์รัปชัน เป็นที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งและปรากฏในทุกประเทศโดยเฉพาะในสังคมที่กำลังพัฒนา เนื่องจากมีปัจจัยต่าง ๆ จำนวนมากที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของการคอร์รัปชัน ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบในการบั่นทอนความเจริญเติบโตของทุกประเทศทั่วโลก เนื่องจากประเทศใดที่มีการคอร์รัปชันจำนวนมากจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของประเทศนั้นในทุก ๆ ด้าน จนเป็นเหตุให้บั่นทอนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นภัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างยิ่ง 
​​
ด้วยเหตุนี้ ปัญหาคอร์รัปชันจึงถูกยกเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกขึ้นอย่างจริงจัง ทำให้เกิดการจัดตั้งองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ Transparency International (TI) ในประเทศเยอรมนี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก (World Bank) รัฐบาลประเทศต่างๆ และองค์กรข้ามชาติบางองค์กร โดย TI เป็นองค์กรนานาชาติ ไม่มุ่งหวังผลกำไรและเป็นองค์กรภาคประชาสังคมระดับโลก มีเครือข่ายกว่า 120 ประเทศทั่วโลก วัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้ง TI คือ 1) ผลักดันการคอรัปชันเป็นวาระของโลก 2) แสดงบทบาทสำคัญในการจัดทำอนุสัญญาการต่อต้านคอร์รัปชัน และ 3) ยกระดับมาตรฐานความแข็งแรงภาครัฐ พร้อมทั้งจัดทำดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index: CPI) เพื่อเป็นตัวชี้วัดปรากฏการณ์คอร์รัปชันในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา
 ​​
นอกจากนี้  องค์การสหประชาชาติ ตระหนักว่าเครื่องมือทางกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันเป็นสิ่งจำเป็น จึงได้จัดประชุมเพื่อหาเครื่องมือเหล่านี้ที่สำนักงานใหญ่ the United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) และในปี พ.ศ.2546 ที่ประชุม General Assembly ได้ยอมรับผลข้อตกลงการประชุม United Nations Convention against Corruption (UNCAC) พร้อมทั้งกำหนดให้สำนักงานสหประชาชาติด้าน UNODC เป็นเลขานุการของการประชุม UNCAC และที่ประชุมได้กำหนดให้วันที่ 9 ธันวาคมเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (International Anti-Corruption Day) เพื่อให้โลกเกิดความตระหนักในการต่อสู้และป้องกันปัญหาคอร์รัปชัน  อีกทั้ง UNCAC กำหนดให้ประเทศสมาชิกบัญญัติกฎหมาย จัดระเบียบสถาบัน เพื่อป้องกันคอร์รัปชัน รวมถึงการลงโทษ เพิ่มการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ และขอความร่วมมือจากศาลให้มีกลไกตรวจสอบทรัพย์สินพร้อมทั้งให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
​​
สำหรับประเทศไทย นอกจากการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตหลายองค์กร เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และมีตัวบทกฎหมายมากมายเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดทุจริตคอร์รัปชันแล้วนั้น ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนยังถือเป็นส่วนสำคัญเพื่อแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ดังเช่น การจัดตั้งโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Thailand's Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption “CAC”) ที่ได้รับการสนับสนุนการจัดทำโดยรัฐบาลและ ป.ป.ช. และดำเนินการโดยความร่วมมือของ 8 องค์กรชั้นนำ อันได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หอการค้าไทย หอการค้านานาชาติ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ​
 
 
การพัฒนาตลาดทุนไทยกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
  
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาของประเทศที่สำคัญและการต่อต้านคอร์รัปชันเป็นสิ่งที่ภาคเอกชนควรต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ดำเนินการเพื่อผลักดันบริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในหลากหลายรูปแบบ เช่น ขอความร่วมมือให้เข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (“CAC”) มากขึ้น เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ (Integrity) และความโปร่งใส (Transparency) ให้กับตลาดทุนไทยในสายตาของนักลงทุนทั่วโลก  และการทำในวงกว้างจะเป็นแบบอย่างที่ดีหรือ Role Model ให้แก่บริษัทอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือภาคธุรกิจอื่นให้ปฏิบัติตาม ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตลาดทุนของไทยและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประเทศ

ก.ล.ต. ได้ผลักดันให้ธุรกิจมีมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยการออกประกาศให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลนโยบายและการดำเนินมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในรายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report และ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์​ (แบบ 69-1) ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทุนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้บริษัทจดทะเบียนสามารถตรวจสอบและปรับปรุงการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย​
นอกจากนี้ ผู้ลงทุนสถาบัน 5 กลุ่ม ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย และสมาคมประกันชีวิตไทย ประกาศจับมือต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน พร้อมประกาศเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือในการกำหนดแนวทางการลงทุนที่ดี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556  โดยภายใต้ความร่วมมือนี้ จะมีการกำหนดแนวปฏิบัติในการดำเนินงานและการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบัน เช่น แนวทางการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น (Proxy Voting Guidelines) เพื่อสนับสนุนให้เกิดบรรษัทภิบาลที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในบริษัทจดทะเบียนและธุรกิจในตลาดทุน โดยผู้ลงทุนสถาบันทุกกลุ่มถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการยกระดับตลาดทุนไทยรวมทั้งภาคธุรกิจของไทยให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 

 

 ​การกำกับดูเเลกิจการ (Corporate Governance :CG)​

 

พัฒนาการของการกำกับดูแลกิจการ

 

หลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 ประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุน โดยได้พัฒนาเรื่อง CG อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ในปี 2545 รัฐบาลได้ประกาศให้เป็น “ปีบรรษัทภิบาล” และได้จัดตั้ง “คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ” โดยมี  ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมเป็นกรรมการเพื่อขับเคลื่อนเรื่อง CG ให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น


การกำกับดูแลกิจการ “
CG” คืออะไร 

 

คำว่า "การกำกับดูแลกิจการ" มีชื่อเรียกอื่นที่อาจได้ยินในบริบทต่าง ๆ เช่น ธรรมาภิบาล บรรษัทภิบาล หรือ Corporate Governance หรือ CG ซึ่งอาจพูดรวม ๆ มีความทำนองเดียวกันว่า หมายถึง การบริหารจัดการบริษัทที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
   
ในกรณีของบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะเห็นความสำคัญของ CG ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากประชาชนจำนวนมากซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมบริหารจัดการบริษัทได้อย่างใกล้ชิด จึงต้องแต่งตั้งบุคคลที่ไว้วางใจให้เป็นกรรมการเพื่อเข้าไปควบคุมดูแลผู้บริหารบริษัทอีกทอดหนึ่ง การที่จะเกิดความมั่นใจและไว้วางใจกันเป็นทอด ๆ เช่นนี้ได้ ก็จะต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี กล่าวคือ กรรมการต้องทำหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัท และผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่ ไม่ใช้ตำแหน่งในการหาประโยชน์หรือฉวยโอกาสจากบริษัท ดูแลผู้บริหารและฝ่ายจัดการให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่ใส่เข้ามาในบริษัท ในขณะเดียวกันก็ต้องให้สิทธิผู้ถือหุ้นรับทราบข้อมูลของบริษัท ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ รวมถึงตรวจสอบการทำงานของกรรมการและผู้บริหาร
การกำกับดูแลกิจการ CG คืออะไร 
วามสำคัญของการกำกับดูแลกิจการ
 
การที่บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการย่อมส่งผลดีทั้งกับบริษัท และกับตลาดทุนโดยรวม ดังนี้
 
ประโยชน์ต่อบริษัท ได้แก่ สามารถระดมทุนได้ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม  การมีต้นทุนการเงินที่เหมาะสม ช่วยลดต้นทุนการผลิตทำให้สามารถแข่งขันได้
 
ประโยชน์ต่อตลาดทุนโดยรวม ได้แก่ สร้างความเชื่อมั่น เพิ่มความต้องการซื้อ เพิ่มสภาพคล่อง และระดับราคา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการระดมทุนของบริษัท
 
มาตรฐานสากลด้านการกำกับดูแลกิจการ
 
มาตรฐานสากลด้านการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งใช้เป็นบรรทัดฐานในหลายประเทศ คือ OECD Principles of CorporateGovernance  และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยในปี 2549 ได้เสนอหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้แก่บริษัทจดทะเบียน ซึ่งเทียบเคียงกับหลักการกำกับดูแลกิจการของ OECD ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงอีกครั้งในปี 2555 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของอาเซียน (ASEAN Corporate Governance Scorecard) โดยมีเนื้อหาแบ่งออกเป็น หมวด ดังนี้​
 
1.   สิทธิของผู้ถือหุ้น
หลักการ: ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในความเป็นเจ้าของโดยควบคุมบริษัทผ่านการแต่งตั้งคณะกรรมการให้ทำหน้าที่แทนตนและมีสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของบริษัท บริษัทจึงควรส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิของตน
 
2.   การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
หลักการ: ผู้ถือหุ้นทุกราย ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นที่ไม่เป็นผู้บริหาร รวมทั้งผู้ถือหุ้นต่างชาติ ควรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันและเป็นธรรม ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ถูกละเมิดสิทธิควรมีโอกาสได้รับการชดเชย
                   
3.   บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
หลักการ: ผู้มีส่วนได้เสียควรได้รับการดูแลจากบริษัทตามสิทธิที่มีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการควรพิจารณาให้มีกระบวนการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างความมั่งคั่ง ความมั่นคงทางการเงินและความยั่งยืนของกิจการ
 
4.   การเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส
หลักการ: คณะกรรมการควรดูแลให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส ผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ
 
5.   ความรับผิดชอบของกรรมการ
หลักการ: คณะกรรมการมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลกิจการเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท คณะกรรมการมีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้นและเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการ​
 
การประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการ
 
ตลาดทุนไทยถูกประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการโดยหลายหน่วยงานต่างประเทศ เช่น โครงการ CG-Rosc​ โดย World Bank CG Watch​ โดย Asian corporate Governance Association ร่วมกับ CLSA  Asia-Pacific Markets  ซึ่งผ​ลการประเมินแสดงให้เห็นว่า ตลาดทุนไทยเป็นผู้นำของภูมิภาคและประสบความสำเร็จอย่างสูงด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน เนื่องจากมีการยกระดับมาตรฐานต่าง ๆ ด้วยการแก้ไขกฎหมาย กฎเกณฑ์ และแนวปฏิบัติ รวมถึงการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากขึ้น 
 ​
อกจากนี้ การประเมินการกำกับดูแลกิจการรายบริษัทจดทะเบียนโดยหน่วยงานภายในประเทศ ได้ช่วยทำให้เกิดพัฒนาการของบริษัทจดทะเบียนในการปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการให้เป็นมาตรฐานสากล เช่น โครงการการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน (CGR) โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย โครงการประเมิ​นคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เป็นต้น
 
นอกจากนี้ หลังจากมีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือในด้านต่าง ๆ รวมถึงด้านตลาดทุน ก.ล.ต. อาเซียน หรือ ASEAN Capital Market Forum เรียกกันสั้น ๆ ว่า ACMF ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมกันกำหนดกฎเกณฑ์ระเบียบและมาตรฐานกลางของตลาดทุนในกลุ่มอาเซียน ซึ่งรวมถึงการยกระดับการกำกับดูแลกิจการ (“CG”) ของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนให้ทัดเทียมกับสากลด้วย  ดังนั้น ACMF จึงได้เริ่มดำเนินโครงการประเมินการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคอาเซียนหรือ ASEAN C​G Scorecard บริษัทจดทะเบียน เพื่อให้ผู้ลงทุนต่างประเทศมีข้อมูลเกี่ยวกับ CG ของบริษัทในอาเซียนประกอบการตัดสินใจลงทุน​ 

อย่างไรก็ดี จากการประเมินตาม CG-ROSC  มีข้อสังเกตว่าประเทศไทยควรกำหนดเกณฑ์ห้ามผู้สอบบัญชีให้บริการอื่น (Non-audit service) แก่บริษัทที่ตนเป็นผู้สอบบัญชี เช่น ทำบัญชี การออกแบบและวางระบบทางการเงิน การให้บริการตรวจสอบภายใน การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายและด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการตรวจสอบ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนและปกป้องผลประโยชน์ของผู้ลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับสหรัฐอเมริกาที่มีกฎหมาย Sarbanes-Oxley Act 2002 (ข้อ 201)  


 

ลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560
 
ตลาดทุนไทยได้ใช้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด เป็นกลไกสำคัญ ในการเสริมสร้าง CG ในบริษัทจดทะเบียนมาตั้งแต่ต้นจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยในช่วงแรก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ออกหลัก CG 15ข้อ และต่อมาพัฒนาเป็นหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยแบ่งเป็น 5 ข้อ ตาม OECD Principles ที่ใช้ในขณะนั้น และเพื่อผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีดังกล่าว สำนักงานได้กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลในแบบ 56-1เกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักการนั้นบนหลัก “Comply or Explain” และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการไทยได้ประเมินการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการนั้นจากข้อมูลที่เปิดเผย (Corporate Governance Report: CGR) โดยแสดงผลประเมินเป็น 1-5 ดาว และเปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ได้ 3 ดาวขึ้นไป การประเมินดังกล่าวเป็นแรงกระตุ้นอย่างดีให้บริษัทจดทะเบียนให้ความสนใจกับการพัฒนา CGให้มีคะแนนสูงขึ้น และเมื่อรวมกับมาตรการส่งเสริมสนับสนุน การอบรม การให้รางวัลของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งสำนักงาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ภาพรวม CG ของบริษัทจดทะเบียนไทยดีขึ้น จนอยู่ในระดับผู้นำของตลาดในภูมิภาคนี้ 
 
แม้การดำเนินการที่ผ่านมาของไทยจะประสบความสำเร็จด้วยดี แต่การพัฒนา CG ต่อไป มีความท้าทาย คือปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมของโลก ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ระบบทุนนิยม และการขยายตัวของภาคธุรกิจ จึงทำให้องค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับสากล ในประเทศ และผู้ลงทุนต่างๆ ได้เรียกร้องให้บริษัทมีความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการมี CG ที่ดี ​

 
7.png
 
 
สำนักงานจึงเห็นความจำเป็นในการออกหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีใหม่เพื่อเป็นหลักปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการ ซึ่งมีบทบาทผู้นำที่รับผิดชอบในกลไกบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียน โดยหลักปฏิบัติดังกล่าวจะบูรณาการประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปอยู่ในกระบวนการทางธุรกิจ ตั้งแต่การกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ กระบวนการดำเนินงาน การติดตามและการรายงาน เพื่อให้คณะกรรมการสามารถใช้เป็นกรอบในการกำกับดูแลให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นไปเพื่อการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน
บจ.แข่งขัน สร้างมูลค่ากิจการได้อย่างยั่งยืน 
หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี​​​

 

​​​​​​การนำ CG Code ไปใช้และการเปิดเผยข้อมูล

การนำ CG Code ไปใช้และการเปิดเผยข้อมูล


คณะทำงานเพื่อการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน​
คณะทำงานเพื่อการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน