การประเมินความยากง่ายในการประกอบธุรกิจซึ่งดำเนินการโดยธนาคารโลกนั้น ประกอบด้วยตัวชี้วัดทั้งหมด 10 ด้าน โดยธนาคารโลกจะเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ รวมทั้งพิจารณาจากกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐ และเจ้าหน้าที่ประจำภูมิภาคของธนาคารโลก สำหรับรอบปี 2020 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 21 จาก 190 ประเทศทั่วโลกจากผลการประเมินด้านต่าง ๆ ดังนี้
ตัวชี้วัดด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย
สำนักงาน ก.ล.ต. รับผิดชอบในตัวชี้วัดด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตัวชี้วัดดังกล่าวจะประเมินการให้ความคุ้มครองผู้ถือหุ้นจากการที่กรรมการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากทรัพย์สินของบริษัท รวมทั้งสิทธิของผู้ถือหุ้นในการสอดส่องดูแลการดำเนินกิจการของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหากผลการประเมินในหัวข้อนี้ออกมาดี ก็จะทำให้นักลงทุนมั่นใจที่จะลงทุนมากขึ้นและส่งผลดีต่อผู้ประกอบการและตลาดทุนในภาพรวม ซึ่งตัวชี้วัดด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อยมีหัวข้อและรายละเอียดในการประเมิน ดังนี้
ความคุ้มครองตามกฎหมายไทยและพัฒนาการที่สำคัญ
ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับสำหรับตัวชี้วัดด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อยดีขึ้นจากปีที่แล้ว จากอันดับที่ 15 มาเป็นอันดับที่ 3 และหากเทียบกับประเทศในภูมิภาค East Asia & Pacific ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 2 ร่วมกับประเทศสิงคโปร์ เป็นรองเพียงประเทศมาเลเซีย อันเป็นผลมาจากการที่สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ริเริ่มประชุมทางไกล (conference call) กับผู้ประเมินของธนาคารโลก จากกรุงวอชิงตัน ดีซี เป็นครั้งแรก โดยเลขาธิการ ก.ล.ต. ได้ร่วมชี้แจงพร้อมกับตัวแทนจากสำนักงานศาลยุติธรรม และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยมีการชี้แจงและแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้ธนาคารโลกเข้าใจบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมายไทยในส่วนของการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อยมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากผลการประเมินในหลายหัวข้อมีพัฒนาการที่ดีขึ้นโดยมีรายละเอียดคะแนน เปรียบเทียบกับผลการประเมินประจำปี 2019 ดังนี้
การดำเนินการชี้แจงข้อมูลและข้อกฎหมายของสำนักงาน