Sign In
กฎเกณฑ์

​​​​​​การระดมทุน


ตราสารทุน


หุ้น

 

การเสนอขายหุ้น/ใบสำคัญแสดงสิทธิ (warrant) แบบเฉพาะเจาะจง (PP) – กรณีบริษัทจดทะเบียน (Listed Company) (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป)

 

กรอบการเสนอขายในวงจำกัด:

(1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 50 รายภายในรอบระยะเวลา 12 เดือน

(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 20 ล้านบาทภายในรอบระยะเวลา 12 เดือน 

(3) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบัน  ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงานของบริษัทที่ออกหุ้น

การนับจำนวนผู้ลงทุนตาม (1) หรือการคำนวณมูลค่ารวมการเสนอขายหุ้นตาม (2) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนตาม (3)  ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทำในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน


หลักเกณฑ์การอนุญาต:

หลักเกณฑ์การอนุญาตจะแบ่งออกเป็น 3 กรณี ขึ้นกับลักษณะการกำหนดราคาเสนอขายหุ้นตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงานในทุกกรณี โดยบริษัทจดทะเบียนจะต้องนำส่งหนังสือนัดประชุมที่มีข้อมูลตามที่กำหนดในหลักเกณฑ์   ให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันประชุม และหากเข้าข่ายกรณีที่มีนัยสำคัญ ก็จะต้องจัดให้มีรายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (“IFA") เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติ
โดยให้บริษัทจดทะเบียนนำส่งร่างหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและร่างความเห็น IFA ต่อสำนักงาน เพื่อสอบทานข้อมูลและแจ้งข้อสังเกต (ถ้ามี) เพื่อปรับปรุงก่อนจัดส่งไปยังผู้ถือหุ้น

 

รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการในแต่ละกรณี สมารถสรุปได้ตามแผนภาพดังนี้


กรณีที่ 1 : ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมอบหมายให้คณะกรรมการกำหนดราคาเสนอขายหุ้นตามราคาตลาด


 

 

กรณีที่ 2 : ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติกำหนดราคาเสนอขายชัดเจน (ทั้งนี้ อาจกำหนดเป็นราคาขั้นต่ำ เป็นช่วงราคา หรือเป็นสูตรการคำนวณที่อย่างน้อยต้องแสดงราคาขั้นต่ำก็ได้)



 

กรณีที่ 3 : การเสนอขายหุ้นที่เหลือจากการจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วน (RO/PPO)





ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดให้มีรายงานความเห็นของ IFA สำหรับกรณีที่มีนัยสำคัญ:

  • กรณีที่มีนัยสำคัญ

 ​หากการเสนอขายหุ้น PP เข้าข่ายกรณีที่มีนัยสำคัญดังต่อไปนี้ บริษัทจดทะเบียนจะต้องจัดให้มีรายงานความเห็นของ IFA ให้ผู้ถือหุ้นประกอบการพิจารณาอนุมัติ

(1) การเสนอขายหุ้น PP ราคาต่ำกว่าราคาตลาด

(2) การเสนอขายหุ้น PP ทำให้เกิดผลกระทบต่อส่วนแบ่งกำไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น (EPS/control dilution) คิดเป็นสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไป

(3) การเสนอขายหุ้น PP ที่อาจมีผลให้ผู้ที่ได้รับจัดสรรกลายเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงสูงสุดในบริษัทจดทะเบียน (รวมบุคคลตามมาตรา 258 / concert party /บุคคลตามมาตรา 258)


  • ข้อมูลในรายงานความเห็น IFA

ความเห็นของ IFA ต้องครอบคลุมในเรื่องอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(1) ความเหมาะสมของราคาและเงื่อนไขการเสนอขายหุ้น PP

(2) ความสมเหตุสมผลและประโยชน์ของการเสนอขายหุ้น PP ต่อผู้ลงทุนดังกล่าว รวมถึงแผนการใช้เงิน เมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหุ้น PP

(3) คำแนะนำว่าผู้ถือหุ้นควรลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ

 

​ทั้งนี้ หากบริษัทจดทะเบียนมีการทำรายการที่เข้าข่ายต้องจัดให้มีรายงานความเห็นของ IFA อยู่แล้ว เช่น รายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ กรณีขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น (whitewash) เป็นต้น บริษัทจดทะเบียนสามารถให้ IFA รายเดียวกันเป็นผู้จัดทำรายงานความเห็นรวมอยู่ในฉบับเดียวกันได้ โดยต้องให้ความเห็นครอบคลุมตามข้อกำหนดในหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง


  • การสอบทานโดยสำนักงาน

​ให้บริษัทจดทะเบียนนำส่งร่างหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและร่างความเห็น IFA ให้สำนักงานเพื่อสอบทานข้อมูลและแจ้งข้อสังเกต (ถ้ามี) เพื่อปรับปรุงก่อนจัดส่งไปยังผู้ถือหุ้น โดยนำส่ง ผ่านระบบ E-SUBMISSION ของสำนักงาน ทั้งนี้ สำนักงานจะแจ้งข้อสังเกต (ถ้ามี) ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน 

 

การพิจารณากำหนดราคาตลาด

​การกำหนดราคาตลาดให้ใช้ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักก่อน (ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ย้อนหลัง 7-15 วันทำการติดต่อกัน ก่อนวันที่คณะกรรมการมีมติ) เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุให้ไม่สามารถคำนวณราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก หรือในกรณีที่พิจารณาสภาพคล่องของการซื้อขายหุ้นแล้วมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นราคาตลาด ให้บริษัทจดทะเบียนใช้ราคาดังต่อไปนี้ ตามลำดับ

(1)  ราคา Book Building

(2)  ราคายุติธรรมของหุ้นที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สำนักงานห้ความเห็นชอบ (สำหรับกรณีมีเหตุให้ไม่สามารถใช้ราคา Book Building ได้)

 

การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นต่อบุคคลในวงจำกัด (“warrant-PP")

การเสนอขาย warrant-PP ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาตเช่นเดียวกับการเสนอขายหุ้น PP โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมดังนี้

(1) การพิจารณาราคาเสนอขาย warrant-PP ว่าเข้าข่ายเป็นการเสนอขายราคาต่ำหรือไม่ ให้ใช้ราคาเสนอขาย warrant-PP รวมกับราคาใช้สิทธิ เปรียบเทียบกับราคาตลาด

(2) บริษัทจดทะเบียนจะต้องจัดให้มีการจดข้อจำกัดการโอน warrant-PP กับสำนักงาน ซึ่งมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการ warrant-PP ดังกล่าวไม่ว่าในทอดใด ๆ  หากการโอนดังกล่าวจะทำให้ไม่สามารถคงลักษณะของบุคคลในวงจำกัด  เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก

(3) หากเป็นการเสนอขาย warrant-PP ที่เป็นการเสนอให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติโดยกำหนดตัวผู้ลงทุน และ/หรือ ราคาเสนอขายที่ชัดเจน บริษัทจดทะเบียนจะต้องจัดให้มีข้อตกลงการลงทุนใน warrant-PP โดยกำหนดข้อห้ามการโอน warrant-PP ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก

 

เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต

(1) ห้​ามบริษัทจดทะเบียนโฆษณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลเป็นการทั่วไป

(2) กรณีที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่ได้กำหนดราคาเสนอขายไว้อย่างชัดเจนบริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคล PP เช่น ราคาเสนอขาย และวิธีการกำหนดราคา เป็นต้น ก่อนการเสนอขายเสนอผ่านระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด

(3) ห้ามบริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นให้แก่บริษัทย่อย

(4) หากผู้ได้รับการจัดสรรเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินการตามหลักเกณฑ์การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน

(5) บริษัทจดทะเบียนต้องใช้เงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การออกหุ้นเพิ่มทุนซึ่งระบุในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น


ปัจจัยความเสี่ยง

ประเด็นสำคัญ

  • บริษัทมีความเสี่ยงเรื่องอะไรบ้าง

  • ถ้าเกิดความเสี่ยงนั้นขึ้นจะกระทบต่อเงินที่ลงทุนเพียงใด

ข้อมูลที่เปิดเผย

  • คำอธิบายรายละเอียดที่เป็นความเสี่ยงเฉพาะต่อบริษัท

  • โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

  • ผลกระทบต่อบริษัทหากเกิดความเสี่ยงนั้น

 ​​

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ประเด็นสำคัญ

  • บริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม ทำธุรกิจอะไร ผลิตภัณฑ์/บริการ รายได้หลักมาจากธุรกิจใด

  • แนวโน้มอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้หรือไม่

  • มีข้อจำกัดในการทำธุรกิจหรือไม่

ข้อมูลที่เปิดเผย

  • โครงสร้างธุรกิจ/ผลิตภัณฑ์หรือบริการ/รายได้

  • ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน

  • การวิจัยและพัฒนา

 

โครงสร้างเงินทุน

ประเด็นสำคัญ

  • ใครเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สามารถควบคุมคะแนนเสียง

  • มีการคานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่หรือไม่

  • มีหลักทรัพย์อื่นที่จะทำให้เกิด dilution effect หรือไม่

  • นโยบายการจ่ายปันผลเป็นอย่างไร

ข้อมูลที่เปิดเผย

  • ประเภทหลักทรัพย์ที่ออกและยังคงมีอยู่ ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้ หรือหลักทรัพย์แปลงสภาพต่าง ๆ ตลอดจนเงื่อนไขสำคัญของหลักทรัพย์

  • โครงสร้างผู้ถือหุ้น (10 อันดับแรก)

  • การทำข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น (shareholder agreement)

  • นโยบายการจ่ายเงินปันผล (ทั้งบริษัทและบริษัทย่อย)

 

โครงสร้างการจัดการ

ประเด็นสำคัญ

  • ใครเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร และมีขอบเขตอำนาจเพียงใด

  • ใครเป็นกรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ (AC) ที่ช่วยเป็นหูเป็นตาให้ผู้ลงทุนรายย่อย

  • การกำกับดูแลกิจการและระบบควบคุมภายในเป็นอย่างไร

ข้อมูลที่เปิดเผย

  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
    • คณะกรรมการแต่ละชุด (ชื่อ,ขอบเขตอำนาจ)

    • AC ที่มีประสบการณ์ในการสอบทานงบการเงิน

    • ชื่อและตำแหน่งผู้บริหาร/เลขานุการบริษัท

  • การสรรหากรรมการและผู้บริหาร

  • ค่าตอบแทน

  • การกำกับดูแลกิจการ (CG) / การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน

  • จำนวนพนักงานทั้งหมด จำนวนพนักงานในสายงานหลัก ค่าตอบแทนโดยรวม ข้อพิพาทด้านแรงงาน (ถ้ามี)

  • การต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-corruption)

  • ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibilities : CSR)

 

รายการระหว่างกัน

ประเด็นสำคัญ

  • บริษัทมีการทำรายการกับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่

  • รายการที่ทำโปร่งใส เป็นธรรม สมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร

ข้อมูลที่เปิดเผย

  • รายการที่ทำในงวดที่ผ่านมา
    • ชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องและความสัมพันธ์

    • รายการประเภทไหน จำนวนเท่าใด

    • เป็นราคาตลาดหรือราคายุติธรรมหรือไม่

    • เงื่อนไขเป็นไปตามธุรกิจปกติหรือไม่

  • ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล/ความเห็นคณะกรรมการตรวจสอบ

  • นโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการในอนาคต​ 

คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion & Analysis : MD&A)

ประเด็นสำคัญ

  • เหตุผลที่ทำให้ฐานะและผลการดำเนินงานเป็นเช่นนี้ เหตุการณ์สำคัญที่กระทบต่องบ

  • วิเคราะห์เปรียบเทียบกับอดีตของบริษัท กับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน

  • ภาระผูกพันหรือปัจจัยที่จะกระทบบริษัท

ข้อมูลที่เปิดเผย

  • สรุปข้อมูลการเงินเปรียบเทียบ 3 ปี

  • อธิบายเชิงวิเคราะห์

    • ฐานะการเงิน (สินทรัพย์ สภาพคล่อง รายจ่ายลงทุน แหล่งที่มาของเงินทุน (หนี้สิน/ส่วนทุน))

    • ผลการดำเนินงาน (รายได้และต้นทุนตามสายธุรกิจ ค่าใช้จ่าย รายได้หรือค่าใช้จ่ายพิเศษ ต้นทุนทางการเงิน อัตรากำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิ)

    • อัตราส่วนทางการเงิน (ratios) ที่สำคัญ

  • ปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

 

เหตุการณ์และปัจจัยที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ (forward looking)

ประเด็นสำคัญ

  • ข้อมูลที่ทำให้สามารถคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคตได้มีอะไรบ้าง

ข้อมูลที่เปิดเผย

มีความแน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลต่อการดำเนินงาน เช่น

  • เหตุการณ์ ภาระผูกพัน หรือสัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว และมีผลกระทบต่องบการเงินที่กำลังจะออก

  • รายได้ที่อาจไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต​​​


กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายจดทะเบียนตราสารทุน 1 – 2

โดยแบ่งตามหมวดธุรกิจของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ดังนี้

ท่องเที่ยวและสันทนาการ-วัสดุก่อสร้าง
โทรศัพท์ 0-2033-9619 / 0-2263-6124 / 0-2033-9590​ / 0-2263-6065

การแพทย์ – บรรจุภัณฑ์ - บริหารเฉพาะกิจ
โทรศัพท์ 0-2263-6110 / 0-2263-6234 / 0-2263-6248 / 0-2263-6535

ยานยนต์– แฟชั่น - พาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2263-6112 / 0-2263-6303 /0-2263-6334 / 0-2263-6204

ธนาคาร - ธุรกิจการเงิน – ประกันภัยและประกันชีวิต
โทรศัพท์ 0-2263-6556 / 0-2263-6085 / 0-2033-9621

สื่อและสิ่งพิมพ์ – ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ – สินค้าอุปโภคบริโภค
โทรศัพท์ 0-2263-6093 / 0-2033-9949 / 0-2033-4671 / 0-2263-6277

ทรัพยากร – ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ – บริการเฉพาะกิจ
โทรศัพท์ 0-2033-9610 / 0-2033-9606 / 0-2033-9656 / 0-2263-6550

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
โทรศัพท์ 0-2033-9640 / 0-2033-9528 / 0-2263-6208  / 0-2263- 6514

ไฟฟ้า - เหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ
โทรศัพท์ 0-2033-9976 / 0-2033-9923 / 0-2263-6102 / 0-2033-4636

อาหารและเครื่องดื่ม – ธุรกิจการเกษตร
โทรศัพท์ 0-2033-9628 / 0-2263-6066 /0-2033-4657 / 0-2033-9604

ขนส่งและโลจิสติกส์ – วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร  
โทรศัพท์ 0-2033-9605 /0-2033-4622 / 0-2033-9821 / 0-2263-6367 / 0-2033-9568

ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน – บริการรับเหมาก่อสร้าง
โทรศัพท์ 0-2263-6111 / 0-2263-6512  / 0-2263-6214  / 0-2033-9947

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2263-6232 / 0-2033-9520 / 0-2033-4610

กรณีสอบถามเกี่ยวกับระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2263-6113

กรณีสอบถามเกี่ยวกับแบบ 56-1 One Report
โทรศัพท์  0-2263-6098 หรือ 0-2033-9618

สอบถามการส่ง online รายงานแบบ 59 และแบบ 246-2

โทร. 1207 ต่อ 3 ต่อ 1 หรือ email helpdesk@sec.or.th

การเสนอขายหุ้นของวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE)

โทรศัพท์ 0-2263 6254

กรณีไม่ระบุชื่อบริษัท

โทรศัพท์ 0-2263-6120 / 0-2033-9908 / 0-2033-4644 / 0-2263-6120

อีเมล corporat@sec.or.th

 

 ​​