Sign In
กฎเกณฑ์
​​​​​​​ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์


สรุปหลักเกณฑ์​

แนวทางการยื่นคำขออนุญาต เอกสารหลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการเสนอขาย DW

I. กรณีเสนอขาย DW ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วนหรือไม่มีทรัพย์สินเป็นประกัน


ก่อนการเสนอขาย

การยื่นขออนุญาตเป็นผู้ออก (issuer) และการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย DW และร่างหนังสือชี้ชวน


 1. การยื่นขออนุญาตครั้งแรก (new comer)

​1.1 สำหรับการยื่นขออนุญาต issuer


(1) ยื่นคำขอตามขั้นตอนการยื่นข้อมูลและเอกสารหลักฐานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสา​รแนบ 1) โดยสามารถเลือกวิธีส่งเอกสารแบบ fully paperless หรือ partially paperless

(2) ระยะเวลาพิจารณา : ภายใน 10 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับข้อมูลและเอกสาร (ถ้ามี) 

(3) แบบฟอร์มที่ใช้ : แบบ 35-DW-1 ตามระบบอิเล็กทรอนิกส์ 

(4) ค่าธรรมเนียม : 15,000 บาท (ยังไม่รวม VAT) ให้รวมรายการที่ยื่นทั้งเดือน โดยให้ชำระภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของสิ้นเดือนที่ยื่นแบบคำขอ ตามช่องทางที่สำนักงานกำหนด

(5)  เอกสารหลักฐานประกอบคำขอที่ต้องจัดส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

  • ภาพ​​​​​ถ่ายมติคณะกรรมการ / ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ที่อนุมัติให้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่จะเสนอขาย

  • ​​​​​​ภาพถ่ายหนังสือรับรองที่กระทรวงพาณิชย์ออกให้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนวันยื่นคำขออนุญาต

  • ภาพถ่ายสัญญาให้บุคคลอื่นมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)

  • ภาพถ่ายหนังสือรับรองแสดงการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (กรณีผู้ขออนุญาตมิใช่บริษัทจดทะเบียน)

  • ภาพถ่ายหนังสือแสดงข้อผูกพันต่อสำนักงานว่า จะทำสัญญา back to back agreement กับบุคคลที่กำหนดก่อนเสนอขายในแต่ละครั้ง (ถ้ามี)

  • ภาพถ่ายหนังสือแสดงข้อผูกพันต่อสำนักงานว่า จะจัดให้มีผู้ค้ำประกันที่เข้าตามเกณฑ์ ก่อนเสนอขายในแต่ละครั้ง (ถ้ามี)

  • ภาพถ่ายเอกสารหลักฐานที่แสดงว่า สามารถทำธุรกรรมอนุพันธ์ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย  (กรณี issuer เป็นธนาคารพาณิชย์)

  • ภาพถ่ายร่างข้อกำหนดสิทธิหลักของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

  • ภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจลงนามในแบบคำขออนุญาต (กรณีกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารสูงสุดเป็นผู้ลงนาม)

  • เอกสารอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา (ถ้ามี)


​​​​​​เมื่อไ​ด้รับ​อนุญาต จะสามารถออก DW โดยไม่จำกัดมูลค่าและจำนวนครั้ง ได้ในระยะเวลา 1 ปีตามรอบระยะเวลาการส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี

 
1.2 การยื่นแบบ filing และร่างหนังสือชี้ชว (ประกาศที่ ทจ.15/2553)




 ​1.2.1 กรณีเสนอขาย DW ที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นประกัน (non-collateralised)

​​(1) ยื่น filing และร่างหนังสือชี้ชวน ตามขั้นตอนการยื่นข้อมูลและเอกสารหลักฐานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารแนบ 1) โดยสามารถเลือกวิธีส่งเอกสารแบบ fully paperless หรือ partially paperless

​​​(2) แบบ filing จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 10 วันทำการนับแต่วันที่สำนักงานได้รับแบบ filing ครบถ้วน (มีข้อมูลเสนอขายอย่างน้อย 1 รุ่น)  

(3) แบบฟอร์มที่ใช้ : แบบ 69-DW-full ตามระบบอิเล็กทรอนิกส์ 

(4) ค่าธรรมเนียม : 20,000 บาท บวกด้วยอัตรา 10,000 บาทคูณจำนวนรุ่น (ยังไม่รวม VAT) ให้รวมรายการที่ยื่นทั้งเดือน โดยให้ชำระภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของสิ้นเดือนที่ยื่นแบบ filing ตามช่องทางที่สำนักงานกำหนด

(5) เอกสารหลักฐานประกอบ filing ที่ต้องจัดส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

  • หนังสือรับรองนิติบุคคล (ภาพถ่ายหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่ลงนามรับรองโดยผู้ที่มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท และประทับตราบริษัท (ถ้ามี) กรณีมีข้อมูลเปลี่ยนแปลงจากคำขออนุญาต)

  • ภาพถ่ายมติคณะกรรมการ/ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ที่อนุมัติให้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่จะเสนอขาย (หากเกิน 2 ปี ต้องแนบพร้อมหนังสือรับรองไม่มีมติมาหักล้าง)

  • ภาพถ่ายร่างข้อกำหนดสิทธิหลักของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (browse ประกอบ filing เพื่อเผยแพร่ให้กับนักลงทุน)

  • ภาพถ่ายงบการเงิน รับรองโดยผู้มีหน้าที่รับรองที่ได้รับการมอบหมาย (สามารถอ้างอิงเป็น link ไปที่งบการเงินที่เปิดเผยได้)

  • ภาพถ่ายแบบรายงานประจำปี (แบบ 56-1/ แบบ 56-DW) รับรองโดยผู้มีหน้าที่รับรองที่ได้รับการมอบหมาย (สามารถอ้างอิงเป็น link ไปที่แบบรายงานประจำปี (แบบ 56-1/ แบบ 56-DW) ที่เปิดเผยได้)

  • ร่างข้อกำหนดสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เฉพาะส่วนที่เพิ่มเติมจากข้อกำหนดสิทธิหลักที่ได้ยื่นต่อสำนักงานแล้ว (กรณีมาพร้อมกับการยื่นข้อมูลตราสาร)

  • หนังสือยืนยันต่อสำนักงานว่าการออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะไม่ทำให้เงินกองทุนหรือเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ขออนุญาตมีจำนวนลดลงต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของผู้ขออนุญาต

  • เอกสารรายงานการอันดับความน่าเชื่อถือ ฉบับล่าสุด

  • ภาพถ่ายหนังสือสัญญา back to back agreement กับบุคคลที่กำหนดก่อนเสนอขายในแต่ละครั้ง (ถ้ามี)

  • ภาพถ่ายหนังสือแสดงข้อผูกพันต่อสำนักงานว่า จะจัดให้มีผู้ค้ำประกันที่เข้าตามเกณฑ์ ก่อนเสนอขายในแต่ละครั้ง (ถ้ามี)

  • หนังสือขอจดข้อจำกัดการโอน (ถ้ามี)

  • หนังสือมอบอำนาจลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูล (ถ้ามี)

  • เอกสารอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา (ถ้ามี)

 ​​1.2.2 กรณีเสนอขาย DW ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วน (partially collateralised)

​(1)  ยื่น filing และร่างหนังสือชี้ชวน ตามขั้นตอนการยื่นข้อมูลและเอกสารหลักฐานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารแนบ 1) โดยสามารถเลือกวิธีส่งเอกสารแบบ fully paperless หรือ partially paperless 

(2)  แบบ filing จะมีผลใช้บังคับ เมื่อพ้น 10 วันทำการนับแต่วันที่สำนักงานได้รับแบบ filing ที่ครบถ้วน   

(3)  แบบฟอร์มที่ใช้ : แบบ 69-DW-full ตามระบบอิเล็กทรอนิกส์ 

(4)  ค่าธรรมเนียม : 50,000 บาท (ยังไม่รวม VAT) ให้รวมรายการที่ยื่นทั้งเดือน โดยให้ชำระภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของสิ้นเดือนที่ยื่นแบบ filing ตามช่องทางที่สำนักงานกำหนด


 2. การต่ออายุหรือการยื่นขออนุญาตในครั้งต่อไป (ทุกปี)

​2.1 การต่ออายุแบบต่อเนื่องอัตโนมัติ (auto approval) ต้องยื่นคำขอภายในรอบระยะเวลาส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1 หรือแบบ 56-DW) (เช่น กรณีรอบปีบัญชีสิ้นสุดเมื่อ 31 ธ.ค. ต้องต่ออายุให้แล้วเสร็จภายใน 31 มี.ค. / กรณีรอบปีบัญชีสิ้นสุดเมื่อ 31 มี.ค. ต้องต่ออายุให้แล้วเสร็จภายใน 30 มิ.ย.)

ใ​​ห้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์เดียวกับการยื่นขออนุญาตครั้งแรก (new comer) ตามข้อ 1 โดยสามารถเลือกวิธีส่งเอกสารแบบ fully paperless หรือ partially paperless

​ทั้งนี้ สำนักงานจะพิจารณาคำขอทันที นับแต่วันที่ได้รับข้อมูลและเอกสาร (ถ้ามี)


​2.2 การต่ออายุแบบไม่ต่อเนื่อง กรณียื่นภายหลังรอบระยะเวลาการส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1 หรือแบบ 56-DW) ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์เดียวกับข้อ 1. โดยสามารถเลือกวิธีส่งเอกสารแบบ fully paperless หรือ partially paperless 


3. การยื่นขออนุญาตเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และแบบ filing DW รายรุ่น ก่อนการเสนอขาย DW

ให้ยื่นคำขอและ filing แบบ fully paperless เท่านั้น



​​3.1 คำขออนุญาตรายครั้ง การยื่นคำขออนุญาตเสนอขาย DW ในแต่ละครั้ง เพื่อแสดงว่า issuer ยังดำรงคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด  และเป็นไปตามเกณฑ์สำหรับการเสนอขายในแต่ละครั้ง เช่น ไม่เป็นบุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง และประเภทหลักทรัพย์อ้างอิงหรือดัชนีหลักทรัพย์อ้างอิง เป็นต้น  โดยแบ่งการยื่นคำขออนุญาตออกเป็น 2 แบบ ดังนี้         

การอนุญาตแบบปกติ
​( m​​anual approve)

อนุญาตแบบอัตโนมัติ
(แบบ auto approve)

  • issuer ที่​มีคุณสมบัติตามข้อ 30 แห่งประกาศ ทจ. 15/2553

  • issuer ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 30 แห่งประกาศ ทจ. 15/2553

  • มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NCR) อยู่ระหว่างเกณฑ์ขั้นต่ำ - early warning

  • มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NCR) มากกว่าระดับ early warning

  • ใช้คุณสมบัติของ third party ครั้งแรก/ รายใหม่

  • ​ใช้คุณสมบัติของ third party ที่เคยผ่านการพิจารณาแล้ว (รายเดิม) และยังมีคุณสมบัติครบถ้วน

  • further issue ที่ underlying ลำดับที่ 51-100 ขาดคุณสมบัติเกี่ยวกับ market capitalization


  

​​3.1.1 กรณีอนุญาตแบบปกติ (แบบ manual approval)

​(1) คุณสมบัติผู้ยื่น 

​กรณีใช้คุณสมบัติของบริษัทเอง

​​​​-  i​ssuer ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 30 แห่งประกาศ ทจ. 15/2553

​​​​-  มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NCR) อยู่ระหว่างร้อยละ 7-เกณฑ์ขั้นต่ำ (ซึ่งต้องคำนวณ โดยคำนึงถึงการออก DW ทุกรุ่นแล้ว)

​​​​​-  further issue ที่ underlying มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามประกาศ (หุ้นอ้างอิงของ DW ไม่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เช่น ลำดับที่ 51-100 ขาดคุณสมบัติเกี่ยวกับ market capitalization)


​​​​กรณีใช้คุณสมบัติของ 3rd party ในครั้งแรกที่ยื่นแบบ filing

​​​​​-  issuer ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 30 (1)(ค) และกรณีไม่เข้าข้อ 30(2)(ก) หรือ 30(2)(ข) แห่งประกาศ ทจ. 15/2553 

​​​​​-  มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NCR) อยู่ระหว่างร้อยละ 7-เกณฑ์ขั้นต่ำ (ซึ่งต้องคำนวณโดยคำนึงถึงการออก DW ทุกรุ่นแล้ว)

​​​​​-  further issue ที่ underlying มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามประกาศ (หุ้นอ้างอิงของ DW ไม่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เช่น ลำดับที่ 51-100 ขาดคุณสมบัติเกี่ยวกับ market capitalization)


 ​​​​(2)  วิธีการยื่นขออนุญาต

​​​​​-  กรอกข้อมูลตามที่กำหนดในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ครบถ้วน

-  ยื่นแบบคำขออนุญาต issuer ตามที่กำหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์  โดยสำนักงานจะพิจารณาอนุญาตภายใน 5 วันทำการ 

-  แบบฟอร์มที่ใช้ : แบบ 35-DW-2 ตามระบบอิเล็กทรอนิกส์

-  ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออนุญาต : ไม่มี

-  เอกสารหลักฐานประกอบคำขอนำเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องส่ง hard copy


​​3.1.2 กรณีอนุญาตแบบอัตโนมัติ (แบบ auto approval) เป็นอีกช่องทางเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการพิจารณาอนุญาต

​​​​(1) คุณสมบัติผู้ยื่น

กรณีใช้คุณสมบัติของบริษัทเอง

-  issuer ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 30 แห่งประกาศ ทจ. 15/2553

-  มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NCR) มากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ

​​​​กรณีใช้คุณสมบัติของ 3rd party ในการยื่นครั้งถัดไป

-  issuer ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 30 (1)(ค) และกรณีไม่เข้าข้อ 30(2)(ก) หรือ 30(2)(ข) แห่งประกาศ ทจ. 15/2553

-  มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NCR) มากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ  

-  3rd party เป็นรายเดิมและดำรงคุณสมบัติได้ครบถ้วน

 

​​​(2) วิธีการยื่นขออนุญาต

​-  กรอกข้อมูลตามที่กำหนดในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ครบถ้วน

-  ยื่นแบบคำขออนุญาต issuer ตามที่กำหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบจะแจ้งผลการพิจารณาทันที

-  แบบฟอร์มที่ใช้ : แบบ 35-DW-2

-  ค่าธรรมเนียม : ไม่มี

-  เอกสารหลักฐานประกอบคำขอ นำเข้าระบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องนำส่ง hard copy 

 

​3.2 ารยื่นแบบ filing และร่างหนังสือชี้ชวนข้อมูล DW  (ประกาศที่ ทจ.15/2553)

​​3.2.1 กรณีเสนอขาย DW ที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นประกัน (non-collateralised)

​​​​(1)  กรอกข้อมูลตามที่กำหนดในระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ครบถ้วน

(2)  สำหรับการยื่น filing และร่างหนังสือชี้ชวนข้อมูล DW ในแต่ละครั้ง  ในกรณีที่แบบ 69-DW-full  ที่ได้ยื่นไว้มีผลใช้บังคับแล้วสามารถยื่นแบบ 69-DW-short พร้อมยื่นเอกสารหลักฐานประกอบในระบบอิเล็กทรอนิกส์  สำหรับการเสนอขายในครั้งต่อ ๆ ไปได้ โดยแบบ 69-DW-short จะมีผลใช้บังคับในวันทำการถัดจากวันที่สำนักงานได้รับแบบ

(3)  แบบฟอร์มที่ใช้ : แบบ 69-DW-short ตามระบบอิเล็กทรอนิกส์

(4)  ค่าธรรมเนียม : 10,000 บาท ต่อรุ่น (ยังไม่รวม VAT) ให้รวมรายการที่ยื่นทั้งเดือน โดยให้ชำระภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของสิ้นเดือนที่ยื่นแบบ filing ตามช่องทางที่สำนักงานกำหนด

 

​​​3.2.2 กรณีเสนอขาย DW ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วน (partially collateralised) เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกับข้อ 1.2.2

 

*** หากผู้ออก DW ค้างชำระค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและแบบ filing DW เกินกำหนด จะไม่สามารถเสนอขาย DW ที่ออกใหม่เพิ่มเติมได้ ***

      

​ภายหลังการเสนอขาย

​4. การรายงานผลการขาย  (ประกาศที่ สจ. 8/2553)          

            4.1 กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (IPO)

                     - issuer รายงานผลการขายต่อสำนักงานภายใน 15 วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย [1]

                     - แบบฟอร์มที่ใช้: แบบฟอร์มตามระบบอิเล็กทรอนิกส์     

-------------------------------------------​

[1] กรณีเสนอขายอย่างต่อเนื่อง วันปิดการเสนอขายหมายถึงวันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย

 -------------------------------------------

                              

            4.2 กรณีการเสนอขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (direct listing)

                     - ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด

 

5. เอกสารที่นำส่งต่อสำนักงานภายในระยะเวลาเดียวกับการรายงานผลการขาย (ประกาศที่ ทจ. 15/2553 และ จ. 8/2553)

            5.1 รายชื่อเอกสารที่ต้องนำส่ง (เอกสารแนบ 2)

            5.2 ระยะเวลาการนำส่ง

​​​(1) กรณีเสนอขาย DW แบบ IPO ให้นำส่งเอกสารพร้อมรายงานผลการขาย​

(2) กรณีเสนอขาย DW แบบ direct listing ให้นำส่งเอกสารภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของเดือนแรกที่มีการเสนอขาย

 

6. การรายงานผลการใช้สิทธิ  (ประกาศที่ สจ. 8/2553)      

            6.1 กรณี DW ที่ไม่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ 

                     - issuer รายงานผลการใช้สิทธิต่อสำนักงานภายใน 15 วันนับแต่วันใช้สิทธิ [​2]

                     - แบบฟอร์มที่ใช้: แบบฟอร์มตามระบบอิเล็กทรอนิกส์                                   

            6.2 กรณี DW ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ 

                     - ให้เป็นไปตามตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด

 -------------------------------------------​​​

 [​2] กรณีที่อาจใช้สิทธิได้อย่างต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กำหนดให้ใช้สิทธิ ให้ issuer ยื่นรายงานการใช้สิทธิภายในสิบห้าวัน นับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการใช้สิทธิ

 -------------------------------------------​​​


7. การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน (ประกาศที่ ทจ. 44/2561)

​ให้ issuer ที่มิได้มีหลักทรัพย์ประเภทอื่นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ  นำส่งงบการเงินต่อสำนักงานภายในระยะเวลาเดียวกับที่จัดส่งให้กับหน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรง หรือกระทรวงพาณิชย์ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน และยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-dw หรือแบบ 56-1 ซึ่งเพิ่มเติมข้อมูลตามแบบ 56-dw แล้ว) ต่อสำนักงานทุกปีจนกว่าจะสิ้นสุดหน้าที่ตามที่กำหนดในประกาศดังกล่าว

 

8. การรายงานเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ (ประกาศที่ ทจ. 15/2553 และประกาศที่ สจ. 8/2553)

​​- issuer ต้องรายงานเหตุการณ์ตามที่ระบุ พร้อมด้วยเหตุผลหรือแนวทางแก้ไข ต่อสำนักงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารแนบ 3)

 

9. วิธีการเปิดเผยสารสนเทศและจัดส่งเอกสารหรือสำเนาเอกสาร

สำหรับการรายงานภายหลังการเสนอขายตามข้อ 4 – 8 ให้ใช้วิธีการรายงานและช่องทางดังต่อไปนี้

- รายงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

- กรณี issuer ได้ยื่นรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด ให้ถือว่าได้รายงานกับสำนักงานแล้ว

 


II. กรณีเสน​​อขาย DW ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันเต็มจำนวน

 

ก่อนการเสนอขาย

การยื่นขออนุญาตเป็นผู้ออก (issuer) และการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย DW และร่างหนังสือชี้ชวน

 



1. การยื่นขออนุญาตเป็นผู้ออก (issuer)  

​​1.1 สำหรับการยื่นขออนุญาต issuer


(1) ​​​ยื่นคำขอตามขั้นตอนการยื่นข้อมูลและเอกสารหลักฐานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารแนบ 1)(2) ระยะเวลาพิจารณา : ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับข้อมูลและเอกสาร (ถ้ามี) พร้อมค่าธรรมเนียม (ภายใน 15.00 น.) ครบถ้วน  ทั้งนี้ ให้ issuer ยื่นขออนุญาตเป็นรายครั้งที่เสนอขาย 

(3) แบบฟอร์มที่ใช้:  แบบ 35-dw-มีประกันเต็มจำนวน ตามระบบอิเล็กทรอนิกส์

(4) ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ:  10,000 บาท (ยังไม่รวม VAT) 

(5) เอกสารหลักฐานประกอบ

  • ภาพถ่ายมติคณะกรรมการ/ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ที่อนุมัติให้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่จะเสนอขาย

  • ภาพถ่ายหนังสือรับรองที่กระทรวงพาณิชย์ออกให้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนวันยื่นคำขออนุญาต

  • ภาพถ่ายสัญญาให้บุคคลอื่นมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)

  • ภาพถ่ายหนังสือรับรองแสดงการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (กรณีผู้ขออนุญาตมิใช่บริษัทจดทะเบียน)

  • ภาพถ่ายร่างข้อกำหนดสิทธิหลักของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

  • หนังสือขอจดข้อจำกัดการโอน กรณีเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันทั้งจำนวน

  • ร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์และสัญญาอื่นที่เกี่ยวข้อง

  • ภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจลงนามในแบบคำขออนุญาต (กรณีกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารสูงสุดเป็นผู้ลงนาม)


 ​1.2 การยื่นแบบ filing และร่างหนังสือชี้ชวน (ประกาศที่ ทจ.15/2553)



(1) ยื่น filing ตามขั้นตอนการยื่นข้อมูลและเอกสารหลักฐานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารแนบ 1)

(2) ระยะเวลาพิจารณา : ภายใน 10 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับข้อมูลและเอกสาร (ถ้ามี) พร้อมค่าธรรมเนียม (ภายใน 15.00 น.) ครบถ้วน 

(3) แบบฟอร์มที่ใช้ : แบบ 69-DW-full ตามระบบอิเล็กทรอนิกส์ 

(4) ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออนุญาต : 50,000 บาท (ยังไม่รวม VAT)

ทั้งนี้ กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันทั้งจำนวนและจดข้อจำกัดการโอน จะได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบ filing

 

ภายหลังการเสนอขาย

การส่งเอกสารและรายงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ 4-9 ของ DW ประเภทมีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วนและ

ไม่มีทรัพย์สินเป็นประกัน 



เอกสารแนบ 1​

ขั้นตอนการยื่นข้อมูลและเอกสารหลักฐานในระบบอิเล็กทรอนิกส์

(1) เตรียมความพร้อมในการเข้าใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์​

(2) กรอกข้อมูลตามที่กำหนดในระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมแนบ file เอกสารหลักฐานประกอบให้ครบถ้วน โดยผู้มีสิทธิกดส่งข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์  อย่างน้อยต้องเป็นระดับผู้อำนวยการหรือเทียบเท่า (ตาม แบบ EF-3)

(3) เลือกวิธีการลงนาม สามารถเลือกได้ 2 วิธี ดังนี้ (ผู้มีอำนาจลงนาม ดูรายละเอียดตามตารางด้านล่าง)  

​​(ก) ยื่นแบบ fully paperless ให้ผู้มีอำนาจลงนามรับรองความถูกต้องด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (digital sig​nature - “DS") ในระบบอิเล็กทรอนิกส์  โดยเมื่อลงนามด้วย DS พร้อมกดส่งข้อมูลแล้ว ไม่ต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานใด ๆ มายังสำนักงาน 

(ข) ยื่นแบบ partially paperless (hard copy) เมื่อผู้มีสิทธิกดส่งข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์  แล้ว ให้จัดส่งเอกสารฉบับจริงเฉพาะหน้ารับรองความถูกต้องที่ลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนาม มายังสำนักงาน โดยไม่ต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอใด ๆ (เอกสารหลักฐานประกอบคำขอส่งทางระบบอิเล็กทรอนิกส์  เพียงอย่างเดียว)

(4) การชำระค่าธรรมเนียม : ภายใน 15.00 น. ภายในวันที่ยื่นคำขอหรือ filing  ทั้งนี้ กรณีจ่ายค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางธนาคาร บริษัทต้องรับผิดชอบค่าบริการเอง และให้ส่ง pay-in slip ที่ sarochat@sec.or.th thitika@sec.or.th และ msec@sec.or.th


การลงนามรับรองความถูกต้องของข้อมูล และวิธีการส่งเอกสาร

แบบ​การลงนามรับรองความถูกต้องวิธีการส่งเอกสาร

คำขอ (ครั้งแรก/ต่ออายุ)

  • กรรมการผูกพันตามหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์

  • มอบอำนาจต่อ CEO ได้

  • เลือกได้

คำขอรายรุ่น

  • กรรมการผูกพันฯ

  • มอบอำนาจต่อผู้อำนวยการขึ้นไปหรือเทียบเท่า

  • fully paperless

แบบ 69-DW Full

Listed company

  • กรรมการผูกพันฯ และ CEO/CFO

  • มอบอำนาจต่อ CEO ได้


Non-listed company

  • กรรมการทุกคนและ CEO/CFO


  • เลือกได้

แบบ 69-DW Short

  • กรรมการผูกพันฯ

  • มอบอำนาจต่อผู้อำนวยการขึ้นไปหรือเทียบเท่า

  • fully paperless




เอกสารแนบ 2​ 

รายชื่อเอกสารที่เปิดเผยและจัดส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในระยะเวลาเดียวกับการรายงานผลการขาย [3]

(ประกาศที่ ทจ. 15/2553 และ สจ. 8/2553)

- ภาพถ่ายสำเนาข้อกำหนดสิทธิ + รับรองว่ารายการและสาระเช่นเดียวกับร่างที่ยื่นต่อสำนักงานแล้ว

- ภาพถ่ายสำเนาสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ถ้ามี)

- ภาพถ่ายตัวอย่างตราสารกำกับใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (สามารถมาพร้อมข้อกำหนดสิทธิฉบับหลัก)

- ภาพถ่ายสำเนาค้ำประกัน/ back to back agreement (ถ้ามี)

- ภาพถ่ายสำเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (กรณีเสนอขาย DW มีประกัน)

- ภาพถ่ายหนังสือรับทราบจากนายทะเบียน (เสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน + จดข้อจำกัดการโอน)

 -------------------------------------------​​​

[​3] หรือภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของเดือนแรกที่มีการเสนอขาย แล้วแต่กรณีที่กำหนดไว้ในประกาศ​

 -----------​--------------------------------​​​




เอกสารแนบ 3 

รายงานและการจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อสำนักงาน ส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเกิดเหตุการณ์ 

(ประกาศที่ ทจ. 15/2553 และ สจ. 8/2553) 

 

เหตุ​​การณ์

ระยะเวลาการส่งรายงาน

1.

แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดสิทธิ

≤ 5 วันทำการ

2.

แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์

≤ 5 วันทำการ

3.

ผิดข้อตกลงในการชำระหนี้ตาม  DW

โดยไม่ช้กช้า

4.

กรณีได้รับอนุญาตเบื้องต้นให้เสนอขาย DW ที่ออกใหม่ตามหมวด 3 แห่งประกาศที่ ทจ. 15/2553  แต่ไม่สามารถดำรงลักษณะให้เป็นไปตามที่หลักเกณฑ์กำหนด

≤ 5 วันทำการ (นับจากวันที่รู้ หรือควรรู้กรณีดังกล่าว)

 





แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง​



ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

​ฝ่ายกำกับตลาด

โทรศัพท์ 0-2263-6052, 0-2263-6156 หรือ 0-2263-6526​