Sign In
กฎเกณฑ์

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​บริษัทที่ออกหลักทรัพย์


รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามมาตรา 59 


กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของตนและของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวการถือหลักทรัพย์ของบุคคลดังกล่าวซึ่งอยู่ในตำแหน่งหรือฐานะที่อาจล่วงรู้ข้อมูลภายใน (inside information) ของบริษัทและอาจหาประโยชน์จากข้อมูลนั้นก่อนที่ข้อมูลจะเปิดเผยเป็นการทั่วไป​


สรุปหลักเกณฑ์ 



บริษัทจดทะเบียน*

บริษัทจดทะเบียนที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี

  • ​กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี และ​​

  • ผู้บริหาร​ชั่วคราว ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน และผู้บริหารแผนชั่วคราว ​​


 

หมายเหตุ : *คำว่า “บริษัทจดทะเบียน" หมายถึง บริษัทไทยและบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นจดทะเบียนซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงบริษัทต่างประเทศที่มีลักษณะ ได้แก่ (1) มีตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศเป็น home regulator และ (2) ตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานทางการตาม (1) มีหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลในเรื่องนี้ในทำนองเดียวกับหลักเกณฑ์ของไทย​


 ​

บริษัทจดทะเบียน

บริษัทจดทะเบียนที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู

กิจการ

  • ​​คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา (ชายหญิง​ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่อยู่กินกันอย่างเปิดเผย)

  • บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

  • ​​​กรณีผู้มีหน้าที่รายงานเป็นบุคคลธรรมดา :
    ใช้หลักการเดียวกับบริษัทจดทะเบียน

  • นิติบุคคลที่ผู้มีหน้าที่รายงาน คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กิน​ด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 30 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมด และมีสัดส่วนการถือหุ้นมากที่สุดในนิติบุคคลดังกล่าว  (นับนิติบุคคลทอดเดียว)
    หมายเหตุ : กรณีที่มีการเริ่มต้นหรือยุติความสัมพันธ์​กับบุคคลที่ใกล้ชิด ไม่ก่อให้เกิดหน้าที่การรายงาน​​ตามประกาศนี้ เช่น กรรมการถือหุ้นในนิติบุคคลลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 30 ก็ไม่มีหน้าที่รายงาน

  • ​​กรณีผู้มีหน้าที่รายงานเป็นนิติบุคคล ​

  1. หากนิติบุคคลเป็นผู้ถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อ  ​ขายล่​​วงหน้า : นิติบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน

  2. ​หากกรรมการและผู้บริหารของนิติบุคคลเป็นผู้ถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย : กรรมการและผู้บริหารเป็นผู้มีหน้าที่รายงานด้วย ทั้งในกรณี 1. และ 2. ใช้หลักเกณฑ์ในการรายงานเหมือนกรณีกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน โดยผู้บริหารของนิติบุคคลนั้น ให้มีความหมายเช่นเดียวกับผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนที่เป็นลูกหนี้​​


หมายเหตุ : การรายงานของกรรมการหรือผู้บริหารที่เป็นคู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ที่เป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียนเดียวกัน ให้กรรมการหรือผู้บริหาร หรือคู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รายงานเพียงคนเดียว


ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ต้องรายงาน ​

  • หลักทรัพย์ : หุ้น / warrant / NVDR / TSR / DW ที่มีหลักทรัพย์ของ บจ. เป็นปัจจัยอ้างอิง (ไม่รวม DW ที่มีดัชนีหลักทรัพย์เป็นปัจจัยอ้างอิง) / หุ้นกู้แปลงสภาพ / หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง

  • สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีหลักทรัพย์ของ บจ. เป็นปัจจัยอ้างอิง และซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า : single stock futures


 

การเริ่มต้นหน้าที่รายงาน

กรณีมีการถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งที่ต้องรายงาน

กรณีมีการถือหรือเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายหลังการดำรงตำแหน่งที่ต้องรายงาน

เมื่อมาดำรงตำแหน่งแล้ว ยังไม่มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 59 จนกว่าจะมีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอน
หลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า​

เมื่อมีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า


 

ระยะเวลาในการรายงาน

​ลักษณะของผู้ยื่น

​​วิธีการยื่นและกำหนดเวลาการยื่นรายงาน

(เลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่ง)

1. กรณีเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท และมีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร*

​​(ก) ยื่นรายงานทุกครั้งเมื่อมีการทำรายการ** ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ทำรายการ ไม่ว่ามูลค่าของรายการจะเป็นเท่าใด

(ข) ยื่นรายงานเมื่อเข้าเงื่อนไขครบรอบระยะเวลาหรือมูลค่ารวม*** แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน

1) เมื่อมูลค่ารวมของรายการซื้อ/ขาย/โอน/รับโอน ตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป

2) เมื่อครบรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ทำรายการแรก​

ทั้งนี้ ให้ยื่นภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่เงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาสำเร็จ

​2. กรณีเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท และไม่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร*  โดยที่บริษัทได้แจ้งรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร เพื่อนำเข้าสู่ระบบดังกล่าวแล้ว

​(ก) ยื่นรายงานทุกครั้งเมื่อมีการทำรายการ **  ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ทำรายการ ไม่ว่ามูลค่าของรายการจะเป็นเท่าใด

(ข) ยื่นรายงานเมื่อเข้าเงื่อนไขครบรอบระยะเวลาหรือมูลค่ารวม*** แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน

1) เมื่อมูลค่ารวมของรายการซื้อ/ขาย/โอน/รับโอน ตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป

2) เมื่อครบรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ทำรายการแรก​

ทั้งนี้ ให้ยื่นภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่เงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาสำเร็จ​


หมายเหตุ

* ระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร หมายถึง ระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของตามประกาศสำนักงานว่าด้วยแบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท

** การทำรายการ หมายถึง การซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

*** มูลค่ารวม หมายถึง มูลค่ารวมในการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทุกรายการที่กระทำโดยตนเองและบุคคลที่มีความสัมพันธ์



ตัวอย่างการคำนวณมูลค่าและการนับระยะเวลารายงาน

วันที่เกิดหน้าที่ในการรายงาน กรณีได้รับหลักทรัพย์ใหม่​​​


 

วิธีการรายงาน

รายงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทาง www.sec.or.th


 

กรณีที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงาน​

ข้อเท็จจริง

หมายเหตุ

(1)  การได้หลักทรัพย์ในกรณีของ right offering /
การได้หลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามาโดยทางมรดก /การได้หลักทรัพย์จากการจ่ายหุ้นปันผล

กรณี right offering ยกเว้นการได้หลักทรัพย์ตาม right offering เฉพาะการจองซื้อหลักทรัพย์ตามสิทธิ หากจองซื้อหลักทรัพย์เกินสิทธิ ไม่ได้รับยกเว้นการรายงาน และผู้รายงานมีหน้าที่รายงานการได้หลักทรัพย์ที่จองเกินสิทธิดังกล่าว

(2)  การ exercise หลักทรัพย์แปลงสภาพ

หลักทรัพย์แปลงสภาพ  ได้แก่ หุ้นกู้แปลงสภาพ / warrant / TSR

(3)  การได้หลักทรัพย์จาก ESOP

-

(4)  การได้หุ้นจาก EJIP ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

โครงการ EJIP ตามประกาศฉบับนี้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด -> ยกเว้นหน้าที่การรายงานการได้มาซึ่งหุ้นของผู้มีหน้าที่รายงาน 


หมายเหตุ : การวางหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้หรือการได้รับหลักทรัพย์ดังกล่าวคืนตามข้อบังคับของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการวางหลักทรัพย์หรือการได้รับคืนหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ก่อให้เกิดหน้าที่ในการรายงานตามมาตรา 59 เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์จึงไม่ต้องกำหนดเป็นข้อยกเว้นหน้าที่รายงานไว้ในประกาศ


 

ข้อเท็จจริง

หมายเหตุ

(5) การยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ รวมทั้งกรณีที่ต้องมีการวางหลักประกันจากการทำธุรกรรมดังกล่าวด้วย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศ

กรรมการและผู้บริหารยังมีหน้าที่รายงานตามมาตรา 59 กรณีที่ทำการขาย short selling ตามแผนภาพ


 SBL.png


 

ข้อเท็จจริง

หมายเหตุ

(6)  การโอนหรือรับโอนซึ่งกระทำกับผู้ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ (custodian) ที่ถือครองหลักทรัพย์แทนบุคคลดังกล่าว

ตัวอย่างข้อยกเว้นในกรณีนี้ เช่น กรรมการมีการนำหลักทรัพย์ไปฝากที่ custodian ซึ่งเป็นผู้ที่ประกอบธุรกิจรับฝากทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ -> ไม่ต้องรายงาน / หากต่อมามีการย้ายหลักทรัพย์ไปฝากไว้ที่ custodian อีกแห่ง -> ไม่ต้องรายงาน เช่นกัน 

ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการโอนหรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งกระทำกับผู้ถือหลักทรัพย์แทนผู้มีหน้าที่รายงานเพื่อความสะดวกคล่องตัวในการซื้อขายหลักทรัพย์ (nominee)



 
โครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) 


 โครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) : (“EJIP") เป็นโครงการสำหรับกรรมการหรือพนักงานบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในลักษณะให้ผลตอบแทนแก่บุคคลดังกล่าวเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของบริษัท ด้วยการให้กรรมการหรือพนักงานมีการลงทุนแบบทยอยซื้อหุ้นของบริษัทที่ตนทำงานอยู่เป็นรายงวดด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันทุกงวด (เช่น เดือน หรือไตรมาส) ตามความสมัครใจของบุคคลดังกล่าวแต่ละคน และบริษัทจะสมทบเงินเพิ่มให้แก่บุคคลดังกล่าวเพื่อซื้อหุ้นของบริษัทเป็นประจำทุกงวด ซึ่งโครงการในลักษณะนี้จะต้องมีการกำหนดรูปแบบและวิธีการลงทุนซื้อหุ้นไว้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มโครงการ มีลักษณะเอื้อให้กรรมการหรือผู้บริหารสามารถแทรกแซงการตัดสินใจลงทุนและเกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในได้

โครงการ EJIP ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 ต้องไม่มีลักษณะที่เอื้อให้กรรมการหรือผู้บริหารสามารถแทรกแซงการตัดสินใจในการลงทุนได้ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1)  เป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียน และในกรณีที่มีการให้สิทธิแก่ผู้เข้าร่วมโครงการในฐานะกรรมการของบริษัท โครงการดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับค่าตอบแทนกรรมการทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด 

(2)  มีข้อกำหนดให้กรรมการหรือผู้บริหารต้องนำส่งเงินสะสมเข้าโครงการเป็นงวดคงที่สม่ำเสมอตามจำนวนหรือสัดส่วนที่กำหนดในโครงการ เพื่อลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ตนเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร 

 (3)  มีข้อกำหนดให้ผู้ดำเนินการตามโครงการต้องซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเป็นรายงวด และในวันที่กำหนดแน่นอนซึ่งระบุไว้ในโครงการ โดยการซื้อหุ้นดังกล่าวต้องกระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ แล้วแต่กรณี 

(4)  มีการแยกบัญชีหลักทรัพย์ที่ได้มาตามโครงการดังกล่าวออกจากบัญชีหลักทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุนส่วนตัวของกรรมการหรือผู้บริหาร


หน้าที่ภายหลังการอนุมัติโครงการ EJIP

การอนุมัติโครงการ EJIP ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น บริษัทมีหน้าที่

  • มีหนังสือรับรองต่อ ก.ล.ต. ว่าโครงการดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

  • เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและความเห็นของคณะกรรมการผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและความเห็นของคณะกรรมการผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ) 


          คำถาม - คำตอบ​


คู่มือ/แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง


           • วีดีโอแนวทางการรายงานตามมาตรา 59 ​​​

           • คู่มือการใช้ระบบ online​


กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 


แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง​

 



ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายจดทะเบียนตราสารทุน 1 – 2

โดยแบ่งตามหมวดธุรกิจของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ดังนี้

ท่องเที่ยวและสันทนาการ-วัสดุก่อสร้าง
โทรศัพท์ 0-2033-9619 / 0-2263-6124 / 0-2033-9590​ / 0-2263-6065

การแพทย์ – บรรจุภัณฑ์ - บริหารเฉพาะกิจ
โทรศัพท์ 0-2263-6110 / 0-2263-6234 / 0-2263-6248

ยานยนต์– แฟชั่น - พาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2263-6112 / 0-2263-6303 /0-2263-6334 / 0-2263-6204

ธนาคาร - ธุรกิจการเงิน – ประกันภัยและประกันชีวิต
โทรศัพท์ 0-2033-9590 / 0-2263-6556 / 0-2263-6085

สื่อและสิ่งพิมพ์ – ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ – สินค้าอุปโภคบริโภค
โทรศัพท์ 0-2263-6093 / 0-2033-9949 / 0-2033-4671

ทรัพยากร – ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ – บริการเฉพาะกิจ
โทรศัพท์ 0-2033-9610 / 0-2033-9606 / 0-2033-9656 / 0-2263-6550

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
โทรศัพท์ 0-2033-9528 / 0-2263-6208 / 0-2263-6196 / 0-2033-9619

ไฟฟ้า - เหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ
โทรศัพท์ 0-2033-9976 / 0-2033-9923 / 0-2263-6102 / 0-2033-4636

อาหารและเครื่องดื่ม – ธุรกิจการเกษตร
โทรศัพท์ 0-2033-9628 / 0-2263-6066 /0-2033-4657 / 0-2033-9604

ขนส่งและโลจิสติกส์ – วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร  
โทรศัพท์ 0-2033-9605 /0-2033-4622 / 0-2033-9821 / 0-2263-6226

ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน – บริการรับเหมาก่อสร้าง
โทรศัพท์ 0-2263-6111 / 0-2263-6512  / 0-2263-6214  / 0-2033-9947

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2263-6232 / 0-2263-6212 / 0-2033-9520 / 0-2033-4610

กรณีสอบถามเกี่ยวกับระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2263-6113​​