Detail Content
#top
Taxonomy คือ ระบบนิยามเพื่อการจำแนกประเภทที่นำมาใช้ระบุกิจกรรม สินทรัพย์ และส่วนรายได้ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนที่สาคัญ และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
Taxonomy ไม่ใช่…
การจัดประเภทสิ่งที่ “ดี” หรือ “ไม่ดี”: ให้คำนิยามกิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืน (เช่น การลดก๊าซเรือนกระจก) เพื่อความเข้าใจร่วมกัน โดยไม่ได้มีผลห้ามทำหรือห้ามลงทุนในกิจกรรมใด
เอกสารที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง: จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ (Living document) เมื่อข้อมูลวิทยาศาสตร์มีการอัพเดท
เอกสารเดียวที่เพียงพอต่อการสร้างเศรษฐกิจสีเขียว: ต้องการมีการสร้างเครื่องมือ และเอกสารอื่น ๆ (เช่น กฎหมาย, guidelines) เพื่อให้ทำงานได้
กลับด้านบน
สร้างความชัดเจนและกฎเกณฑ์ที่โปร่งใสเรื่องการลงทุนสีเขียว (green finance) เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างเกินจริง (green washing)
สนับสนุนการสร้างกฏเกณฑ์และเครื่องมือเพื่อส่งเสริมการเงินเพื่อความยั่งยืนและการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition finance)
คู่มืออ้างอิงสำหรับธุรกิจในการประเมินและบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
อ้างอิงสำหรับเก็บข้อมูลและเปิดเผยข้อมูลด้านการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Taxonomy-aligned disclosure)
เป็นเครื่องมือสำหรับรัฐบาลที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว การเงินที่ยั่งยืน และเป้าหมายนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศที่มุ่งลงทุนในกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนต่าง ๆ ที่อ้างอิงกับคำนิยามสากล
กลับด้านบน
เอกสาร Thailand Taxonomy
Timeline
องค์ประกอบหลักที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา Taxonomy
หลักการ
เอกสารที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องกับ Thailand Taxonomy
คู่มือการใช้ (Usability Guide)
แนวทางการนำไปใช้ในธุรกิจ กรณีศึกษา และคำถามพี่พบบ่อย (Business Guide / Case Studies / FAQs)
Excel Tools
เอกสารอื่น ๆ
ทำไมถึงต้องมีTaxonomies หลายฉบับ?
บทและความสำคัญในระดับประเทศและภูมิภาค: แต่ละประเทศ/ภูมิภาคมีความท้าทายและเป้าหมายเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน จึงต้องการกรอบการทำงานที่ตอบโจทย์ในระดับประเทศและภูมิภาค
สอดคล้องกับกฎระเบียบและกฎหมายภายในประเทศ: กฎเกณฑ์ด้านความยั่งยืนของประเทศต้องเป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ASEAN Taxonomy
กลับด้านบน