Sign In
Concepts of Transition Finance

​​​​​​​​​​​​​


ภาพรวมขอ​​ง Transition Finance​


การสนับสนุนกิจกรรมสีเขียวอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอให้เปลี่ยนผ่านไปเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำได้

  • ยังมีหลายภาคส่วนอุตสาหกรรมที่ยังปล่อยคาร์บอนสูง และลดการปล่อยคาร์บอนได้ยาก (hard-to-abate sectors) อีกทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น พลังงาน การผลิตวัตถุดิบที่จำเป็นทางอุตสาหกรรมอย่าง ซีเมนต์ และ เหล็ก เป็นต้น

  • การมุ่งเน้นเพียงแค่กิจกรรมสีเขียว (กิจกรรมที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำหรือไม่ปล่อยเลยอยู่แล้ว) อาจทำให้ภาคส่วนสำคัญเหล่านี้ถูกละเลย ซึ่งอาจทำให้ประเทศไม่สามารถเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างยั่งยืนและความพยายามระดับโลกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้ผล


Transi​tion Finance (TF) คืออะไร

  • ​​Transitio​n Finance คือกรอบหลักการของกลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุนการระดมทุน / ลงทุนใน hard-to-abate sectors ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดการปล่อยคาร์บอน

  • เป้าหมายของ TF คือการลดการปล่อยคาร์บอนของ hard-to-abate sectors อย่างมีนัยสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในขณะที่อุตสาหกรรมเหล่านั้นยังมีศักยภาพที่จะแข่งขันในภาวะที่ตลาดโลกต่างให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนธุรกิจรวมถึงห่วงโซ่อุปทานให้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปได้

Transition Finance เมื่อเทียบกับกรอบหลักการอื่น



​องค์ประกอบสำคัญของ TF​


1. เส้นทางที่จะเปลี่ยนผ่าน (pathway)​

  • คือ benchmark เพื่อให้องค์กรวัดผลการดำเนินการลดการปล่อย GHG: สามารถอ้างอิงกับ reference pathway ในระดับสากล เช่น IEA NZE, IPCC, SBTi และ NGFS โดยอาจปรับเพิ่มเติมเพื่อให้เข้ากับบริบทขององค์กรได้

  • อ้างอิงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ (science-based pathway): เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป้าหมายเป็นไปตามเป้าหมายการลดการปล่อย GHG ระดับสากล เช่น การให้อุณหภูมิโลกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียสในปี ค.ศ. 2100 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม


2. เป้าหมายการลด GHG ขององค์กร (transition target)

  • เป็นเป้าหมายที่ท้าทาย (ambitious targets): มีการตั้งเป้าหมายที่แสดงถึงความพยายามในการทำตาม Paris Agreement ที่เพียงพอ โดยเน้นที่การลดการปล่อย GHG ในระยะสั้น-กลางให้ได้มากที่สุด (front-loaded emission reduction)

  • มีการกำหนดเป้าหมายระยะสั้น-กลาง-ยาว

    • เป้าหมายระยะยาว (long-term target): มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกประเภท (ไม่ใช่เฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์) ให้เหลือน้อยที่สุด และการชดเชยส่วนที่ไม่สามารถลดได้ เพื่อให้การปล่อยสุทธิเหลือเป็นศูนย์  ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล องค์กรควรมีความมุ่งมั่นในการบรรลุ net-zero commitment ภายในปี ค.ศ. 2050

    • เป้าหมายระยะสั้น-กลาง (short-medium targets): เป็น benchmark เพื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการลดการปล่อย GHG จริงระหว่างทางในระยะสั้น-กลาง (ก่อนปี 2030) โดยควรมีการกำหนดรายละเอียดที่ชัดเจน

​หมายเหตุ: ในการจัดทำ pathway และ transition targets ควรมีการพิจารณาถึงการปล่อย GHG ในขอบเขตที่มีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมขององค์กร (scope 1-3 emissions): ได้แก่การปล่อยทางตรง ทางอ้อม และการปล่อยภายใน value chain ตามลำดับ


2. แผนการลดการปล่อยคาร์บอนขององค์กร (transition plan)

  • ระบุรายละเอียดของแผนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย: เช่น เป้าหมาย กลยุทธแผนการดำเนินการ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน* (KPI) และการติดตาม

  • เป็น living document: คือเอกสารที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กรที่เปลี่ยนไป เช่น เทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือ ปัจจัยภายนอก

* เช่น รายได้จา​กการดำเนินงานในส่วนที่ผลิต GHG ต่ำ และ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน (capital expenditure) ในโครงการที่ปล่อย GHG ต่ำ เป็นต้น


3. เครื่องมือสำหรับการอ้างอิงอื่น ๆ

  • Taxonomy: ระบบนิยามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนที่สำคัญ เพื่อสร้างภาษากลางสำหรับสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย ตัวอย่าง Taxonomy ที่คำนึงถึงกิจกรรมภายใต้กรอบของ TF ได้แก่ Thailand Taxonomy, ASEAN Taxonomy และ Singapore Taxonomy เป็นต้น

  • Technology roadmap: เอกสารที่ระบุรายชื่อของเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการให้แต่ละภาคอุตสาหกรรมเป็นไปตาม Paris Agreement ในแต่ละช่วงเวลา ตัวอย่าง roadmap ได้แก่ Technology Roadmap for “Transition Finance” ของประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น


แนวทางการ​​​กำหนดนโยบายของ Transition Finance ของสำนักงาน​​


หลักการของนโยบาย TF

  • ​มีความครอบคลุม (inclusivity): เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยทุกภาคส่วน (โดยเฉพาะ hard-to-abate sectors) สามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านไปยังสังคมคาร์บอนต่ำได้ หลักการ TF จึงต้องมีความครอบคลุมและเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถระดมทุนเพื่อลดการปล่อย GHG ได้

  • มีความน่าเชื่อถือ (credibility): เพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการกล่าวอ้างเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่บริษัท แต่อาจไม่ได้มีการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจริง หลักการ TF จึงต้องมีกรอบหลักการและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อให้ธุรกิจสามารถตั้งเป้าหมาย รายงาน และแสดงความคืบหน้าการดำเนินการลดการปล่อย GHG ได้ นอกจากนี้ยังควรมีกลไกการสอบทาน (verification) โดยผู้ประเมินอิสระเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของการรายงานอีกด้วย


หลักการ TF ครอบคลุมการระดมทุนทั้งแบบทั่วไปและเฉพาะเจาะจง