|
|
| | | | |
ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ประเด็นด้านความยั่งยืนเป็นหนึ่งในเรือธงยุทธศาสตร์ สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) นโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG) แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights: NAP) และแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2565 – 2570) ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจในตลาดทุนมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจและการขับเคลื่อนความยั่งยืน โดยผนวกหลักธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม ซี่งรวมถึงการลดความเหลื่อมล้ำเข้าไปในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs)
การดำเนินงานของ ก.ล.ต. ในการดูแลเป้าหมาย SDGs ที่ได้รับมอบหมาย
ความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อภาคธุรกิจในตลาดทุน
การพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืน ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาภาคธุรกิจ ซึ่งจะช่วยวางรากฐานให้กิจการเติบโต มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และได้รับการสนับสนุนในระยะยาว ภาคธุรกิจจึงควรให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับคุณภาพของสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีนโยบายและแผนธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาลและสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเงินทุนและผลกำไรที่ใช้ในการขยายกิจการ มีผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ การที่ผู้ลงทุนทั่วโลกในปัจจุบันหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในปี 2565 ก.ล.ต. จึงได้กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ในแบบรายงานประจำปี (One Report) สำหรับบริษัทจดทะเบียน และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (“แบบ filing") สำหรับบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (“บริษัท IPO") ในหัวข้อ “การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน" ซึ่งครอบคลุมการเปิดเผยภาพรวมนโยบายและเป้าหมายการจัดการความยั่งยืน การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ และการจัดการความยั่งยืนในมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเคารพสิทธิมนุษยชน และการมีธรรมภิบาลที่ดี เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้บริษัทแสดงถึงความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการต่อต้านการทุจริต อาชีวอนามัย และความปลอดภัย การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งในการรายงานดังกล่าว ก.ล.ต. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนไทยเปิดเผยข้อมูลและจัดทำรายงานความยั่งยืนที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น ตามแนวทางการรายงานความยั่งยืนของ Global Reporting Initiative (GRI) และคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ (Task Force on Climate Related Financial Disclosures : TCFD) รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) เป็นต้น
การดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในตลาดทุนไทย
ในการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืน ก.ล.ต. มีการดำเนินงานอย่างเข้มข้นตามแผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. นับตั้งแต่ปี 2563 ประกอบด้วย