Sign In
การประเมิน

​​​​​​​​​​​​​​​​ระดับประเทศ 



 

ASEAN CG Scorecard 

โครงการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคอาเซียน เป็นการริเริ่มของ ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับธรรมาภิบาลหรือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคอาเซียนให้ทัดเทียมสากล รองรับการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และส่งเสริมให้ตลาดทุนอาเซียนเป็นที่สนใจและยอมรับของผู้ลงทุนทั่วโลก

การประเมินจะดำเนินการทุก 2 ปี กลุ่มเป้าหมายคือ บริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด 100 บริษัท (ณ วันที่ 31 พฤษภาคม ของปีที่มีการประเมิน) ในแต่ละประเทศ (6 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม)


 
เกณฑ์การประเมิน 

อ้างอิงหลักการเกี่ยวกับ Corporate Governance ของ Organization for Economic Co-operation and Development Centre (OECD), World Bank, International Corporate Governance Network (ICGN), Asian Corporate Governance Association รวมทั้ง Code of Corporate Governance ของบางประเทศ (เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ) โดยผู้ประเมินคือ Domestic Ranking Body ของแต่ละประเทศ ซึ่งของไทย คือ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การประเมินจะอาศัยข้อมูลที่บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยเป็นภาษาอังกฤษผ่านเอกสารและช่องทางต่าง ๆ เช่น แบบ 56-1 One Report หนังสือเชิญประชุมและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น รายงานประจำปี ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์หรือเว็บไซต์ของบริษัท เป็นต้น ซึ่งผู้ประเมินจะดูทั้งข้อมูลในเชิง Policy และในเชิง Practice

เกณฑ์การประเมิน ASEAN CG Scorecard มีการปรับปรุงล่าสุดในปี 2566 โดยเพิ่มข้อคำถามเกี่ยวกับการมีธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG) มากขึ้น และจะเริ่มใช้ในการประเมินปี 2567 ทั้งนี้ เกณฑ์การประเมินแบ่งเป็น 4 หมวด (เดิมมี 5 หมวด) ได้แก่​

ACGS ​2​021​​>>>
ACGS ​2​023

1. สิทธิของผู้ถือหุ้น​​


​​​1. สิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น
อย่างเท่าเทียมกัน​


2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน


3. การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย


2. ความยั่งยืนและการปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลง

4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส


3. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ


4. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ​


​ผลการประเมิน ASEAN CG Scorecard  สามารถดูข้อมูลได้จาก 2 แหล่ง ดังนี้ 
IOD

ASEANCapital Markets Forum (ACMF)


 
 
ดัชนี Dow Jones Sustainability Indices ("DJSI") เป็นดัชนีหลักทรัพย์ของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ผ่านการประเมินความยั่งยืน ตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลกให้การยอมรับและใช้เป็นข้อมูลในการลงทุน โดยแบ่งเป็น 24 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งประกอบด้วย 60 อุตสาหกรรมย่อย ที่มีผู้ลงทุนสถาบันและกองทุนต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสนใจลงทุนคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะมีการทบทวนและประกาศรายชื่อสมาชิกในกลุ่มดัชนี DJSI ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี
 
กระบวนการคัดเลือกสมาชิก DJSI World และ DJSI Emerging Markets
 

กระบวนการคัดเลือกสมาชิก DJSI World
 
กระบวนการคัดเลือกสมาชิก DJSI Emerging Market
 

 

ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index : CPI) จัดทำโดย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) เป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาคอร์รับชัน ซึ่งมีเครือข่ายใน 180 ประเทศทั่วโลก  ร่วมกับมหาวิทยาลัย Gottingen ประเทศเยอรมนี จัดอันดับภาพลักษณ์คอร์รัปชันในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา  


 
เกณฑ์การประเมิน
สำรวจจากระดับความรู้สึก การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างต่อปัญหาคอร์รัปชันในประเทศนั้นๆ โดยข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำ CPI เป็นข้อมูลจากการสำรวจของแหล่งข้อมูล อาทิ สำนักโพลล์ต่างๆ หน่วยงานวิจัยที่มีชื่อเสียง สถาบัน และองค์การอิสระระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกแตกต่างกันไปในแต่ละปี เช่น Economist Intelligence Unit สำนักแกลลัปโพลล์ สถาบันเพื่อการพัฒนาการบริหารการจัดการ IMD ที่ปรึกษาความเสี่ยงทางธุรกิจและทางการเมือง World Bank World Economic Forum หน่วยงานในองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น ค่า CPI มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชันมากที่สุด) - 100 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด)​
 ​

ผลการประเมิน


 

​ที่มา: ข้อมูลจาก Transparency International (TI)​​


 
 

การประเมินการกำกับดูแลกิจการของตลาดทุนในเอเชีย ที่จัดทำโดย Asian Corporate Governance Association และ CLSA Asia-Pacific Markets โดยการประเมินโดยล่าสุดแบ่งออกเป็น 7 หมวด ดังนี้

  1. Government & public governance
  2. Regulators
  3. CG Rules
  4. Listed companies
  5. Investors
  6. Auditors & audit regulators
  7. Civil society & media 


 
 ​
โครงการประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาล หรือโครงการ CG-ROSC  (Report on the Observance of Standards and Codes: Corporate Governance Country Assessment) เป็นโครงการที่ประเมินว่าตลาดทุนของประเทศนั้น
มีกฎเกณฑ์และการปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากน้อยเพียงใด โดยผู้ประเมิน คือ ธนาคารโลก (World Bank)
 
การเข้าร่วมโครงการประเมินจะขึ้นกับความสมัครใจของแต่ละประเทศ ดังนั้น ความถี่ห่างของการประเมินจึงไม่เท่ากัน และเมื่อผลการประเมินเสร็จสิ้นแล้ว ก็ยังขึ้นอยู่กับความสมัครใจของประเทศนั้น ๆ อีกด้วยว่าจะยินยอมให้มีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวหรือไม่  นอกจากนี้ การเข้ารับการประเมินตามโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพียงแต่ต้องให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล และช่วยประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารโลกสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลได้ โดยประเทศไทยเข้าร่วมประเมินครั้งแรกปี พ.ศ. 2548
 
เกณฑ์การประเมิน
 
ธนาคารโลกประเมินบรรษัทภิบาลของตลาดทุนตามหลักการขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development) หรือที่เรียกว่า OECD Principles ซึ่งประกอบด้วย 6 หมวด ได้แก่
 
                    1. การบังคับใช้กฎหมายและกรอบการดำเนินการด้านบรรษัทภิบาล​
                    2. สิทธิของผู้ถือหุ้น
                    3. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
                    4. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท
                    5. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
                    6. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ​
หมายเหตุ : หมวดการประเมินของ OECD Principle ณ ปี 2013
 

 
 
Doing Business เป็นรายงานผลการศึกษาเพื่อจัดอันดับความยาก-ง่ายในการเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งธนาคารโลกจัดทำขึ้น โดยศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ การอำนวยความสะดวก ต้นทุนค่าใช้จ่าย และกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ของรัฐว่ามีส่วนสนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร โดยมุ่งเน้นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งมีตัวชี้วัดในการศึกษา 10 ด้าน ครอบคลุมพื้นฐานของวงจรธุรกิจตั้งแต่การเริ่มต้นจัดตั้งธุรกิจจนถึงการปิดกิจการ
 
เกณฑ์การประเมิน
 
แบ่งออกเป็น 4 เรื่องได้แก่
                1. ความง่ายในการดำเนินการ (Easier) เป็นการวัดเรื่องขั้นตอนในการดำเนินการ
                2. ความรวดเร็วในการดำเนินการ (Faster) เป็นการวัดเรื่องระยะเวลาการดำเนินการ
                3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำ (Cheaper) เป็นการวัดเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ
                4. กฎหมาย กฎ ระเบียบเอื้อต่อการดำเนินการ (Smarter regulations)